Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64067
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อาร์ม ตั้งนิรันดร | - |
dc.contributor.author | มนสิชา จันทวิมล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2019-12-12T02:19:34Z | - |
dc.date.available | 2019-12-12T02:19:34Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64067 | - |
dc.description | เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 | en_US |
dc.description.abstract | ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งการพัฒนาของประเทศจีนนั้นเป็นการพัฒนาในหลาย ๆ ด้านไปพร้อม ๆ กันไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เช่น ระบบคมนาคม ระบบการขนส่ง ระบบการสื่อสาร และระบบการเงิน การพัฒนาด้านเทคโนโลยี และการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชากร เป็นต้น ทำให้ประเทศจีนก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นแผนยุทธศาสตร์หรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจีนยังเป็นสิ่งที่นานาประเทศจับตามอง อาทิเช่น ยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative - BRI) หรือ “一带一路” ซึ่งเป็นแนวคิดจากรัฐบาลยุคปัจจุบัน สี จิ้นผิง มีความมุ่งประสงค์เพื่อแสวงหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมและสร้างความเชื่อมโยงทางการค้าระหว่างประเทศจีนและประเทศต่าง ๆ ยุทธศาสตร์หลักฉบับนี้ทำให้ประเทศจีนได้ออกนโยบายซึ่งสนับสนุนการค้าขายกับต่างประเทศ อันได้แก่ “นโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน” ซึ่งเป็นนโยบายพิเศษเพื่อสนับสนุนให้เกิดการนำเข้าสินค้าในรูปแบบปลีกจากต่างประเทศสู่ผู้บริโภคชาวจีน โดยการสั่งซื้อผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนในประเทศจีนที่กำหนด และมีกฎเกณฑ์กฎระเบียบต่าง ๆ ตามนโยบายที่กำหนดไว้ เพื่อที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากการนำเข้า นอกจากนั้นในการกำหนดนโยบายในครั้งนี้ รัฐบาลประเทศจีนยังมีความมุ่งประสงค์ที่จะขจัดปัญหาการนำเข้าสินจ้าปลีกโดยการหลีกเลี่ยงภาษีจาก “ผู้รับหิ้ว” ซึ่งเป็นวิธีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ที่ชาวจีนได้ปฏิบัติเป็นจำนวนมากตั้งแต่ยุคที่มีการพัฒนาด้านการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตการนำเข้าด้วยวิธีดังกล่าวจะเป็นการนำสินค้าติดตัวกลับมายังประเทศจีน ไม่มีการสียภาษีอย่างถูกต้อง จึงเป็นอีกหนึ่งที่มาของการผลักดันนโยบายดังกล่าวโดยให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีและการผ่อนปรนมาตรการการนำเข้าให้ผู้ประกอบการต่างประเทศสามารถนำสินค้าของตนเข้าสู่ประเทศจีนได้อย่างง่ายขึ้น นโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนเป็นนโยบายที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการต่างประเทศ รวมถึงผู้ประกอบการไทย โดยเป็นทางเลือกใหม่ในการเข้าสู่ตลาดที่ยิ่งใหญ่ดังเช่นประเทศจีน ทั้งนี้นโยบายดังกล่าวมีกฎเกณฑ์หรือกฎระเบียบหลายข้อ รวมไปถึงสิทธิประโยชน์ ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะและใหม่สำหรับทุกฝ่ายทั้งผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือสำหรับประเทศจีนเองก็ตาม ในเอกัตศึกษาฉบับนี้ผู้ศึกษาจะศึกษาถึงสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากนโยบาย รวมไปถึงกฎเกณฑ์และกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งวิเคราะห์ถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากนำเข้าสินค้าภายใต้นโยบายดังกล่าว เพื่อชี้ให้เห็นว่าผู้ประกอบการไทยควรใช้โอกาสนี้อย่างไร เพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุดและเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจประเทศไทย | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2018.22 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | นโยบายเศรษฐกิจ | en_US |
dc.subject | กฎหมายพาณิชย์ -- จีน | en_US |
dc.subject | การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ | en_US |
dc.title | มาตรการการนำเข้าสินค้าผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนในประเทศจีน: โอกาสและปัญหาสำหรับผู้ประกอบการไทย | en_US |
dc.type | Independent Study | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | กฎหมายเศรษฐกิจ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | armtung@gmail.com | - |
dc.subject.keyword | เศรษฐกิจจีน | en_US |
dc.subject.keyword | การค้าระหว่างประเทศ | en_US |
dc.subject.keyword | ระบบขนส่ง | en_US |
dc.subject.keyword | พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ | en_US |
dc.subject.keyword | สิทธิประโยชน์ทางการค้า | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.IS.2018.22 | - |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6086219034.pdf | 770.14 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.