Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63978
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พัฒนาพร โกวพัฒนกิจ | - |
dc.contributor.author | กัญญารัตน์ นวรัตนไพบูลย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2019-11-21T08:06:56Z | - |
dc.date.available | 2019-11-21T08:06:56Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63978 | - |
dc.description | เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 | en_US |
dc.description.abstract | ธุรกิจประกันชีวิตเริ่มมีบทบาทในธุรกิจของประเทศไทยมากขึ้น จนทำให้สัดส่วนฐานธุรกิจรับประกันชีวิตในประเทศไทยเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้นธุรกิจรับประกันชีวิตจึงเริ่มมีการจัดตั้งนิติบุคคลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การจัดเก็บภาษีจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญกันมากขึ้น โดยธุรกิจรับประกันชีวิตนั้น เป็นกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จากฐานของดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และค่าบริการ เนื่องจากธุรกิจรับประกันชีวิตมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย จนทำให้ภายในกิจการเองนั้นจะมีการประกอบกิจการที่นอกเหนือจากการขายประกันชีวิต ดังนั้น รายรับจากการประกอบกิจการของธุรกิจรับประกันชีวิตอาจมีทั้งที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหรืออยู่ในบังคับต้อง เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม การที่ธุรกิจรับประกันภัยประกอบกิจการทั้งที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการการหาฐานของธุรกิจรับประกันชีวิตว่าควรต้องอยู่ในบังคับต้อง เสียภาษีมูลค่าเพิ่มบนฐานรายรับใดบ้าง และการแยกแยะประเภทของกิจการว่าเป็นกิจการที่เกี่ยวเนื่องโดยตรง โดยมีพระราชกฤษฎีกา ฯ กำหนดไว้หรือไม่เกี่ยวเนื่องโดยตรงแก่กิจการอันต้องอยู่ในบังคับเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้ การที่บทบัญญัติในประมวลรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มยังไม่มีความชัดเจน จนทำให้ผู้ประกอบการที่ดำเนินกิจการอย่างสุจริต อาจต้องประสบกับรายจ่ายอันได้แก่ เบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มอย่างไม่เป็นธรรม อีกทั้งยังเป็นการเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่สรรพากรใช้ดุลพินิจในการพิจารณา ซึ่งอาจมีความไม่แน่นอนบนการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงได้ทำการศึกษาปัญหาดังกล่าวข้างต้น โดยเสนอแนะแนวทาง การพิจารณา สำหรับการจัดแยกประเภทกิจการที่อยู่ในบังคับภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งการเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีของธุรกิจรับประกันชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดฐานของภาษีมูลค่าเพิ่มให้มีความชัดเจนและเป็นธรรมมากขึ้น ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้มีการนำธุรกิจที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ที่มีการกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับกิจการที่ต้องอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้กิจการจะอยู่ในบังคับเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เพื่อเป็นแนวทางใน การเพิ่มบทบัญญัติของกฎหมายให้มีความสอดคล้องกัน และเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ รวมทั้งเจ้าหน้าที่สรรพากรในการปฏิบัติงานได้อย่างสะดวกและเป็นไปในทิศทางเดียวกันด้วย | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2018.26 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ประกันชีวิต | en_US |
dc.subject | ภาษีธุรกิจเฉพาะ | en_US |
dc.subject | ธุรกิจประกันชีวิต--ภาษี | en_US |
dc.title | ปัญหาในการหาฐานภาษีมูลค่าเพิ่มในกิจการเฉพาะ: กรณีศึกษารายได้ค่าบำเหน็จและค่าจ้างในธุรกิจรับประกันชีวิต | en_US |
dc.type | Independent Study | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | กฎหมายเศรษฐกิจ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.author | patanaporn.k@chula.ac.th | - |
dc.subject.keyword | ค่าบำเหน็จ | en_US |
dc.subject.keyword | ประกันชีวิต | en_US |
dc.subject.keyword | ภาษีมูลค่าเพิ่ม | en_US |
dc.subject.keyword | การจัดเก็บภาษี | en_US |
dc.subject.keyword | การบริหารภาษี | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.IS.2018.26 | - |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6086155534.pdf | 770.85 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.