Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63842
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณี เจตจำนงนุช-
dc.contributor.authorกรุณพล โลนุชิต-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-11-06T06:59:22Z-
dc.date.available2019-11-06T06:59:22Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63842-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังได้รับการฝึกทักษะการแก้ปัญหาตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ และเพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกทักษะการแก้ปัญหาตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์กับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย จำนวน 60 คน สุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยโปรแกรมการฝึกทักษะการแก้ปัญหาตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ งานวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยทดสอบสถิติค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่ได้รับการฝึกทักษะการแก้ปัญหาตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ มีการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่ได้รับการฝึกทักษะการแก้ปัญหาตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ มีการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were: 1) to investigate the effects of the training in problem-solving skills based on constructivist approach on self-efficacy in science learning of experimental group students 2) to compare self-efficacy of students who received the problem-solving skill training and those who did not receive the training. Subjects were 60 ninth grade students from Amphawan Witthayalai School, Samutsongkhram, The classrooms were randomly assigned into 2 groups: an experimental group and a control group with 30 students in each group. Instruments consisted of a self-efficacy for science questionnaire and the problem-solving skills based on constructivist approach program. T-test was employed for data analysis. The results of this research were as follows: 1. After receiving the problem-solving skills based on constructivist approach program, experimental group students gained higher self-efficacy in science learning, at .05 statistical significance. 2. After the intervention, experimental group students had higher self-efficacy than control group students, at .05 statistical significance.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1838-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectนักเรียนen_US
dc.subjectการแก้ปัญหาen_US
dc.subjectการแก้ปัญหาในวัยรุ่นen_US
dc.subjectทฤษฎีสรรคนิยมen_US
dc.subjectStudentsen_US
dc.subjectProblem solvingen_US
dc.subjectProblem solving in adolescenceen_US
dc.subjectConstructivism (Education)en_US
dc.titleผลของการฝึกทักษะการแก้ปัญหาตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3en_US
dc.title.alternativeThe effects of problem-solving skills based on constructivist approach on self-efficacy in science learning of ninth grade studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineจิตวิทยาการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWannee.J@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1838-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Karoonpol Lonuchit.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.