Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63980
Title: | การควบคุมราคาขายท่อพีวีซีในประเทศไทย |
Authors: | ชาญณุชา อึ้งศิริไพศาล |
Advisors: | วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | wirote.w@chula.ac.th |
Subjects: | อุตสาหกรรมท่อพลาสติก สินค้า -- ราคา ท่อ |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมราคาขายสินค้าท่อพีวีซี ด้วยวิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลเอกสาร ตำราวิชาการที่เกี่ยวข้อง บทความ งานวิจัยและสื่ออิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับโครงสร้างตลาด หลักเศรษฐศาสตร์ มาตรการการควบคุมสินค้าท่อพีวีซีของประเทศสหรัฐอเมริกา เวียดนามและประเทศไทย เพื่อนำมาวิเคราะห์หาแนวทางที่เหมาะสมในการใช้กฎหมายควบคุมราคาขายสินค้าท่อพีวีซีในประเทศไทยภายใต้ระบบการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม กฎระเบียบของภาครัฐที่ใช้บังคับในเรื่องที่ศึกษาเกี่ยวกับการควบคุมสินค้าท่อพีวีซีซึ่งเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมการเกษตร ทั้งยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย มีการกำหนดราคาไม่สอดคล้องกับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์เรื่องอุปสงค์และอุปทาน ถึงแม้เจตนารมณ์ของกฎหมายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 นั้นเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค แต่ผลลัพธ์นั้นกลับเป็นการแทรกแซงและเพิ่มภาระเกินสมควรแก่ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค เนื่องด้วยเหตุผลจากการผลิตท่อพีวีซีนั้น ใช้วัตถุดิบตั้งต้นจากสายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทำให้ราคาวัตถุดิบผันผวนมากในขณะที่ราคาขายถูกกำหนดไว้ ในบางช่วงเวลาผู้ผลิตท่อพีวีซีอาจขาดทุนมากหากต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มสูงเกินกว่าราคาขายที่ถูกกำหนด ผู้บริโภคได้ซื้อท่อพีวีซีในราคาถูกเกินกว่าที่ควรจะเป็น ในทางกลับกันหากต้นทุนวัตถุดิบลดต่ำลงกว่าราคาขายที่ถูกกำหนดมาก ผู้ผลิตท่อพีวีซีก็จะได้กำไรเกินกว่าความเป็นจริง แต่ผู้บริโภคกลับได้ซื้อท่อพีวีซีในราคาสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น จากปัจจัยดังกล่าวอาจทำให้อุตสาหกรรมท่อพีวีซีเกิดปัญหาขึ้นในระยะยาวและอาจส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคและผู้ผลิต รวมถึงเศรษฐกิจโดยรวมอีกด้วย นอกจากนี้ ถึงแม้จะมีผู้ผลิตรายใหญ่ 2 รายที่มีส่วนแบ่งการตลาดรวมกันมากกว่าร้อยละ 50 แต่กลไกตลาดก็ยังคงทำงาน เมื่อใดก็ตามที่ผู้ผลิตรายใดรายหนึ่งขึ้นราคา ส่วนแบ่งการตลาดจะตกไปเป็นของคู่แข่งทันที และเมื่อเปรียบเทียบการบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมราคา รวมถึงการแข่งขันของท่อพีวีซีในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศเวียดนาม พบว่าประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเวียดนามไม่ได้มีกฎหมายที่ควบคุมราคาหรือกำหนดเพดานราคาสำหรับอุตสาหกรรมท่อพีวีซีแต่อย่างใด แต่ประเทศเหล่านี้ใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าในการป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม ผู้วิจัยเสนอแนะให้ถอดสินค้าท่อพีวีซีออกจากบัญชีสินค้าควบคุมพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 และภาครัฐควรเปลี่ยนบทบาทจากการควบคุมราคามาเป็นการกำกับดูแลราคาโดยใช้พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 เพื่อเป็นการส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ การคุ้มครองผู้บริโภคที่เหมาะสม |
Description: | เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63980 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2018.17 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2018.17 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6086176734.pdf | 1.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.