Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63924
Title: ผลของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและแรงเชิงกลต่อความแข็งแรงล้าต่อแรงดัด และการรั่วซึมของไททาเนียมยึดกับเนื้อฟันโดยใช้สารปรับสภาพผิวโลหะต่างชนิด
Other Titles: The effect of thermal and mechanical cycling on flexural fatigue strength and microleakage of titanium bonded to dentin using different metal conditioners
Authors: ศิริกุล เตชะนรราช
Advisors: วิริทธิ์พล ศรีมณีพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Viritpon.S@Chula.ac.th
Subjects: โลหวิทยาทางทันตกรรม
ไทเทเนียม
การยึดติดทางทันตกรรม
สารยึดติดทางทันตกรรม
เรซินทางทันตกรรม
Dental metallurgy
Titanium
Dental bonding
Dental adhesives
Dental resins
Materials Testing
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและแรงเชิงกลต่อคุณภาพของพันธะการยึดติดระหว่างไททาเนียมกับเนื้อฟัน เมื่อเลือกใช้ซีเมนต์เรซินและสารปรับสภาพผิวโลหะต่างชนิด วัสดุและวิธีการ แบ่งกลุ่มวัสดุออกเป็น 4 กลุ่ม โดยเลือกใช้ซีเมนต์เรซินหนึ่งจากสองชนิด ได้แก่ ซูเปอร์บอนด์ซีแอนด์บีและพานาเวียร์เอฟ 2.0 ร่วมกับการเลือกใช้สารปรับสภาพผิวโลหะหนึ่งจากสองชนิด ได้แก่ เมทาฟาสท์บอนดิ้งไลเนอร์ และอัลลอยไพร์เมอร์ นำมาทดสอบคุณภาพการยึดติดด้วยการทดสอบสองวิธี ได้แก่ การทดสอบความแข็งแรงล้าต่อแรงดัด โดยการทดสอบการดัดขวางแบบสามจุดภายใต้เทอร์โมไซคลิง (5-55 องศาเซลเซียส, 5000 รอบ) และการทดสอบการแทรกซึมของสีย้อม (สารละลายเบสิกฟุสชิน) ภายใต้กระบวนการเทอร์โมไซคลิง และการเปลี่ยนแปลงแรงเชิงกล (6 นิวตัน 2 รอบต่อวินาที 20,000 รอบ) ผลการศึกษา กลุ่มควบคุมซูเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี/อัลลอยไพร์เมอร์ให้จำนวนรอบที่ทนต่อการแตกหักมากที่สุด และมีระยะทางการแทรกซึมของสีย้อมน้อยที่สุด นำผลมาวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน 3 ทาง ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% พบว่า การเลือกใช้ซีเมนต์และเทอร์โมไซคลิงส่งผลต่อความล้าต่อแรงดัด และการเลือกใช้ซีเมนต์และเทอร์โมไซคลิงกับการเปลี่ยนแปลงแรงเชิงกล ส่งผลต่อการรั่วซึมของรอยต่อระหว่างไททาเนียมกับซีเมนต์กับเนื้อฟัน นอกจากนี้ ยังพบอิทธิพลร่วมของการเลือกใช้ซีเมนต์กับเทอร์โมไซคลิงกับการเปลี่ยนแปลงแรงเชิงกล ส่งผลต่อการรั่วซึมของรอยต่อ สรุป เมื่อยึดไททาเนียมกับเนื้อฟัน กระบวนการเร่งอายุโดยเทอร์โมไซคลิงลดคุณภาพของการยึดติด การเลือกใช้สารปรับสภาพผิวโลหะต่างชนิดไม่ส่งผลต่อคุณภาพของการยึดติด และซูเปอร์บอนด์ ซีแอนด์บีให้การยึดติดที่มีคุณภาพดีกว่าพานาเวียร์เอฟ 2.0
Other Abstract: To evaluate the titanium-dentin bonded properties when using different resin cements and metal conditioners under thermal and mechanical cycling Methods Dentin-titanium were bonded using resin cements (SuperbondC&B® or PanaviaF2.0®) and metal conditioners (Metafast Bonding Liner® or Alloy Primer®). For flexural-fatigue-test, loading cycles (6.0N, 2.0Hz, three-point bending set-up) until specimen breakdown were recorded, with/without thermocycling. For Dyepenetration- test, specimens were investigated under mechanical cycling (6.0N, 2.0 Hz, 20,000cycles) and thermocycling, using basic fuchsin dye. Results Dentin treated with Alloy Primer®and adhered with SuperbondC&B® showed the highest loading-cycles before failure and the lowest dye-penetration distance. The data was analyzed with 3-way ANOVA at 95 % confidence level. Type of cements and thermocycling process effect the flexural fatigue strength. The dye penetration test yielded similar results. There was no statistically significant difference when using a different metal conditioners. Conclusion Using different metal conditioners did not affect the bonding properties between dentin and titanium. Thermocycling decreased the bonding properties between dentin and titanium. This study suggests SuperbondC&B® could provide a better dentin-titanium bond than that of PanaviaF2.0
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมประดิษฐ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63924
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2231
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.2231
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirikul Techanoraraj.pdf910.13 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.