Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64082
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสันติ ภัยหลบลี้-
dc.contributor.authorปีย์วรา มักการุณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-12-18T04:10:50Z-
dc.date.available2019-12-18T04:10:50Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64082-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560en_US
dc.description.abstractโครงงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวในอนาคตตามรอยเลื่อนย้อนแนวกลางหลัก เทือกเขาหิมาลัย ด้วยวิธีคำนวณการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหวสะเทือน (Z value) โดยใช้ฐานข้อมูลแผ่นดินไหวจากฐานข้อมูลแผ่นดินไหว International Seismological Center (ISC) ซึ่งใช้ข้อมูลแผ่นดินไหวที่ถูกบันทึกตั้งแต่ปี ค.ศ 1905 ถึง 2014 ในกรอบพื้นที่ศึกษา ละติจูดที่ 17.81 ถึง 42.27 องศาเหนือ ลองจิจูดที่ 63.39 ถึง 102.72 องศาตะวันออก โดยหลังจากปรับปรุงคุณภาพฐานข้อมูลแผ่นดินไหว พบว่ามีข้อมูลแผ่นดินไหวทั้งสิ้น 11,457 เหตุการณ์ ซึ่งมีขนาดแผ่นดินไหวในช่วง 2.4 ถึง 8.6 mb ที่มีความสมบูรณ์และสามารถสื่อถึงพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวอย่างแท้จริง ทำการกำหนดกรณีศึกษาทั้งหมด 15 กรณี โดยคัดเลือกแผ่นดินไหวที่มีขนาด 6.0 mb ขึ้นไป เมื่อทาการทดสอบย้อนกลับพบว่าเงื่อนไขที่มีจำนวนเหตุการณ์ในรัศมี 25 เหตุการณ์ ที่มีกรอบเวลา 2 ปี ในรัศมีการพิจารณาข้อมูล 300 กิโลเมตร เป็นเงื่อนไขที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำแผนที่การกระจายตัวของค่า Z เพื่อตรวจสอบบริเวณที่พบภาวะเงียบสงบ ซึ่งจากเงื่อนไขดังกล่าว ผลการศึกษาสามารถประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวในอนาคตได้ 5 บริเวณ ได้แก่ 1) บริเวณตะวันออกของแนวเทือกเขาหิมาลัยในประเทศจีน 2) บริเวณตะวันตกของแนวเทือกเขาหิมาลัยบริเวณรอยต่อระหว่างประเทศจีนและอินเดีย 3) บริเวณตอนเหนือของแนวเทือกเขาหิมาลัยในประเทศจีน 4) บริเวณตอนใต้ของประเทศปากีสถานติดกับประเทศอินเดีย และ 5) บริเวณตะวันตกของประเทศอินเดียติดกับทะเลอาหรับen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study prospective areas of the upcoming moderate to large earthquake were evaluated of the main central thrust, Himalaya by using statistical method that investigates the seismicity rate change for detect seismic quiescence. The earthquake catalogues come International Seismological Center (ISC) those were reported from 1905 to 2014 at latitude of 17.81 to 42.27 °N longitude of 63.39 to 102.72 °E. After improving the earthquake catalogue process, the dataset left 11,457 events with 2.4-8.6 mb. We chose earthquake events that represent our case study for 15 cases which the mb more than 6.0 magnitude. After the retrospective test, we found 13 quiescence-anomaly areas for N = 25 events and TW= 2.0 years are appropriate characteristic parameter to analyse the spatial distribution of Z value maps. Consequently, based mainly on the obtained suitable parameter of N and Tw and the most up-to-date seismicity data, the seismic quiescence maps reveal that there are 5 prospective areas might be risk for the upcoming moderate-large earthquakes, i.e., 1) Eastern Himalayan range in China, 2) Western Himalayan range between China and India, 3) Northern Himalayan range in China, 4) Southern of Pakistan near India, and 5) Western of India near Arabian Sea.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectแผ่นดินไหว -- เทือกเขาหิมาลัยen_US
dc.subjectพยากรณ์แผ่นดินไหว -- เทือกเขาหิมาลัยen_US
dc.subjectEarthquakes -- Himalayaen_US
dc.subjectEarthquake prediction -- Himalayaen_US
dc.titleการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหวสะเทือนตามรอยเลื่อนย้อนแนวกลางหลัก เทือกเขาหิมาลัยen_US
dc.title.alternativeSeismicity rate change along the main central thrust, Himalayaen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisorSanti.Pa@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Senior_project_Peewara Makkaroon.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.