Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63984
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทัชชมัย ทองอุไร-
dc.contributor.authorชนกนันท์ นวรัตน์ ณ อยุธยา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-11-21T08:08:06Z-
dc.date.available2019-11-21T08:08:06Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63984-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561en_US
dc.description.abstractการศึกษาในงานเอกัตศึกษาเล่มนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะศึกษามาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยเกี่ยวกับการควบคุมด้านสาธารณสุขของกิจการโรงแรม เพื่อตอบข้อสมมติฐานของการศึกษาที่กำหนดว่า “มาตรการทางกฎหมายด้านสาธารณสุขของไทยเพื่อควบคุมโรงแรมที่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพักยังไม่เหมาะสมเพียงพอ ดังนั้น จึงควรมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง” จากการศึกษามาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยเกี่ยวกับด้านสาธารณสุขของกิจการโรงแรม พบว่ามาตรการทางกฎหมายในปัจจุบันไม่เหมาะสมเพียงพอสำหรับควบคุมกิจการโรงแรม ที่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพัก เนื่องจากในปัจจุบันยังพบปัญหาที่ผู้เข้าพักในโรงแรมประสบ เช่น ผู้เข้าพักไม่ทราบว่าโรงแรมอนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพัก ทราบภายหลังว่าห้องพักที่ตนเข้าพักเคยมีสัตว์เลี้ยงเข้าพักมาก่อนและรู้สึกไม่พอใจ ผู้เข้าพักพบขนสัตว์และหมัดสุนัขภายในห้องพัก ห้องพักมีกลิ่นเหม็น รวมถึงได้รับการรบกวนจากเสียงของสัตว์เลี้ยงที่เข้าพักในโรงแรม เป็นต้น ผู้เขียนจึงได้ศึกษามาตรการทางกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา คือ มาตรการทางกฎหมายของรัฐแคนซัสและ รัฐยูทาห์ ประกอบกับมาตรการของรัฐแมรี่แลนด์และรัฐเทนเนสซี่ พบว่ามาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยยังไม่เหมาะสมเพียงพอสำหรับการควบคุมโรงแรมที่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพักใน ประเด็นดังนี้ (1) การกำหนดความหมายของโรงแรมที่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพัก (2) การกำหนดหน้าที่ของผู้มีหน้าที่จัดการโรงแรม (3) มาตรการควบคุมดูแลด้านสุขอนามัยของโรงแรม (4) มาตรการควบคุมการเลี้ยงสัตว์ ผู้เขียนจึงเสนอแนะแนวทางในการกำหนดมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยให้เหมาะสมมากขึ้นโดยอาศัยมาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศมาเป็นแนวทางกำหนดมาตรการที่สามารถบังคับโดยทั่วไปประกอบด้วย (1) การกำหนดความหมายของโรงแรมที่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพักเพื่อกำหนดนโยบายของโรงแรม เพื่อกำหนดคำนิยามของคำศัพท์เกี่ยวกับโรงแรมที่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพักที่สำคัญ เช่น คำว่าสัตว์เลี้ยง สัตว์ที่ให้ความช่วยเหลือแก่มนุษย์ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ห้องพักทั่วไป เป็นต้น (2) การกำหนดหน้าที่ของผู้มีหน้าที่จัดการโรงแรมให้เหมาะสมสำหรับการดูแลจัดการโรงแรมที่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพัก เช่น หน้าที่ในการแจ้งให้ผู้เข้าพักทราบว่าโรงแรมนั้นๆ อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพัก การติดป้ายเพื่อแจ้งที่แผนกต้อนรับและทางเข้าห้องพักที่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพัก (3) การกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมด้านสุขอนามัยของโรงแรมที่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพัก ได้แก่ กำหนดให้ระบบระบายอากาศของห้องพักที่กำหนดให้เป็นห้องพักที่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าแยกเป็นอิสระจากห้องพักทั่วไป กำหนดมาตรการดูแลสุขอนามัยของห้องพักที่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพัก มาตรการควบคุมร้านอาหารที่อนุญาตให้ลูกค้านำสัตว์เลี้ยงไปรับประทานอาหารที่ร้านได้ เช่น ให้ร้านอาหารเตรียมพื้นที่ outdoor สำหรับลูกค้าที่มารับประทานอาหารที่ร้านพร้อมสัตว์เลี้ยง มาตรการควบคุมบริเวณสถานที่ให้บริการสปา ร้านนวด และสระว่ายน้ำ เช่น กำหนดไม่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าไปในสถานประกอบการ รวมถึงกำหนดข้อยกเว้นสำหรับสัตว์ให้ความช่วยเหลือผู้บกพร่องทางร่างกายเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และ (4) การกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมสัตว์เลี้ยงภายในบริเวณโรงแรม ไม่ให้วิ่งเป็นอิสระภายในบริเวณโรงแรมen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2018.12-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสัตว์เลี้ยงในบ้าน--ที่อยู่อาศัยen_US
dc.subjectโรงแรม--ที่พักสำหรับสัตว์เลี้ยงen_US
dc.subjectกฎหมายสาธารณสุขen_US
dc.titleมาตรการทางกฎหมายด้านสาธารณสุข เพื่อควบคุมโรงแรมที่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพักen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTashmai.R@chula.ac.th-
dc.subject.keywordสัตว์เลี้ยงen_US
dc.subject.keywordโรงแรมen_US
dc.subject.keywordระเบียบการเข้าพักen_US
dc.subject.keywordการดูแลสุขอนามัยen_US
dc.subject.keywordการควบคุมสัตว์เลี้ยงen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2018.12-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6086171534.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.