Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64003
Title: | การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุนการติดตั้งแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานไฟฟ้า (Battery Energy Storage) ในอาคาคและบ้านพักอาศัย : ศึกษากรณีประเทศสหรัฐอเมริกา |
Authors: | ณัฐกิตต์ โกยกุล |
Advisors: | ทัชชมัย ทองอุไร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Tashmai.R@chula.ac.th |
Subjects: | พลังงานไฟฟ้า แบตเตอรี่ สิทธิประโยชน์ทางภาษี |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เนื่องจากไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน แต่พลังงานฟอสซิลที่ใช้เป็นแหล่งพลังงานสำคัญในการผลิตไฟฟ้ามายาวนานมีแนวโน้มที่จะหมดลง รวมไปถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมทำให้มีการคิดค้นวิธีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมซึ่งสามารถนำมาใช้ได้อย่างไม่จำกัด แต่มีข้อจำกัดคือไม่สามารถใช้ผลิตไฟฟ้าตลอดเวลา ซึ่งปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการติดตั้งแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานไฟฟ้า แต่ยังไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากมีราคาสูงไม่คุ้มค่าต่อการติดตั้ง การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุนการติดตั้งแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานไฟฟ้าของประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อนำมาปรับใช้กับประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าการเก็บภาษีเงินได้ของประเทศสหรัฐอเมริกามีความแตกต่างจากประเทศไทยเนื่องจากมีการเก็บภาษีใน 2 ระดับ คือ ระดับรัฐบาลกลางและระดับท้องถิ่นหรือระดับรัฐ แตกต่างจากประเทศไทยที่เก็บภาษีเงินได้เฉพาะระดับรัฐบาลกลางเพียงอย่างเดียว โดยรัฐบาลกลางสหรัฐฯ มีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุนการติดตั้งแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานไฟฟ้าในรูปแบบของเครดิตภาษีทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมูลค่าของแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานไฟฟ้า ในส่วนของนิติบุคคลนอกจากได้รับสิทธิในการเครดิตภาษีแล้วยังได้รับสิทธิในการตัดค่าเสื่อมราคาด้วยวิธี Modified Accelerated Cost Recovery System (MACRS) เป็นเวลา 5 ปี ทำให้สามารถตัดค่าเสื่อมได้ด้วยอัตราเร่ง ซึ่งทำให้กิจการรับรู้ค่าใช้จ่ายได้มากกว่าปกติในปีแรก ๆ ส่งผลให้เสียภาษีเงินได้ในปีแรก ๆ ลดลง และยังได้สิทธิเลือกตัดค่าเสื่อมราคาทั้งหมดได้ในปีแรกอีกด้วย ส่วนกรณีของท้องถิ่นในบางรัฐ เช่น รัฐแมรี่แลนด์มีการให้สิทธิในการเครดิตภาษีทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมจากรัฐบาลกลาง ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีมาตรการสนับสนุนให้อาคารและบ้านพักอาศัยติดตั้งแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานไฟฟ้า ข้าพเจ้าจึงได้เสนอแนะแนวทางให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล ร้อยละ 30 ของค่าใช้จ่ายในการติดตั้งแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานไฟฟ้า และให้สิทธิเลือกหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเต็มจำนวนของค่าใช้จ่ายในการติดตั้งแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานไฟฟ้าในปีแรก รวมถึงการให้เงินช่วยเหลือกับหน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาลของรัฐสถานศึกษาของรัฐ และองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ โดยเชื่อว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ลดการใช้พลังงงานจากฟอสซิล ลดมลภาวะ และก่อให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานไฟฟ้าขึ้นในประเทศไทย รวมถึงเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศไทยในอนาคตข้างหน้า |
Description: | เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64003 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2018.33 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2018.33 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6086183034.pdf | 9.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.