Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63991
Title: การวิเคราะห์คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของพระธรรมทูตในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา : กรณีศึกษาพระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ)
Other Titles: An analysis of desirable characteristics of Dhammaduta Propagating Buddhism : a case study of Phrarajrattanarangsi (Veerayut Veerayuddho)
Authors: พระธรรมรินทร์ โภคากรณ์
Advisors: พรทิพย์ อันทิวโรทัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Porntip.A@Chula.ac.th
Subjects: พระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ)
ธรรมทูต
พุทธศาสนา -- การเผยแผ่
Phrarajrattanarangsi (Veerayut Veerayuddho)
Buddhist missionaries
Buddhism -- Missions
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและคุณลักษณะของพระธรรมทูตในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสมัยพุทธกาลและหลังพุทธกาล 2) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของพระธรรมทูตในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา กรณีศึกษาพระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ) 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของพระธรรมทูตในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีวิธีดำเนินการวิจัยโดยการศึกษาเอกสารและการศึกษาภาคสนามในประเทศอินเดีย-เนปาล 6 แห่ง คือ วัดไทยพุทธคยา วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ วัดไทยเชตวัน มหาวิหาร วัดไทยนวราชรัตนาราม วัดไทยลุมพินีและวัดไทยนิโครธาราม ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ในความรับผิดชอบของ พระราชรัตนรังษี การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสังเกต การสัมภาษณ์เจาะลึก 10 คน รวมทั้งการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 7 คน ผลการวิจัย พบว่า 1. พระธรรมทูตสมัยพุทธกาลและหลังพุทธกาลซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช มีคุณลักษณะหลักที่ตรงกันทั้ง 7 ประการ คือ 1) มีความรู้ 2) มีจรณะ (ปฏิปทา) 3) ใฝ่ศึกษา 4) มีคุณธรรมและจริยธรรม 5) มีทักษะ 6) อุทิศตน และ 7) มีภาวะผู้นำ ส่วนคุณลักษณะรองที่ตรงกันมี 6 ประการ คือ 1) มีวิชชาทางธรรม 2) มีวิชาทางโลก 3) สำรวมใน พระปาฏิโมกข์ 4) บำเพ็ญเพียร 5) รู้จักแสวงหาความรู้ 6) มีทักษะการสอนและหลังพุทธกาลยังมีเพิ่มขึ้นอีก 2 ประการ คือ 1) มีทักษะชีวิต 2) มีทักษะการสื่อสาร รวมเป็น 8 ประการ 2. พระราชรัตนรังษี ในฐานะพระธรรมทูตปัจจุบัน มีคุณลักษณะหลัก 10 ประการ ตรงกับคุณลักษณะหลักข้างต้น 7 ประการและยังมีเพิ่มขึ้นอีก 3 ประการ คือ 1) มีสุขภาวะ 2) มีจิตอาสา 3) มีมนุษยสัมพันธ์ ส่วนคุณลักษณะรอง มี 15 ประการตรงกับคุณลักษณะรองข้างต้น 8 ประการ และยังมีเพิ่มขึ้นอีก 7 ประการ คือ 1) รู้จักดูแลสุขภาพกาย 2) รู้จักดูแลสุขภาพจิต 3) มีทักษะชีวิต 4) มีทักษะการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ 5) คิดเป็น 6) ทำเป็น 7) แก้ปัญหาเป็น ซึ่งมีความแตกต่างกันในรายละเอียด ส่วนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของพระธรรมทูต พบว่า มีคุณลักษณะหลักและคุณลักษณะรองตรงกันกับคุณลักษณะของพระราชรัตนรังษี และยังคงแตกต่างกันในรายละเอียดเช่นกัน 3. แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของพระธรรมทูตในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มี 4 ทางเลือก (4 ระยะ) คือ 1) จัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย เน้นการปรับปรุงหลักสูตรปัจจุบัน เปิดหลักสูตรระยะสั้น จัดตั้งศูนย์เครือข่ายออนไลน์และจัดทำคู่มือพระธรรมทูต 2) จัดการศึกษาในระบบ โดย เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตร 1 ปี 3) จัดการศึกษาในระบบ โดยจัดตั้งสถาบันพระธรรมทูตศึกษา เปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก 4) จัดการศึกษาตามอัธยาศัย โดยจัดตั้งแม่กองพระธรรมทูต จัดตั้งศูนย์ศึกษาพัฒนาและบริการพระธรรมทูตหรือศูนย์จัดการความรู้พระธรรมทูต
Other Abstract: This is a qualitative research. The objectives are for: 1) studying the history and characteristics of Dhammaduta in propagating Buddhism during the Buddha’s lifetime and afterwards; 2) analyzing the desirable characteristics of Dhammaduta in propagating Buddhism. The case study is Phrarajrattanarangsi, (Veerayuth Veerayuddho); and 3) presenting guidelines on education provision in order to develop the desirable characteristics of Dhammaduta in propagating Buddhism. The research methods are documentary study and field studies, 6 Thai temples, in India and Nepal: 1) Wat Thai Buddha Gaya, 2) Wat Thai Kusinarachalermraj, 3) Wat Thai Chetavan Mahavihar, 4) Wat Thai Nawaraj Ratanaram, 5) Royal Thai Monastery Lumbini, and 6) Wat Thai Nicotharam. These temples have been under the responsibility of Phrarajrattanarangsi. The data collecting is conducted by observations, in-depth interviews (10 persons), focus group discussion (7expertises), The research results found that: 1. During the Buddha’s lifetime and afterwards, which was the period of Asoka Maharajah, there were 7 Dhammaduta’s main characteristics: 1) Knowledgeable, 2) Good behavior/well- practice 3) study-seeking, 4) morals and ethics, 5) skillful, 6) devoting, and 7) leadership. There were 6 sub-characteristics: 1) dhamma educated; 2) worldly educated; 3) the 227 disciplinary rules binding on Bhikkhus; 4) continuously practise; 5) knowledge seeking; and 6) teaching skills. However, after Buddha’s lifetime, there were 2 more characteristics: 1) life skills, and 2) communication skills. Altogether, there were 8 characteristics. 2. Phrarajrattanarangsi, the present Dhammaduta, has obtained 10 main characteristics (7 of which were in the above mentioned) and 3 additional characteristics: 1) healthy, 2) voluntary, and 3) human relationship. There were 15sub-characteristics, 8 of the above mentioned and 7 additional sub-characteristics: 1) know how to take care of physical health; 2) know how to take care of the mental health; 3) have life skills; 4) be skillful in technology and information; 5) know how to think; 6) know how to do; and 7) know how to solve problems. These are different in details. The desirable characteristics of Dhammaduta were found that the main characteristics and sub-characteristics were matched to the characteristics of Phrarajrattanarangsi but different in details. 3. Guidelines on education provision for developing the desirable characteristics of Dhammaduta in propagating Buddhism were 4 choices (4 periods): 1) provided the Non-formal and Informal education which were emphasized on curriculum improvement (At present, there are short courses), established the online networking centre, and published the Dhammaduta handbooks; 2) provided the Formal education (1 year certificate curriculum); 3) provided the Formal education by establishing the Institute of Dhammaduta studies, curricula in the bachelor, master and doctoral degrees; and 4) provided Informal education by establishing the Dhammaduta department, the centre of development studies and services for Dhammaduta, or the centre of knowledge management for Dhammaduta.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63991
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.30
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.30
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phra Thammarin Phokhakorn.pdf3.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.