Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63955
Title: การศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูอุทัย แก้วละเอียด (ศิลปินแห่งชาติ)
Other Titles: A study of the transmission process in Ranard-Ek performance of Uthai Kaewlaead (National Artist)
Authors: วิศวะ ประสานวงศ์
Advisors: ณรุทธ์ สุทธจิตต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Narutt.S@Chula.ac.th
Subjects: อุทัย แก้วละเอียด, 2475- -- ผลงาน
เพลงไทย
ดนตรีไทย
ระนาดเอก
Uthai Keolaiad
Songs, Thai
Gamelan
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกขั้นพื้นฐานในแนวทางของครูอุทัย แก้วละเอียด ศิลปินแห่งชาติ 2) เพื่อสร้างคู่มือการสอนทักษะการบรรเลงระนาดเอกขั้นพื้นฐานของครูอุทัย แก้วละเอียด ศิลปินแห่งชาติ วิธีการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก สังเกตการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการตีความ สร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และนำเสนอเป็นความเรียง ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ครูอุทัย แก้วละเอียด ได้รับการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกจากหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) จนมีความเชี่ยวชาญทั้งในด้านทฤษฏี การปฏิบัติ และการถ่ายทอด โดยเฉพาะการบรรเลงระนาดเอก ลูกศิษย์ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีพื้นฐานในด้านการบรรเลงระนาดเอกมาก่อน แล้วจึงมาเรียนกับท่าน สำหรับหลักการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูอุทัย แก้วละเอียด แบ่งออกเป็น 3 ประการ ได้แก่ 1) การเน้นระดับความสามารถและความถนัดในการบรรเลงระนาดเอกของผู้เรียนเป็นหลัก เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบของการบรรเลงระนาดเอกของแต่ละบุคคล 2) ยึดหลักการถ่ายทอดระนาดเอกแบบหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ท่านั่ง การจับไม้ บุคลิกภาพของผู้บรรเลง และการทำเสียงระนาดเอกให้หลากหลาย ชัดเจน ได้อรรถรสตามลักษณะของเพลง 3) ยึดหลักคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินชีวิต 2. คู่มือการสอนทักษะการบรรเลงระนาดเอกขั้นพื้นฐานฐานของครูอุทัย แก้วละเอียด ศิลปินแห่งชาติ ประกอบด้วย คำชี้แจงในการใช้คู่มือ เนื้อหาสาระที่จำเป็นสำหรับการสอนและการฝึกทักษะการบรรเลงระนาดเอก การวัดและประเมินผล และแหล่งข้อมูล
Other Abstract: The purposes of this qualitative research were to 1) study Uthai Kaewlaead of transmission process in Ranard-Ek performance of Uthai Kaewlaead (National Artist) and 2) produce a manual teaching fundamental techniques for Ranard-Ek performance based on Uthai Kaewlaead instructions. Result showed that. 1. Uthai Kaewlaead was taught how to play Ranard-Ek by Luang Pradit Pairoh (Sorn Sinlapabanleng) until Uthai mastered the theory, the performance and the knowledge transfer. Most of Uthai’s students had had fundamental knowledge about Ranard-Ek before studying with him. Uthai’trasmission process involved 3 steps. Firstly, his teaching varied according to student’ ability and preference. Secondly, his teaching was based on that of Luang Pradit Pairoh (Sorn Sinlapabanleng) including the sitting position, the way to hold the sticks, the player’s poses and the variation of performances to suit the songs. Thirdly, the teaching focuses on moral practices in daily living. 2. The manual comprises guidelines of how to use this manual, essence of how to teach other to play Ranard-Ek and of how to practice it, assessment and references.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดนตรีศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63955
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wisawa Pasanwong.pdf13.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.