Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64078
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สันติ ภัยหลบลี้ | - |
dc.contributor.author | ณัฐวัฒน์ วัดวิเศษ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2019-12-18T01:20:54Z | - |
dc.date.available | 2019-12-18T01:20:54Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64078 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560 | en_US |
dc.description.abstract | หมู่เกาะฟิลิปปินส์ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกระหว่างแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียและแผ่นทะเลฟิลิปปินส์ ทำให้ธรณีแปรสัณฐานของหมู่เกาะฟิลิปปินส์รวมไปถึงพื้นที่ข้างเคียงมีความซับซ้อน และถือเป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวที่มีพฤติกรรมการเกิดที่รุนแรงและส่งผลด้านพิบัติภัยแก่ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษากลไกการเกิดแผ่นดินไหวตามเขตมุดตัวของเปลือกโลก หมู่เกาะฟิลิปปินส์ โดยใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลแผ่นดินไหวจากหน่วยงาน Global Centroid Moment Tensor ซึ่งบันทึกได้ในอดีตจำนวน 3,144 เหตุการณ์ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2519 ถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2560 มีระดับความลึกของจุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวอยู่ในช่วง 5–644 กิโลเมตร ในการศึกษานี้ผู้วิจัยแบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ชุด ตามสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานที่สัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหว ได้แก่ 1) แผ่นดินไหวที่เกิดระหว่างขอบการชนกันของแผ่นเปลือกโลก 2) แผ่นดินไหวที่เกิดบริเวณแผ่นที่มุดลงไปในชั้นเนื้อโลก ซึ่งในแต่ละสภาพแวดล้อม ผู้วิจัยศึกษาการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของกลไกการเกิดแผ่นดินไหว 3 ตัวแปรคือ 1) ค่าการวางตัว 2) ค่ามุมเท 3) มุมคาย ผลการศึกษาสรุปว่าในกรณีแผ่นดินไหวที่เกิดระหว่างขอบการชนกันของแผ่นเปลือกโลก พื้นที่ด้านตะวันตกและตะวันออกมีการเลื่อนตัวแบบรอยเลื่อนย้อน ส่วนพื้นที่ตอนกลางเป็นการเลื่อนตัวในแนวระดับชนิดซ้ายเข้า รอยเลื่อนและกลุ่มรอยเลื่อนส่วนใหญ่มีค่าการวางตัว 170 ถึง 190 องศา ในแนวเหนือ - ใต้ และมุมเท 45 องศา ซึ่งกลไกการเกิดแผ่นดินไหวสามารถประเมินความเสี่ยงของการเกิดพิบัติภัยสึนามิได้ โดยพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงคือบริเวณร่องลึกก้นสมุทรฟิลิปปินส์ ส่วนในกรณีแผ่นดินไหวที่เกิดบริเวณแผ่นที่มุดลงไปในชั้นเนื้อโลก รอยเลื่อนส่วนใหญ่ในพื้นที่มีการเลื่อนตัวแบบรอยเลื่อนย้อน มีค่าการวางตัว 170 ถึง 180 องศา ในแนวเหนือ – ใต้ มุมเท 40 ถึง 45 องศา โดยผลที่ได้เป็นประโยชน์ในการศึกษาแบบจำลองการเลื่อนตัวของเขตมุดตัว | en_US |
dc.description.abstractalternative | The Philippines is located in the vicinity of tectonic subduction zone between the Eurasian and the Philippine sea plates. Therefore, the tectonics of Philippines as well as neighboring areas, are complex. As a result, it is the source of severe earthquakes and cause catastrophic events in Southeast Asia. The purpose of this study is to evaluate the patterns of faulting mechanism along the subduction zone, Philippine Islands by using 3,144 earthquake events recorded systematically during February 15, 1976 to April 30, 2017 from Global Centroid Moment Tensor. The depth of the epicenter of the earthquakes were 5-644 km. In case study, the obtained earthquake data were divided into two sets, according to seismotectonic setting ; 1) Interplate earthquake 2) Intraslab earthquake. In each focal dataset, spatial distribution of fault plane determination were investigated statistically, i.e., 1) strike 2) dip, including 3) rake. The study concluded that in case of interplate earthquake, the west and east of areas show fault plane dimension of thrust faults. Faulting of central area express left lateral strike–slip faults. Most strike directions are 170 to 190 degrees in the north-south. Dip angles illustrates 45 degree. The earthquake mechanism can detect the risk of a tsunami. The high risk areas is Philippines trench. In the event of intraslab earthquake, most area has many thrust faults. Strike rate has been 170 -180 degree in the north-south direction. Dip angles are 40 – 45 degree. The results are useful in studying the sliding model in intraslab plate. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | แผ่นดินไหว -- ฟิลิปปินส์ | en_US |
dc.subject | โลก -- เปลือก | - |
dc.subject | การเคลื่อนไหวของโลก | - |
dc.subject | Earthquakes -- Philippines | - |
dc.subject | Earth movements | - |
dc.subject | Earth (Planet) -- Crust | - |
dc.title | กลไกการเกิดแผ่นดินไหวตามเขตมุดตัวของเปลือกโลก หมู่เกาะฟิลิปปินส์ | en_US |
dc.title.alternative | Focal mechanism along the subduction zone, Philippines Islands | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.email.advisor | Santi.Pa@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Senior_project_Natthawat Watwisase.pdf | 3.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.