Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63904
Title: | เรื่องผีของเหม เวชกร : ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมไทย (พ.ศ. 2475-2513) |
Other Titles: | Hem Vejakorn's Gost stories : a social and cultural history of Thailand, 1932-1970 |
Authors: | พิชยะพัฒน์ นัยสุภาพ |
Advisors: | ธิบดี บัวคำศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Thibodi.b@chula.ac.th |
Subjects: | ผีในวรรณกรรม เหม เวชกร, 2446-2512 -- ผลงาน Ghosts in literature Hem Vejakorn, 1903-2512 |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เรื่องผีของเหม เวชกร เผยแพรjระหว่างปี 2476-2513 เป็นวรรณกรรมที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาแห่ง ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 และความเป็นสมัยใหม่ ทั้ง ในทางการเมืองและสังคมวัฒนธรรม แต่ความเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในห้วงเวลานี้ไม่ได้ทำให้สิ่ง เก่าหายไป สิ่งเก่ายังคงดำรงอยู่ในพื้นที่และเวลาเดียวกันกับสิ่งใหม่ ผีในเรื่องผีของเหมจึงเกิดขึ้นด้วย เงื่อนไขเช่นนี้ และฉายภาพให้เห็นความกลัว ความตึงเครียด และความขัดแย้งในสังคมไทยในสามประเด็น ประการแรกคือ สังคมเก่ายังคงอยู่ในสังคมใหม่ อย่างที่สองคือ เมืองและชนบทยังคงเป็นสองโลกที่ แตกต่างกัน และสิ่งเก่าที่ความเป็นสมัยใหม่ต้องการกำจัดให้หมดไปยังคงมีอยู่ในชนบท อย่างที่สามคือ ความรักแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความเสมอภาคและเสรีภาพต้องปะทะกับความรักแบบเก่าที่ยึดมั่น ในชนชั้นและการตัดสินใจของพ่อแม่ สภาวะเช่นนี้แสดงให้เห็นสิ่งที่มากไปกว่า “การปฏิวัติที่ไม่สมบูรณ)” แต่แสดงให้เห็น “การทำให้ทันสมัยที่ไม่สมบูรณ)” ด้วยความไม่สมบูรณ)เช่นนี้จึงทำให้เกิด “สิ่งตกค้าง” จากสังคมเก่าในสังคมใหม่ เรื่องผีของเหมจึงเป็นเรื่องผีที่หลอกหลอนคนที่อยู่ในสังคมใหม่ ความคิดใหม่นั่นเอง |
Other Abstract: | Hem Vejakorn’s ghost stories, published between 1933-1970, were Thai literature emerged in the age of change in terms of political and sociocultural environment. This change resulted from the 1932 Revolution and modernity. However, the change to the new had not eradicated the old altogether. The old was still in existence simultaneously with the new. Phantoms in Hem’s ghost stories thus revealed their apparitions in this condition. They manifested fears, tensions, and conflicts of Thai society at the time in three aspects. First, the old regime survived in the new. Second, the city and the country remained as different worlds. The old, which should be overcome by modernity, yet was in the country. Third, the modern way of love, emphasized on equality and freedom, encountered with the traditional way thereof in which class and parental authority involved. These circumstances represent not only “the incomplete revolution,” but also “the incomplete modernization.” The incomplete paved a way for the “survivals” of the old to remain in the new. Hem’s ghost stories, in short, haunted people who lived in the new world and upheld the new mentalities. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประวัติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63904 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.939 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2018.939 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pichayapat Na_Th_2561.pdf | 2.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.