Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63742
Title: | ความเครียดจากการทำงานและพฤติกรรมการลดความเครียดของผู้ประกอบอาชีพผู้แทนยาในเขตกรุงเทพมหานครของบริษัทยาข้ามชาติ |
Other Titles: | Work stress and stress reduction behaviors of pharmaceutical sale representatives in Bangkok of international pharmaceutical company |
Authors: | คณามาศ ฐิตโชติ |
Advisors: | รัศมน กัลยาศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Rasmon.K@Chula.ac.th |
Subjects: | ความวิตกกังวล ความเครียด (จิตวิทยา) การบริหารความเครียด ความเครียดจากการทำงาน Stress (Psychology) Stress management Stress |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเครียดจากการทำงาน และพฤติกรรมการลดความเครียดของผู้ประกอบอาชีพผู้แทนยาในเขตกรุงเทพมหานครของบริษัทยาข้ามชาติ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด และพฤติกรรมการลดความเครียด โดยดำเนินการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน จนถึง ธันวาคม2555 โดยใช้ เครื่องมือ1.ข้อมูลส่วนบุคคล และปัจจัยอื่นๆ 2. การประเมินความรู้สึกเครียดต่อปัจจัยการประกอบอาชีพ ผู้แทนยา และ 3. การประเมิน พฤติกรรมการลดความเครียด นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านต่างๆกับความเครียด และพฤติกรรมการลดความเครียด รวมถึง ใช้สถิติถดถอย วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียด และพฤติกรรมการลดความเครียด ผลการวิจัย จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 330 คน พบว่าผู้แทนยามีคะแนนความเครียดต่อปัจจัยการทำงานเฉลี่ย 56.64 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยส่วนใหญ่มีความเครียดและ พฤติกรรมการลดความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งการใช้พฤติกรรมการลดความเครียดด้านร่างกาย เช่น การนอนพักผ่อน ด้านจิตใจ เช่น ดูภาพยนตร์ พูดระบาย และด้านบทบาทหน้าที่ เช่น การจัดตารางการทำงาน มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดที่ลดลง (p<0.05) ในขณะที่พฤติกรรมการลดความเครียดด้านลบ เช่น การทำลายข้าวของ มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดที่สูง (p<0.05) ทั้งนี้ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดของผู้แทนยาจากการวิเคราะห์สถิติถดถอย คือ การมาจากต่างจังหวัด การไม่มีเงินออม การรู้สึกว่างานที่ทำเป็นภาระ และการคิดว่าการพบแพทย์/บุคลากรมีข้อเรียกร้อง ไม่ว่างให้พบ หรือต่อว่าประชดประชันซึ่งสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางตรงข้าม คือการแต่งงาน การไม่มีโรคประจำตัว เคยทำงานหลายบริษัท บิดาเสียชีวิตแล้ว และการรู้สึกว่ายอดขายสมเหตุสมผล (p<0.05) โดยปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการลดความเครียด คือ เพศ สถานภาพสมรส สภาวะทางเศรษฐกิจ ลักษณะที่อยู่ ความรู้สึกต่อแพทย์/บุคลากร ความรู้สึกต่อยอดขาย และการลาพักร้อน (p<0.05) ซึ่งผลที่ได้อาจนำมาใช้ในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาความเครียดที่เกิดในกลุ่มประชากรตัวอย่างได้ |
Other Abstract: | The purpose of this cross-sectional descriptive design is to study job’s stress and behaviors employed to cope with stress in medical representatives in international pharmaceutical companies in Bangkok. 330 medical representatives, working in multi-national companies in Bangkok at least 6 months, aged ≥ 18 years were recruited to answer 1) personal information questionnaire, 2) stressful feeling related to medical representative job and 3) stress reduction behaviors. Study found that the mean score of stress scores relating to work factors of 330 medical representatives is 56.64 out of 100 points. Most people had moderate levels of stress and stress reduction behavior. Three dimensions of stress reduction behaviors, including physical, psychological, role and responsibility are related to the decrease of stress level (p<0.05). Meanwhile the negative dimension of stress reduction behavior correlated to high stress level score (p<0.05). Linear regression statistic shows risk factors relating to stress of medical representatives are coming from provinces, no financial saving, and thinking that doctors/medical professionals are demanding and unavailable or verbally insulting or speak sarcastically. However, marriage, no medical diseases, history of working in many pharmaceutical companies, the decease of father, and feeling that the company’s sales target set for them is reasonable are protective factors for stress in the representatives (p<0.05). Gender, marital status, economic state, type of resident, feeling relating to doctors/medical professionals and sales target set by the company, and holidays leave, relates to stress reduction behaviors (p<0.05). This study may be used for well-being planning and promotion for target population, medical representatives, to promote self-efficacy and work efficiency |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63742 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Khanamart Titachote.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.