Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64070
Title: | มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมธุรกิจบ้านพักและดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจร |
Authors: | วรัญธรณ์ สมลือชาชัย |
Advisors: | ทัชชมัย ทองอุไร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Tashmai.R@chula.ac.th |
Subjects: | ผู้สูงอายุ--ที่อยู่อาศัย การสูงวัยของประชากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในประเทศไทยปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หรือ Aging Society อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว โดยคาดการณ์ว่าในปี 2564 ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ หรือมีจำนวนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด และคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 ภายในปี 2574 หรือกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอดตามเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติ ธุรกิจบ้านพักและดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจร เป็นส่วนหนึ่งในมาตรการรองรับผู้สูงอายุของประเทศไทย ซึ่งโครงการที่รัฐบาลสนับสนุนยังไม่ครอบคลุมธุรกิจบ้านพักและดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจรที่เอกชนเป็นเจ้าของโครงการที่ดำเนินโครงการมาก่อนแล้วในระยะหนึ่ง อีกทั้งนโยบายทางภาษีที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอ ไม่ครอบคลุมธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุอีกด้วย เอกัตศึกษาเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาแนวความคิด ความเป็นมาของธุรกิจบ้านพักและดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจรในประเทศไทย ตลอดจนศึกษาแนวความคิด ความเป็นมาของธุรกิจบ้านพักและดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจรในประเทศออสเตรเลีย รวมถึงมาตรการทางภาษีเกี่ยวกับธุรกิจบ้านพักและดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจรในประเทศออสเตรเลีย เพื่อนำมาปรับใช้ในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับอาหารและสิ่งจำเป็นในการให้บริการขั้นพื้นฐานในธุรกิจบ้านพักและดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจรตามประมวลรัษฎากรมีความไม่เหมาะสมบางประการ ทำให้ค่าบริการของธุรกิจบ้านพักและดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจรมีราคาสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุที่ใช้บริการในธุรกิจบ้านพักและดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจร ทำให้ต้องชำระค่าบริการในราคาที่สูงขึ้น และส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงบริการในธุรกิจบ้านพักและดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจรของผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการดังกล่าวได้ จากความไม่เหมาะสมในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับอาหารและสิ่งจำเป็นในการให้บริการขั้นพื้นฐานในธุรกิจบ้านพักและดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจร ผู้เขียนได้เสนอแนวทางการแก้ไข โดยให้จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับอาหารและสิ่งจำเป็นในการให้บริการขั้นพื้นฐานในธุรกิจบ้านพักและดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจรในอัตราร้อยละ 0 ซึ่งจะทำให้อาหารและสิ่งจำเป็นในการให้บริการขั้นพื้นฐานในธุรกิจบ้านพักและดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจรปลอดภาระภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างแท้จริง เช่นเดียวกันกับประเทศออสเตรเลีย เมื่อต้นทุนค่าบริการลดลง เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับอาหารและสิ่งจำเป็นในการให้บริการขั้นพื้นฐานที่ใช้ในธุรกิจบ้านพักและดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจรในอัตราร้อยละ 0 แต่ค่าบริการอาจจะไม่ลดลง รัฐจึงควรมีมาตรการควบคุมราคา เกี่ยวกับราคาค่าบริการในธุรกิจบ้านพักและดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจร เพื่อให้ผู้ที่มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงบริการของธุรกิจบ้านพักและดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจรได้ง่ายขึ้น และเมื่อมีผู้ต้องการใช้บริการมากขึ้น จะดึงดูดให้มีผู้ประกอบการสนใจทำธุรกิจประเภทนี้มากขึ้นไปด้วย |
Description: | เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64070 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2018.32 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2018.32 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6086223534.pdf | 1.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.