Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6398
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อุบลวรรณ ปิติพัฒนะโฆษิต | - |
dc.contributor.author | กุลทิชา หุ่นรำภู | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-03-26T11:44:40Z | - |
dc.date.available | 2008-03-26T11:44:40Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.isbn | 9741740123 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6398 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานภาพขององค์ความรู้ด้านการเผยแพร่นวกรรม โดยศึกษาประเด็นของการวิจัย กรอบแนวคิดและทฤษฎี ระเบียบวิธีวิจัย และข้อค้นพบที่นำมาสู่องค์ความรู้ด้านการเผยแพร่นวกรรม จากวิทยานิพนธ์จำนวน 78 เล่ม ที่ทำขึ้นระหว่างปี พ.ศ.2524-2545 ในสาขานิเทศศาสตรพัฒนาการ จาก 4 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ทั้ง เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) ประเด็นที่มีการศึกษามากที่สุด คือ ผลของนวกรรมที่มีต่อผู้รับสาร รองลงมา ได้แก่ การดูทั้งกระบวนการเผยแพร่นวกรรม ผู้รับสาร ช่องทางการสื่อสาร ผู้ส่งสาร และเนื้อหาสารหรือตัวนวกรรม ตามลำดับ 2) แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้มากที่สุด คือ ทฤษฎีการเผยแพร่นวกรรม รองลงมา ได้แก่ กลุ่มทฤษฎีเกี่ยวกับผลกระทบของการสื่อสารต่อผู้รับสาร และกลุ่มแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผู้รับสาร ตามลำดับ 3) ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้มากที่สุด คือ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจ และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือหลักในการเก็บข้อมูล สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาเป็นประชาชนทั่วไปมาก ที่สุด โดยเฉพาะเกษตรกรและประชาชนในกรุงเทพฯ การเลือกกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาใช้การสุ่มแบบทราบค่าความน่าจะเป็นมากที่สุด โดยเฉพาะการใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน และเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงอ้างอิงมากที่สุด 4) ข้อค้นพบที่นำมาสู่องค์ความรู้ด้านการเผยแพร่นวกรรม ยังอยู่ในสภาวะการย้ำหรือยืนยัน ข้อค้นพบเดิม ตามทฤษฎีการเผยแพร่นวกรรมของโรเจอร์ส ส่วนใหญ่เน้นศึกษาพฤติกรรมการยอมรับ นวกรรมของผู้รับสาร โดยมุ่งไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ โดยเฉพาะการเปิดรับข่าวสาร กับการ เปลี่ยนแปลงความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้รับสาร | en |
dc.description.abstractalternative | This Documentary Research was aimed at investigating the progression of knowledge on "Diffusion of Innovations" by considering the areas of study, theoritical frameworks, research methodologies as well as major findings in 78 theses leading to the knowledge on "Diffusion of Innovations" during 1981-2002 in Development Communication Programme from 4 graduate schools : Chulalongkorn University, Thammasart University, Dhurakitbundit University and Kasetsart University. The research instrument was coding sheets. Data analysis was undertaken through quantitative and qualitative methods. Results were concluded as following : 1) Theses were highly done in the following studied areas consisted of consequences of innovation, diffusion of innovation process, receiver, communication channels, source (change agent), and message (innovation) respectively. 2) Diffusion of innovations theory was mostly used as a theoritical framework. 3) The survey research was highly chosen as a research methodology. Questionnaire required as a major research instrument. Most studied theses sampled from people in general especially farmers and people in Bangkok and employed propability sampling technique especially multi-stage sampling. In addition, most of them employed inferential statistics to analyse data. 4) The major findings still supported Rogers' Diffusion of Innovations. A number of them heavily emphasized the receiver{174}s innovation-adoption behavior by focusing on the correlation among the variables, especially media consumption, knowledge, attitude and behavior change. | en |
dc.format.extent | 1224111 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.979 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การสื่อสาร | en |
dc.subject | การแพร่กระจายนวัตกรรม | en |
dc.subject | การสำรวจองค์ความรู้ | en |
dc.title | การศึกษาสถานภาพขององค์ความรู้ด้านการเผยแพร่นวกรรมในวิทยานิพนธ์สาขานิเทศศาสตรพัฒนาการ (2524-2545) | en |
dc.title.alternative | An overview research study of theses on "Diffusion of innovations" in development communication programme (1981-2002) | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตรพัฒนาการ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Ubolwan.P@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2003.979 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kulthicha.pdf | 1.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.