Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64060
Title: ความไม่สอดคล้องในการเฉลี่ยภาษีซื้อในกิจการที่ไม่อยู่ในบังคับให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม: ศึกษากรณี เงินปันผลของกิจการโฮลดิ้ง (Holding Company)
Authors: พงศชา ลึกมณี
Advisors: วุฒิพงษ์ ศิริจันทรานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: เงินปันผล
บริษัท--การเงิน
การบัญชีภาษีอากร
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันมีการจัดตั้งองค์กรธุรกิจในรูปแบบบริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) เป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากการดำเนินงานมีโอกาสเติบโตทางธุรกิจผ่านการลงทุนในหุ้นของบริษัทอื่น โดยรายได้ส่วนใหญ่ของ Holding Company คือเงินปันผล ซึ่งไม่ใช่ “บริการ” ตามนิยามของมาตรา 77/1(10)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ใช่กิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ Value Added Tax (VAT) ตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร (Out of scope) แต่ในบางครั้งกิจการอาจมีรายได้อื่นนอกจากเงินเงินปันผล เช่น รายได้การให้บริการ ส่งผลให้กิจการอาจมีทั้งรายได้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) รายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Non-VAT) และรายได้ที่ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Out of scope) หากกิจการมีต้นทุนเกิดขึ้นกับ กิจการ (VAT) กิจการสามารถเครดิตหรือขอคืนภาษีซื้อได้ แต่ถ้าหากกิจการมีต้นทุนที่นำไปใช้กับกิจการทั้ง 3 ประเภท เช่น ต้นทุนสาธารณูปโภค กิจการจะต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 29 ให้เฉลี่ยภาษีซื้อโดยใช้วิธีการเฉลี่ยตามรายได้ 2 ประเภท คือรายได้จากกิจการ VAT และกิจการ Non-VAT แต่ไม่รวมถึงกิจการ Out of scope ส่งผลให้กิจการใช้เครดิตภาษีซื้อได้ไม่ถูกต้องตามสัดส่วนของรายได้ที่แท้จริง เนื่องจากกิจการมีสัดส่วนรายได้ของกิจการ Out of scope เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นสัดส่วนของฐานที่นำไปเฉลี่ยภาษีซื้อย่อมไม่ถูกต้องกับสัดส่วนรายได้ที่เกิดขึ้นจริง สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหานั้น พบว่าไม่ควรกำหนดข้อยกเว้นในการไม่รวมเงินปันผลเป็นฐานของรายได้ในการเฉลี่ยภาษีซื้อ เนื่องจากรายได้เงินปันผลถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นรายได้ Non-VAT กล่าวคือ ทั้ง รายได้ Non-VAT และ Out of Scope ไม่สามารถใช้เครดิตหรือขอคืนภาษีซื้อได้ มีเพียงรายได้ VAT เท่านั้นที่สามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้ ดังนั้นควรกำหนดรายได้ในการเฉลี่ยภาษีซื้อให้มี 2 ฐาน คือรายได้ VAT และ Non-VAT (รวม Out of scope) ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของประมวลรัษฎากร และสอดคล้องกับที่ผู้เขียนได้ศึกษาเกี่ยวกับการเฉลี่ยภาษีซื้อของประเทศสิงคโปร์ที่แบ่งฐานรายได้ในการเฉลี่ยภาษีซื้อเป็น 2 ฐาน คือรายได้ GST รายได้ Non-GST เท่านั้น โดยบทสรุปจากการศึกษาในครั้งนี้ ผู้เขียนเห็นว่า ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 29 ควรกำหนดวิธีการเฉลี่ยภาษีซื้อให้ชัดเจนว่า “การเฉลี่ยภาษีซื้อสำหรับกิจการ VAT คือการนำรายได้ที่เกิดจากกิจการ VAT หารด้วยรายได้ทั้งหมดของกิจการ” พร้อมทั้ง มีตัวอย่างการคำนวณเพื่อทำให้เกิดความชัดเจนในการเฉลี่ยภาษีซื้อ และส่งผลให้การใช้สิทธิในการเครดิตหรือขอคืนภาษีซื้อถูกต้องและชัดเจนตามสัดส่วนของรายได้มากยิ่งขึ้น และลดข้อพิพาท ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างผู้เสียภาษีและกรมสรรพากรได้ในอนาคต
Description: เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64060
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2018.18
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2018.18
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6086206934.pdf883.4 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.