Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64081
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัคนีวุธ ชะบางบอน-
dc.contributor.advisorสันติ ภัยหลบลี้-
dc.contributor.authorภัสวิทย์ ณ ป้อมเพชร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-12-18T03:14:34Z-
dc.date.available2019-12-18T03:14:34Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64081-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560en_US
dc.description.abstractพื้นที่ที่ถูกปิดล้อมด้วยคูน้ำโบราณ หรือเมืองที่มีคูน้ำโบราณ คือพื้นที่เพื่ออยู่อาศัยโดยมีโครงสร้างของคูน้ำ เพื่อการจัดการน้ำ ถึงแม้ว่าจุดประสงค์ในการสร้างคูน้ำขึ้นมายังไม่สามารถสรุปได้เนื่องจากตัวแปรที่หลากหลายอีก ทั้งงานศึกษาอย่างละเอียดค่อนข้างน้อย โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีการใช้ภาพถ่ายจาก ดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ และการขุดค้น เหล่านี้นำมาซึ่งข้อมูลการมีอยู่ของเมืองที่มีคูน้ำโบราณทั้งหมด 297 แห่ง โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์หลักที่จะศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของเมืองที่มีคูน้ำโบราณทั้ง 297 แห่งในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย คือ 1) รูปร่าง 2) ความสมมาตร 3) ทิศทางการวางตัว 4) ขนาดพื้นที่ 5) ความกว้าง 6) ความยาว 7) ความสูงของเนินดิน 8) การมีอยู่ของคูน้ำโบราณ 9) การมีแม่น้ำเป็นส่วนหนึ่งของคูน้ำ โบราณ 10) ระดับการถูกรุกล้ำโดยชุมชนในปัจจุบัน ผ่านการสำรวจด้วยสายตาโดยข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม และใช้เครื่องมือทางภูมิสารสนเทศ (GIS) ต่าง ๆ เพื่อช่วยในการเก็บข้อมูล นำข้อมูลทั้งหมดที่ได้จัดทำเป็น ฐานข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานของเมืองที่มีคูน้ำโบราณทั้ง 297 แห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จากฐานข้อมูลที่ได้มาพบว่า 1) ข้อมูลรูปร่าง ความสมมาตร ขนาดของพื้นที่ ความกว้าง และความยาวนั้นไม่มี แนวโน้มไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งอย่างชัดเจน ซึ่งคาดว่าเกิดจากที่โครงสร้างคูน้ำโบราณ และชุมชนเหล่านี้ มี อิทธิพลในการสร้างจากมาจากตัวแปรทางธรรมชาติ เช่น ภูมิประเทศที่เป็นเนินดิน 2) ข้อมูลทิศทางการวางตัว พบว่ามีแนวโน้มในการวางตัวอยู่ในแนวทิศ เหนือ-ใต้ และตะวันออก-ตะวันตก และแนวโน้มที่น่าสนใจสำหรับเมือง ที่มีคูน้ำโบราณรูปร่างสี่เหลี่ยม 3) ข้อมูลการรุกล้ำพื้นที่โดยชุมชนปัจจุบันของเมืองที่มีคูน้ำโบราณในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พบว่ามีระดับการถูกรุกล้ำพื้นที่ในระดับที่สูงอย่างมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง การขยายตัวอย่างรวดเร็วของสังคมเมืองปัจจุบัน นอกเหนือจุดประสงค์ของโครงการนี้ผู้ทำโครงการต้องการจุด ประเด็นให้การศึกษาเมืองที่มีคูน้ำโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเป็นที่สนใจมากขึ้น เพราะ การศึกษาอย่างละเอียดในแต่ละพื้นที่ยังคงมีน้อยเนื่องด้วยงบประมาณ เวลา และข้อจำกัดทางด้านบุคลากรen_US
dc.description.abstractalternativeMoated area or moated site is a household area which has a water management structure. Even its purposes are still mystery due to its too much variation and lack of study. By using aerial photo, geographic information system, and long-term excavation lead us to a distribution of 297 moated sites in the Northeastern Thailand. The main purposes of this study is making a 297 moated site in the northern east Thailand general database for anyone who interested in this subject in the future including 1) geometry 2) symmetry 3) orientation 4) size of area 5) width 6) length 7) mound height 8) existence of moat 9) having river as a part of moat 10) spatial encroachment by observing a satellite image and using GIS tools for data investigation. And the database conveys us some interesting trends consisting of 1) geometry, symmetry, size of area, width, length data sets have no strong spatial trend. These data sets might depend on a natural factor such as geography and topography, and 2) orientation data set. Circle and oval shape depicts us a North-South orientation and rectangle shape shows us some sceptical trends comprising of heading to nearest temple, Phimai temple and Angkor Wat. 3) spatial encroachment of moated site and moat area data set depicts a seriously high level of encroachment throughout the Northeastern Thailand which means urban area is expanding and growing rapidly. Furthermore, aside the purposes of this study, the author would like to amplify moated site issue for more interests due to the lack of excavations in individual moated site and limits of budget and human resource.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)en_US
dc.subjectGeographic information systems -- Thailand, Northeasternen_US
dc.titleการวิเคราะห์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสถิติของเมืองที่มีคูน้ำโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย : รูปทรงและการวางตัวen_US
dc.title.alternativeGeographic information system and statistical analysis of ancient moated site in the northeastern Thailand : geometry and orientationen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisorAkkaneewut.C@Chula.ac.th-
dc.email.advisorSanti.Pa@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Senior_project_Passawit_na_Pompetch.pdf127.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.