Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64063
Title: แนวทางในการกำหนดเกณฑ์กลางเพื่อการตรวจสอบเอกสารประกอบสัญญา เลตเตอร์ออฟเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย
Authors: ไพดรินทร์ ดวงเดือน
Advisors: ทัชชมัย ทองอุไร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Tashmai.R@chula.ac.th
Subjects: เลตเตอร์ออฟเครดิต
ดราฟต์
สินเชื่อ
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นเพราะประเทศต่างๆ ในโลกไม่สามารถผลิตสินค้าและบริการได้ครบตามความต้องการของผู้บริโภคในประเทศ โดยผู้นำเข้าและส่งออกจำเป็นต้องตกลงกันว่าจะใช้วิธีการชำระเงินในรูปแบบใด ซึ่งการชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of credit) เป็นวิธีที่ผู้นำเข้าส่งออกต้องการความเชื่อมั่นในการทำการค้าระหว่างกัน โดยผู้ขายหากส่งมอบเอกสารต่างๆ ให้แก่ธนาคารตามที่กำหนดไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้ว ธนาคารมีหน้าที่ในการตรวจสอบเอกสารดังกล่าวว่าตรงตามที่กำหนดเอาไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ผู้ซื้อเปิดเครดิตไว้หรือไม่ หากธนาคารตรวจสอบแล้วเห็นว่าเอกสารทั้งหมดตรงหรือสอดคล้องกับที่เลตเตอร์ออฟเครดิตกำหนดไว้ ธนาคารก็มีหน้าที่ชำระเงินให้กับผู้ขาย แต่หากเอกสารไม่ตรงหรือไม่สอดคล้องตามที่กำหนดไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิต ธนาคารของผู้ซื้อมีสิทธิปฏิเสธการชำระเงินได้ โดยธนาคารจะพิจารณาตามข้อกำหนดในสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีปฏิบัติตามที่ UCP กำหนด หลักปฏิบัติในการตรวจสอบเอกสารประกอบสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ไม่แน่นอน การตีความและความระมัดระวังในการตรวจสอบเอกสารประกอบสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยมีความแตกต่างกัน ดังนั้นประเทศไทยควรมีกฎหมายที่กำหนดกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนแน่นอนในการตรวจสอบเอกสารประกอบสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย โดยใช้แนวทางในการนำข้อกำหนดและกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารประกอบสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตในประเทศจีน ประเทศอังกฤษ และประเทศสหรัฐอเมริกามาใช้กับประเทศไทย ด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบเอกสารประกอบเลตเตอร์ออฟเครดิตของธนาคารพาณิชย์เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยเฉพาะหรือกำหนดเป็นมาตรฐานการปฏิบัติของสถาบันการเงิน โดยกำหนดหลักการตรวจสอบเอกสารประกอบเลตเตอร์ออฟเครดิตด้วยหลักการตรวจสอบเอกสารโดยเคร่งครัด (Strict Compliance) และกำหนดกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิต เพื่อเป็นแนวทางในการพิพากษาของศาลในกรณีมีข้อพิพาทเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารประกอบเลตเตอร์ออฟเครดิต โดยกำหนดศาลที่ใช้ตัดสินโดยเฉพาะเหมือนกับศาลจีน หรือใช้แนวคำพิพากษาเดิมเป็นกฎหมายที่ยึดถือปฏิบัติกันมาเหมือนกับศาลอังกฤษที่ยึดหลักการตรวจสอบเอกสารโดยเคร่งครัด หรือตีความโดยใช้กฏหมายเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยเฉพาะเหมือนกับศาลสหรัฐอเมริกาที่มีบทบัญญัติความรับผิดของธนาคารและใช้หลักการตรวจสอบเอกสารโดยเคร่งครัด เพื่อให้การตีความและความระมัดระวังในการตรวจสอบเอกสารประกอบสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยมีมาตรฐานและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อีกทั้งทำให้ผลของการตรวจสอบเอกสารประกอบสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตมีความแน่นอน ลดปัญหาที่เกิดจากการตีความเอกสารประกอบสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยที่แตกต่างกัน สร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้าในต่างประเทศ ส่งเสริมภาพลักษณ์ในการทำการค้าของผู้นำเข้าและส่งออกในประเทศไทย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างรายได้ให้กับประเทศในที่สุด
Description: เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64063
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2018.23
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2018.23
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6086214934.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.