Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63706
Title: | Effectiveness of the hearing protection programin preventing noise-induced hearing loss inauto part factory workers, Saraburi and Rayong, Thailand |
Other Titles: | การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการปกป้องการได้ยินเพื่อป้องกันการเสื่อมสมรรถภาพการได้ยินของพนักงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ จังหวัดสระบุรีและระยอง ประเทศไทย |
Authors: | Apiradee Sriopas |
Advisors: | Wattasit Siriwong Saravudh Sutummasa |
Other author: | Chulalongkorn University. College of Public Health Sciences |
Advisor's Email: | Wattasit.S@Chula.ac.th,wattasit.s@chula.ac.thaaaa |
Issue Date: | 2015 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | Occupational noise exposure is the most important problem in auto part factories. Machinery system is mostly used for resistance spot welding in welding unit. Excessive noise could generate from the robot machine and steel part transporting and can cause noise-induced hearing loss. However, most workers do not use hearing protection device. The main objective of this study aimed to assess the effective hearing protection program in preventing noise induced hearing loss in auto part factory workers in Thailand. The specific objectives were 1) To investigate the noise exposure among Thai workers in auto part factory workers. 2) To evaluate the hearing threshold shift among Thai workers in auto part factory workers. 3) To evaluate the hearing protection device using among Thai workers in auto part factory workers. 4) To find the association between the hearing protection device using and hearing threshold shift. This was a Quasi-experiment study. Systemic random sampling was applied to recruit the eligible sixty subjects in welding unit from each factory in Saraburi and Rayong provinces. Subjects in auto part factory at Saraburi were received the intervention and subjects in auto part factory at Rayong were the control group. Subjects in both groups were studied by interviewing with questionnaire, noise exposure level measurement by noise dosimeter audiogram and ear plug using inspection. Major noise exposure level of subjects was at least 85 dB (A). Most Subject (95.0-80.0%) with continuous training in the intervention group increased the use of earplug correctly and consistently during 6 months. Meanwhile, all subjects in the control group did not use earplug. All subjects in the intervention group had the hearing threshold shift level from the first audiogram below 15 dB at 500-6000 Hz in either ear. Most subjects (85.0%) in the control group had the hearing threshold shift level from the first audiogram below 15 dB at 500-6000 Hz in either ear but 15% of those had the hearing threshold shift level from the first audiogram 15 dB at 4000 Hz in either ear. There was significant difference of normal hearing threshold shift between the intervention and the control group (p<0.05, Fisher’s Exact test). The proportion of subjects with earplug using correctly and consistently had the normal hearing threshold shift 11.39% (95% CI: 1.39, 20.25) higher when compared with those who used earplug inconsistently and did not use earplug. Continuous training of noise hazard by lecture and refresher training by DVD every 8 weeks for 6 months can maintain the knowledge of noise hazards and increase the use of earplug correctly and consistently. In addition, the proper earplug using consistently can prevent hearing threshold shift level reach to 15 dB. |
