Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64056
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์-
dc.contributor.authorนัชพันธ์ สุทธิ์อาภรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-12-02T09:38:15Z-
dc.date.available2019-12-02T09:38:15Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64056-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561en_US
dc.description.abstractการพัฒนาทางเทคโนโลยีและการเติบโตของตลาดเกมอย่างต่อเนื่องส่งผลให้รูปแบบการประกอบธุรกิจเกมออนไลน์เปลี่ยนแปลงไป บริษัทผู้ให้บริการเกมออนไลน์นิยมการขายผลิตภัณฑ์ต่างๆในเกมออนไลน์เป็นช่องทางในการสร้างรายได้ทางธุรกิจ ระบบกล่องสุ่มเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบหนึ่งที่วางขายในเกมออนไลน์และได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างมาก ทั้งนี้ เนื่องจากระบบดังกล่าวมีรูปแบบพิเศษเฉพาะตัว กล่าวคือ เมื่อผู้ซื้อทำการซื้อกล่องสุ่มระบบจะทำการสุ่มสิ่งของหรือรายการ (ซึ่งในที่นี้เรียกว่า “ไอเทม”) อย่างใดอย่างหนึ่งให้กับผู้ซื้อ โดยไอเทมที่ระบบได้ทำการสุ่มออกมาให้กับผู้ซื้ออาจเป็นสิ่งที่ผู้ซื้อคาดหวังหรือไม่ใช้สิ่งที่ผู้ซื้อที่คาดหวังก็ได้ ระบบดังกล่าวจึงมึความคล้ายคลึงเป็นการเสี่ยงโชคและผู้ซื้ออาจไม่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอย่างถูกต้องและเพียงพอ ซึ่งทำให้ผู้ซื้อเสียเปรียบและได้รับความไม่เป็นธรรม อีกทั้งกฎหมายที่ใช้บังคับในประเทศไทยในการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับการขายกล่องสุ่มในเกมออนไลน์ อันได้แก่ พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ยังขาดความชัดเจนและเหมาะสมจึงทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่ เอกัตศึกษานี้มุ่งศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขายกล่องสุ่มในเกมออนไลน์ รวมทั้งศึกษามาตรการที่เหมาะสมในการปรับหรือเพิ่มเติมบทบัญญัติให้มีความชัดเจนและเหมาะสมกับรูปแบบการขายกล่องสุ่มในเกมออนไลน์เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยผู้วิจัยได้ศึกษามาตรการทางกฎหมายและแนวทางปฏิบัติในการควบคุมระบบกล่องสุ่มในเกมออนไลน์ของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร เป็นต้น เพื่อเป็นแนวทางในการปรับใช้และพัฒนากฎหมายของประเทศไทยให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยผู้วิจัยเสนอให้ควรมีการเพิ่มเติมบทบัญญัติของพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 และ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ให้มีความชัดเจนและเหมาะสมกับรูปแบบการขายกล่องสุ่มในเกมออนไลน์มากขึ้น โดยการบัญญัติกฎกระทรวงเกี่ยวกับข้อความในการสื่อสารข้อมูลเพื่อเสนอขายกล่องสุ่มต่อผู้บริโภคและการออกมาตราการเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ในการระบุเนื้อหาว่าต้องมีมากน้อยเพียงใด รวมถึงการพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิเลิกสัญญาของการขายกล่องสุ่มในเกมออนไลน์ด้วยen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2018.28-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเกมอินเทอร์เน็ตen_US
dc.subjectเกมอิเล็กทรอนิกส์en_US
dc.subjectกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ซื้อขายen_US
dc.titleมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการขายกล่องสุ่มในเกมออนไลน์ของประเทศไทยen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorwirote.w@chula.ac.th-
dc.subject.keywordเกมออนไลน์en_US
dc.subject.keywordการขายของen_US
dc.subject.keywordตลาดเกมen_US
dc.subject.keywordไอเทมen_US
dc.subject.keywordการขายตรงen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2018.28-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6086197934.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.