Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64073
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศุภลักษณ์ พินิจภูวดล-
dc.contributor.authorวิศรุต กิจสุขจิต-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-12-16T08:19:41Z-
dc.date.available2019-12-16T08:19:41Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64073-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561en_US
dc.description.abstractประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินหลายฉบับ ซึ่งปัจจุบันมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยวิธีการประเมินมูลค่าที่แตกต่างจากวิธีการเดิมคือการใช้มูลค่าประเมินโดยกรมธนารักษ์ และมีวิธีการบรรเทาภาระภาษีในส่วนของการลดอัตราภาษีและการยกเว้นภาษีเพื่อบรรเทาภาระสำหรับที่อยู่อาศัยและเกษตรกรรม อย่างไรก็ตามหลักเกณฑ์ ในการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นยังมีความไม่เหมาะสมในหลายประการ เอกัตศึกษาเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาปัญหาจากการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนเพื่อศึกษากฎหมายของประเทศฟิลิปปินส์และประเทศสหรัฐอเมริกา (มลรัฐนิวยอร์ค) ที่มีการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินในประเทศ และมาตรฐานบัญชีที่เกี่ยวข้องเพื่อนำแนวทางและแนวคิดต่างๆมาปรับใช้ เพื่อเป็นการพัฒนาแนวทางการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของประเทศไทย โดยงานศึกษาเล่มนี้จัดทำขึ้นโดยอาศัยการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ซึ่งเป็นทั้งเอกสารข้อมูลในประเทศและต่างประเทศเป็นสำคัญ จากการศึกษาผู้เขียนพบว่า การจัดเก็บภาษีทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่นั้น ขาดเความเหมาะสมในด้านการใช้วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาในการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน รวมทั้งการขาดความชัดเจนของการบรรเทาภาระภาษี ตลอดจนขาดการคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงมูลค่าทรัพย์สินจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อภาระภาษีที่ผุ้มีหน้าที่เสียภาษีต้องแบกรับ ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นผู้ถือครองทรัพย์สิน รวมไปถึงภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่ต้องถือครองทรัพย์สินเพื่อดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ อย่างไรก็ตาม จากประเด็นปัญหาดังกล่าวข้างต้น วิธีการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างควรนำหลักเกณฑ์ การคำนวณค่าเสื่อมราคาตามมาตรฐานการบัญชีมาปรับใช้กับวิธีการประเมินมูลค่าของกรมธนารักษ์ และปรับปรุงวิธีการจัดเก็บภาษีบางส่วนไม่ว่าจะเป็นการบรรเทาภาระภาษีและการปรับปรุงมูลค่าด้วยระดับการประเมิน โดยนำหลักวิธีการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของทั้งประเทศฟิลิปปินส์และประเทศสหรัฐอเมริกา (มลรัฐนิวยอร์ค) มาปรับใช้ อีกทั้งควรศึกษามุมมองภาษีทรัพย์สินอื่นๆ เช่น การลดหย่อนเพื่อการพัฒนาประเทศ หรือการลดหย่อนเฉพาะบุคคล ซึ่งอาจนำมาปรับใช้และเป็นการพัฒนาการจัดเก็บภาษีในประเทศไทยต่อไปen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2018.37-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษีที่ดินen_US
dc.subjectภาษีทรัพย์สินen_US
dc.subjectการจัดเก็บภาษีen_US
dc.titleปัญหาการรับภาระภาษีจากการประเมินมูลค่าทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsupalakpp@hotmail.com-
dc.subject.keywordภาษีที่ดินen_US
dc.subject.keywordการยกเว้นภาษีen_US
dc.subject.keywordการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินen_US
dc.subject.keywordการลดหย่อนภาษีen_US
dc.subject.keywordสิ่งปลูกสร้างen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2018.37-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6086228734.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.