Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64062
Title: | แนวทางการนำมาตรการบรรเทาภาระภาษีเพื่อพัฒนาทักษะความรู้ทางวิชาชีพบัญชีมาใช้ในประเทศไทย |
Authors: | พรนภัส ประเสริฐกุล |
Advisors: | ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | supalakpp@hotmail.com |
Subjects: | นักบัญชี ผู้ประกอบวิชาชีพ ภาษีเงินได้นิติบุคคล |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในการศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงมาตรการบรรเทาภาระทางภาษีที่รัฐบาลกำหนดให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี โดยมุ่งเน้นในเรื่องมาตรการหักค่าค่าลดหย่อนค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีได้จ่ายไปเพื่อพัฒนาทักษะความรู้ในทางวิชาชีพของตนว่าเป็นไปตามหลักความสามารถในการเสียภาษีและหลักความเป็นธรรมในการเสียภาษีอย่างแท้จริงหรือไม่ โดยผู้เขียนได้ทำการศึกษาถึงมาตรการบรรเทาภาระภาษีของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะวิชาชีพบัญชี นอกจากนี้ ยังศึกษาถึงมาตรการบรรเทาภาระภาษีของประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับมาตรการบรรเทาภาระภาษีในประเทศไทยเพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศไทยศึกษาและนำแนวทางดังกล่าวมาปรับปรุงพัฒนาประมวลรัษฎากร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่ามาตรการทางภาษีของประเทศไทยยังขาดมาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนาทักษะความรู้ทางวิชาชีพแก่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีซึ่งเป็นผู้เสียภาษีโดยตรง เช่น ค่าธรรมเนียมการสอบ และค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ ส่งผลให้เกิดปัญหา 2 ประการ คือการแบกรับภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเกินสมควรไม่เป็นไปตามหลักความสามารถในการเสียภาษี และความไม่เป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีของไทยต้องการแบกรับภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มากเกินสมควร เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ประกอบวิชาชีพในประเทศสิงคโปร์ พบว่ารัฐบาลได้กำหนดมาตรการบรรเทาภาระทางภาษี คือการหักค่าลดหย่อนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนาทักษะความรู้ทางวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพโดยตรง เพื่อเป็นแรงจูงใจหรือกระตุ้นให้กับผู้ประกอบวิชาชีพมีการพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถของต้นเอง และเพิ่มการจ้างงานของประเทศสิงคโปร์ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมาตรการนี้มีส่วนช่วยกระตุ้นให้บุคลากรพัฒนาทักษะความรู้ในอาชีพที่ตนทำ และทำให้เกิดความเป็นธรรมในการบรรเทาภาระภาษีอย่างแท้จริง ผู้เขียนได้เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาทั้ง 2 ประการ โดยผู้เขียนเห็นว่าวิธีการดัวกล่าวมีความเหมาะสม สามารถนำมาประยุกต์และปรับใช้กับประเทศไทยได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยให้เกิดการบรรเทาภาระภาษีแก่ตัวผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีโดยตรงช่วยให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเสียภาษีตามหลักความสามารถ หลักความเสมอภาค และก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทักษะความรู้ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี และเป็นการดึงดูดให้มีการเพิ่มจำนวนแรงงานที่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีมากขึ้น |
Description: | เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64062 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2018.35 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2018.35 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6086209834.pdf | 731.72 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.