Other Abstract: | การสัมผัสเสียงดังจากการประกอบอาชีพเป็นปัญหาสำคัญของผู้ปฏิบัติงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เนื่องจากโรงงานเหล่านี้ใช้เครื่องจักรในการผลิต โดยเฉพาะในแผนกงานเชื่อมด้วยความต้านทานไฟฟ้า ซึ่งจะใช้หุ่นยนต์ในการเชื่อม ผู้ปฏิบัติงานจะสัมผัสเสียงดังจากการเชื่อมและการขนย้ายชิ้นงานเหล็กเหล่านี้ทั้งก่อนและหลังการเชื่อมชิ้นงาน ซึ่งเสียงดังเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อการได้ยินของผู้ปฏิบัติงานได้ แต่ก็พบว่าผู้ปฏิบัติงานไม่ได้ใส่อุปกรณ์ปกป้องการได้ยินขณะทำงาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการปกป้องการได้ยินเพื่อป้องกันการเสื่อมสมรรถภาพการได้ยินของพนักงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย วัตถุประสงค์เฉพาะคือ 1) เพื่อศึกษาระดับเสียงดังที่พนักงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยได้รับสัมผัส 2) เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของระดับการได้ยินจากการตรวจการได้ยินครั้งแรกของพนักงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย 3) เพื่อประเมินการใช้อุปกรณ์ปกป้องการได้ยินของพนักงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และ 4) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อุปกรณ์ปกป้องการได้ยินกับการเปลี่ยนแปลงระดับการได้ยินจากการตรวจการได้ยินครั้งแรก การศึกษานี้เป็นการศึกษากึ่งทดลองโดยทำการสุ่มอย่างเป็นระบบเพื่อคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากพนักงานในแผนกเชื่อมของโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในจังหวัดสระบุรีและจังหวัดระยองโรงงานละ 60 คน กลุ่มทดลองจะเป็นกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในจังหวัดสระบุรี ส่วนกลุ่มควบคุมจะเป็นกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในจังหวัดระยอง การเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มจะเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถาม การตรวจวัดระดับการสัมผัสเสียงดัง การตรวจการได้ยิน และการตรวจสอบการใช้ปลั๊กอุดหูของพนักงานในแผนกเชื่อมดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ในโรงงานทั้งสองโรงงานสัมผัสเสียงดังอย่างน้อย 85 เดซิเบลเอ กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการอบรมอย่างต่อเนื่องจะเพิ่มการใช้ปลั๊กอุดหูอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอร้อยละ 80.0-95.0 ตลอด 6 เดือน ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่มีการใช้ปลั๊กอุดหูตลอดระยะเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองทุกคนมีการเปลี่ยนแปลงระดับการได้ยินเพิ่มขึ้นจากผลการตรวจการได้ยินครั้งแรกต่ำกว่า 15 เดซิเบลที่ความถี่ 500-6000 เฮิรตซ์ในหูข้างใดข้างหนึ่ง นอกจากนี้ยังพบว่าร้อยละ 85.0 ของกลุ่มควบคุม มีการเปลี่ยนแปลงระดับการได้ยินเพิ่มขึ้นจากผลการตรวจการได้ยินครั้งแรกต่ำกว่า 15 เดซิเบลที่ความถี่ 500-6000 เฮิรตซ์ในหูข้างใดข้างหนึ่งและร้อยละ 15.0 ของกลุ่มควบคุมมีการเปลี่ยนแปลงระดับการได้ยินเพิ่มขึ้นจากผลการตรวจการได้ยินครั้งแรก 15 เดซิเบลที่ความถี่ 4000 เฮิรตซ์ในหูข้างใดข้างหนึ่งจากการวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้การทดสอบของฟิชเชอร์เอ็กซ์แซกพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ของการเปลี่ยนแปลงระดับการได้ยินปกติระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ปลั๊กอุดหูอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอมีการเปลี่ยนแปลงระดับการได้ยินอยู่ในช่วงปกติในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มที่ใช้ปลั๊กอุดหูไม่สม่ำเสมอและไม่ใช้ปลั๊กอุดหู ร้อยละ 11.39 (95% CI: 1.39, 20.25) การฝึกอบรมพนักงานเรื่องอันตรายจากเสียงดังอย่างต่อเนื่อง โดยการบรรยายและการใช้สื่อดีวีดีในการอบรมทุก 8 สัปดาห์ ตลอดระยะเวลา 6 เดือน ทำให้พนักงานยังคงมีความรู้เรื่องอันตรายจากเสียงและเพิ่มการใช้ปลั๊กอุดหูอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาการทำงาน นอกจากนี้ การเลือกใช้ปลั๊กอุดหูที่เหมาะสมกับพนักงานเพื่อลดการสัมผัสเสียงดังในสถานที่ทำงานอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาการทำงานจะช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของระดับการได้ยินไม่ให้ถึง 15 เดซิเบล |
Description: | Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2015 |
Degree Name: | Doctor of Philosophy |
Degree Level: | Doctoral Degree |
Degree Discipline: | Public Health |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63706 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pub Health - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5379213153.pdf | 8.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.