Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63756
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์ | - |
dc.contributor.advisor | ปทีป เมธาคุณวุฒิ | - |
dc.contributor.author | เอื้อบุญ ที่พึ่ง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร | - |
dc.date.accessioned | 2019-10-09T09:43:30Z | - |
dc.date.available | 2019-10-09T09:43:30Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63756 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับการพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ วิเคราะห์คุณลักษณะนักศึกษาในสภาพปัจจุบันตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ นำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตรวจสอบยุทธศาสตร์การพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 2 คน ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏ 40 แห่ง คือ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ผู้ใช้บัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจำนวน 20 คน และผู้เชียวชาญประชุมระดมสมองจำนวน 15 คน การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามคุณลักษณะนักศึกษาในสภาพปัจจุบันสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในคุณลักษณะความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี โดยมีคุณธรรมและความรู้เป็นเงื่อนไขในด้านจิตใจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ จากผู้บริหารและผู้ใช้บัณฑิต เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT analysis) คุณลักษณะนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในสภาพปัจจุบัน และกำหนดยุทธศาสตร์ด้วยเทคนิคโทว์ (TOWS matrix) นำสู่การวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการวิจัยพบว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนากระบวนการพอเพียง 1.1 ยุทธศาสตร์รอง เร่งรัดพัฒนานักศึกษาให้มีภาวะผู้นำตามแนวทางคุณธรรมนำความรู้ให้เป็นเงื่อนไขสู่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1.2 ยุทธศาสตร์รอง เร่งส่งเสริมกิจกรรมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หรือสหกิจศึกษา 1.3 ยุทธศาสตร์รอง เร่งพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างความยั่งยืนของความพอเพียง 2.1 ยุทธศาสตร์รอง เร่งสร้างความตระหนักคิด นิยมไทย ใช้ของไทย ใช้จ่ายพอเพียง 2.2 ยุทธศาสตร์รอง การพัฒนาภาวะผู้นำ บุคคลต้นแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2.3 ยุทธศาสตร์รอง การสร้างสังคมชุมชนพอเพียงในมหาวิทยาลัย | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this study were to analyze the sufficiency economy philosophy, investigate current characteristics of Rajabhat University Students, develop strategies for student development for Pibulsongkram Rajabhat University by using sufficiency economy philosophy, examine the developed strategies by using SWOT analysis of the current characteristics of the students in terms of moderation, reasonableness, and self-immunity together with knowledge and ethics in the mental, social, environmental technological and economical aspects to determine strategies by using TOWS matrix. The subjects of this study were 2 experts in sufficiency economy, vice presidents of student affairs from 40 Rajabhat universities, 20 employers of employees who graduated from Rajabhat university, and 15 experts in brain storming. The results revealed that strategies for developing Rajabhat University students based on the philosophy of sufficiency economy were as follows: Strategy 1 : Sufficiency process development 1.1 Fostering students’ leadership in sufficiency economy by using “ethics leading knowledge” policy. 1.2 Promoting students cooperative internship. 1.3 Developing curriculum based on sufficiency economy philosophy. Strategy 2 : Sustainability of the sufficiency 2.1 Increasing students’ awareness of Thainess and sufficient expense. 2.2 Developing leadership of model leaders of sufficiency economy philosophy. 2.3 Establishing a sufficiency economy society in a university. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาวิทยาลัยราชภัฏ -- นักศึกษา | en_US |
dc.subject | เศรษฐกิจพอเพียง | en_US |
dc.subject | Rajabhat University -- Students | en_US |
dc.subject | Sufficiency Economy | en_US |
dc.title | ยุทธศาสตร์การพัฒนานักศึกษามหาวิทยาวิทยาลัยราชภัฏตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง | en_US |
dc.title.alternative | Strategies for developing Rajabhat University students based on the philosophy of sufficiency economy | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | อุดมศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Pansak.P@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Pateep.M@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ueaboon Teephung.pdf | 2.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.