Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64072
Title: | แนวทางในการนำค่าใช้จ่ายเงินบริจาคที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิเป็นยอดยกไปเพื่อหักค่าใช้จ่ายเงินบริจาคของประเทศไทย |
Authors: | วันวิสาข์ พาบุญ |
Advisors: | ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | supalakpp@hotmail.com |
Subjects: | ภาษีเงินได้ -- การหักลดหย่อน สิทธิประโยชน์ทางภาษี การหักลดหย่อนภาษี |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จากการศึกษาการใช้สิทธิประโยชน์เงินบริจาคในประเทศสิงคโปร์ พบว่ามีการให้สิทธิประโยชน์ในการนำเงินบริจาคที่ไม่สามารถใช้สิทธิในปีภาษีปัจจุบัน เนื่องมาจากมียอดเงินบริจาคมากกว่ารายได้ในปีภาษีเดียวกัน โดยสำนักงานสรรพากรสิงคโปร์มีการให้สิทธิประโยชน์โดยการนำเงินบริจาคดังกล่าวยกไปใช้ได้ภายใน 5 ปีภาษีถัดไป เนื่องมาจากประเทศสิงคโปร์มีนโยบายในการกระตุ้นให้ผู้เสียภาษีมีการช่วยเหลือสังคมโดยการบริจาค เมื่อทำการศึกษาการหักเงินบริจาคในประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร ที่มีเงื่อนไขในการปฏิบัติตามมาตรา 65 ตรี (3) และพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับที่เกี่ยวข้องโดยให้สิทธิในการหักเงินบริจาคเป็นจำนวน 2 เท่า แต่หักได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิก่อนหักค่าใช้จ่ายเงินบริจาคในปีภาษีที่เงินบริจาคเกิดขึ้นสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคล และหักได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่นก่อนหักลดหย่อนเงินบริจาคสำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา พบว่าการหักเงินบริจาคดังกล่าวไม่ได้เอื้อประโยชน์ต่อผู้เสียภาษี และยังส่งผลให้ไม่สามารถผลักดันให้ผู้เสียภาษีมีการบริจาคเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ขั้นตอนในการออกกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับการบริจาคของประเทศไทยนั้นจะเริ่มต้นจากมีมติคณะรัฐมนตรีออกมา โดยจะมีสถานะและผลทางกฎหมาย คือ การใช้อำนาจบริหารของคณะรัฐมนตรี ไม่มีสถานะเป็นกฎหมายตามแบบพิธีและไม่มีผลบังคับต่อประชาชน และในเวลาต่อมาถึงจะมีการออกพระราชกฤษฎีกา และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรตามลำดับ ซึ่งในการจะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับการการบริจาคที่ถูกต้องครบถ้วนตามหลักทางภาษีอากรนั้น ผู้เสียภาษีทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดเท่านั้น จากที่กล่าวมาข้างต้น สิทธิในการนำค่าใช้จ่ายเงินบริจาคที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิในปีปัจจุบันเป็นยอดยกไปเพื่อใช้สิทธิในอีก 5 ปีภาษีของประเทศสิงคโปร์นั้นเป็นการยึดตามหลักความแน่นอนและการประหยัดของสิทธิที่ผู้เสียภาษีทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาพึงมีจะได้รับสิทธิที่เกิดจากความเสียสละเงินหรือทรัพย์สินต่างๆเพื่อบริจาคให้กับองค์การที่ได้รับการอนุมัติให้เป็นหน่วยงานที่มีการให้ความช่วยเหลือกับสังคม และเพื่อเป็นประโยชน์และลดภาระของรัฐบาลในการที่จะทำให้ประเทศพัฒนาในด้านต่างๆต่อไปได้อย่างต่อเนื่องจึงควรนำมาปรับใช้กับกฎหมายของประเทศไทย |
Description: | เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64072 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2018.27 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2018.27 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6086226434.pdf | 652.39 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.