Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63741
Title: การพัฒนาเครื่องมือวัดภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมสำหรับผู้บริหารโรงเรียน
Other Titles: Development of a moral leadership measurement instrument for school administrators
Authors: ศุภลักษณ์ สุพรรณปราการ
Advisors: ศิริเดช สุชีวะ
ปองสิน วิเศษศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Siridej.S@Chula.ac.th
Pongsin.v@chula.ac.th, V.pongsin@gmail.com
Subjects: ผู้บริหารโรงเรียน
ภาวะผู้นำ -- การวัด
จริยธรรมในการทำงาน -- การวัด
School administrators
Leadership -- Measurement
Work ethic -- Measurement
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมสำหรับผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลเป็นครูที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 1,632 คน ได้จากวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้าน ความตรงเชิงโครงสร้าง ความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์ ด้านความเที่ยงแบบสอดคล้องภายใน และตรวจสอบ การทำหน้าที่ต่างกันของข้อคำถาม ด้วยวิธีแมนเทล แฮนเซลส์ ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) เครื่องมือวัดภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมสำหรับผู้บริหารโรงเรียนมี 2 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบบุคคลเชิงจริยธรรม ได้แก่ ความเสียสละ ความอ่อนโยน เป็นแบบอย่างที่ดี และ องค์ประกอบการจัดการเชิงจริยธรรม ได้แก่ การสร้างแรงบันดาลใจ ความสัมพันธ์เชิงจริยธรรม การดูแลเอาใจใส่ 2) คุณภาพของเครื่องมือวัดด้านความตรงเชิงโครงสร้าง เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของโมเดลการวิจัย พบว่า โมเดลการวิจัยสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนี GFI เท่ากับ 1.00 ค่าดัชนี AGFI เท่ากับ 0.99 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.02 ด้านความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์ มีค่าเท่ากับ .879 ด้านความเที่ยงมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .989 และมี 5 ข้อคำถาม จาก 74 ข้อคำถาม (ร้อยละ 6.75) มีการทำหน้าที่ต่างกันของข้อคำถาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ.05 3) การสร้างเกณฑ์ปกติของเครื่องมือวัดภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในการแปลความหมายคะแนนแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับสูง ค่า T มากกว่า 55 ระดับกลางค่า T 35 – 55 และระดับต่ำ ค่า T น้อยกว่า 35 โดยคะแนนดิบ 323 คะแนน จะได้คะแนนทีปกติเป็น T50
Other Abstract: The current research was aimed to develop the moral leadership measurement instrument for school administrators. The sample of informants comprises 1,632 teachers working as the head of subject group, obtained by using a multi-stage sampling method. The data was analyzed by means of exploratory factor analysis, examination of instrumental quality on construct validity, criterion-related validity, and internal consistency reliability, and test of differential item functioning using Mantel-Haenszel method. The results are summarized below. 1) The moral leadership measurement instrument for school administrators contains 2 components: moral person component, i.e. devotion, gentleness, good role model; and moral management component, i.e. inspiration, moral relationship, and care. 2) Regarding the quality of measurement instrument on construct validity, the second order confirmatory factor analysis suggests that the model fits the empirical data with GFI = 1.00, AGFI = 0.99, and RMSEA =0.02, criterion-related validity =.879, reliability = .989, and 5 out of 74 items (6.75 %) display differential item functioning with the level of statistical significance at .05 3) The development of Norm Profiles for moral leadership measurement instrument for scores interpretation is divided into 3 levels: 1) high level, T-score over 55; medium level, T-score between 35-55; and low level, T-score less than 35. For raw scores of 323, normal score is T50.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63741
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supalak Supanprakan.pdf5.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.