Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64069
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวุฒิพงษ์ ศิริจันทรานนท์-
dc.contributor.authorวรนาถ ตันตีศิริวิทย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-12-16T06:51:47Z-
dc.date.available2019-12-16T06:51:47Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64069-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561en_US
dc.description.abstractปัจจุบันประเทศไทยได้ลงนามอนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ และจากทุน (อนุสัญญาภาษีซ้อน) กับรัฐต่าง ๆ โดยละเว้นหลักวัตถุประสงค์สำคัญ (Principal Purpose Test) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยตรวจสอบกำไรของธุรกรรมข้ามชาติ ให้ประเทศแหล่งเงินได้ไม่สูญเสียผลประโยชน์จากการจัดเก็บภาษีจากการค้าระหว่างประเทศ เอกัตศึกษาเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาหาจุดสมดุลสำหรับการนำหลักการ Principal Purpose Test มาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ในอนุสัญญาภาษีซ้อนที่ร่วมลงนามกับรัฐต่าง ๆ ให้มากขึ้น รวมถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าร่วมเป็นภาคีในความตกลงระหว่างรัฐเรื่องของเครื่องมือพหุภาคี (MLI) โดยทำการศึกษาที่มาและความสำคัญของหลักการ Principal Purpose Test สำหรับกฎหมายภาษีระหว่างรัฐ ศึกษาหลักการ Principal Purpose Test ที่บังคับใช้ในต่างประเทศ วิเคราะห์ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบในการนำหลักการ Principal Purpose Test มาบังคับใช้ในประเทศไทย และศึกษามาตรฐานการบัญชีและการตรวจสอบบัญชีของประเทศไทยที่จะมารองรับให้การตรวจสอบกำไรของนิติบุคคลให้เป็นไปตามหลักการ Principal Purpose Test จากการศึกษาหลักการ Principal Purpose Test สามารถสรุปผลได้ว่าประเทศไทยสมควรพิจารณาความเป็นไปได้ในการปรับใช้หลักการ Principal Purpose Test เพื่อลดช่องโหว่การหลบเลี่ยงภาษีของนักลงทุนต่างประเทศ ป้องกันการใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนในทางที่ไม่ถูกต้อง (The Prevention of Treaty Abuse) และป้องกันการบิดเบือนการแข่งขันระหว่างธุรกิจภายในประเทศและธุรกิจบริษัทข้ามชาติ เพื่อความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีในประเทศไทยโดยยึดถือวัตถุประสงค์ในการเข้าทำธุรกรรมเป็นสาระสำคัญ เพื่อป้องกันและจำกัดสิทธิประโยชน์ภายใต้อนุสัญญาภาษีซ้อน โดยผู้เสียภาษีต้องสามารถชี้แจงและแสดงหลักฐานว่าการได้รับประโยชน์จากอนุสัญญาภาษีซ้อนนั้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาภาษีซ้อนอย่างแท้จริงen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2018.7-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษีซ้อนen_US
dc.subjectการเลี่ยงภาษีen_US
dc.subjectการวางแผนภาษีen_US
dc.titleประเทศไทยกับการปรับใช้วิธีการตรวจสอบกำไรของธุรกรรมข้ามชาติตามหลักวัตถุประสงค์สำคัญ (Principal Purpose Test)en_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.subject.keywordภาษีซ้อนen_US
dc.subject.keywordยกเว้นภาษีen_US
dc.subject.keywordเลี่ยงภาษีen_US
dc.subject.keywordการแข่งขันทางธุรกิจen_US
dc.subject.keywordการจัดเก็บภาษีen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2018.7-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60862229334.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.