Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64083
Title: Seismic interpretation of cretaceous petroleum source rocks in Taranaki basin, New Zealand
Other Titles: การแปลความหมายคลื่นไหวสะเทือนของหินต้นกำเนิดปิโตรเลียมยุคครีเทเชียสใน แหล่งทารานากิ ประเทศนิวซีแลนด์
Authors: Natcharphol Charnsiri
Advisors: Piyaphong Chenrai
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Advisor's Email: Piyaphong.C@Chula.ac.th
Subjects: Gas reservoirs -- New Zealand
Sandstone
Seismic waves
Taranaki basin (New Zealand)
แหล่งกักเก็บก๊าซ -- นิวซีแลนด์
หินทราย
คลื่นไหวสะเทือน
แอ่งทารานากิ (นิวซีแลนด์)
Issue Date: 2017
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: Source rock sequences that were deposited in the Late Cretaceous period are proved to be responsible for tremendous amount of petroleum found in Taranaki Basin, New Zealand, the only basin that contains commercial reserves, but these sequences have yet been studied much about their potentials in deepwater area. In this study, 2D seismic data in the deepwater area were used to find their distributions and were interpreted their seismic reflection characteristics. Two potential source rock sequences have been recognized; Rakopi sequence, one of the main source rocks in Taranaki Basin, and Syn-rift sequence the sequence which lacks the studies about their potentials. By analyzing the seismic reflection characteristics such as seismic reflection amplitude, seismic terminations, and seismic configurations, depositional environments, sediments deposited at that time, and their source rock potentials are acquired. Rakopi sequence’s seismic reflection characteristics suggest the deposition in fluctuated sea levels deltaic environment that have capabilities to provide a large amount of terrestrial origin source rocks. Syn-rift sequence’s characteristics on the other hand, suggest the rapid deposition by high-density turbidity current which possibly resulted in preservation of source rocks as well.
Other Abstract: ชุดลำดับชั้นหินต้นกำเนิดที่สะสมตัวในยุคครีเทเชียสตอนปลายถูกพิสูจน์แล้วว่าให้ปิโตรเลียม ปริมาณมากแก่แอ่งทารานากิ ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นแอ่งเดียวเท่านั้นที่ให้ปริมาณปิโตรเลียมที่ คุ้มค่าเชิงพาณิชย์ในประเทศ แต่ถึงอย่างนั้นการศึกษาเกี่ยวกับชุดลำดับชั้นหินเหล่านี้ในบริเวณพื้นที่ น้ำลึกของแอ่งยังไม่มีการศึกษาอย่างกว้างขวางนัก ในงานศึกษานี้ข้อมูลคลื่นไหวสะเทือนแบบสะท้อน แบบสองมิติในบริเวณพื้นที่น้ำลึกถูกใช้เพื่อหาการกระจายตัวของชุดลำดับชั้นหินเหล่านี้และเพื่อแปล ความหมายลักษณะต่างๆ ของคลื่นไหวสะเทือนแบบสะท้อน มีชุดลำดับชั้นหินสองชุดที่มีศักยภาพใน การเป็นชั้นหินต้นกำเนิดปิโตรเลียม นั่นคือชุดลำดับชั้นหินราโคปิ (Rakopi) ที่เป็นหนึ่งในชั้นหินต้น กำเนิดปิโตรเลียมหลักของแอ่งทารานากิ และชุดลำดับชั้นหินที่ตกสะสมตัวไปพร้อมกับการเปิดแอ่ง (Syn-rift sediment) ที่ยังต้องการการศึกษาอีกมากเกี่ยวกับศักยภาพการเป็นหินต้นกำเนิด ปิโตรเลียม จากการวิเคราะห์ลักษณะต่างๆของคลื่นไหวสะเทือนแบบสะท้อน เช่น แอมพลิจูดของ คลื่นไหวสะเทือน (Seismic reflection amplitude) จุดสิ้นสุดของคลื่นไหวสะเทือน (Seismic reflection termination) และรูปแบบการจัดเรียงตัวของคลื่นไหวสะเทือน (Seismic reflection configuration) ทำให้ได้สภาพแวดล้อมการสะสมตัว ลักษณะของตะกอนที่สะสมตัว และศักยภาพใน การเป็นชั้นหินต้นกำเนิดปิโตรเลียม คุณลักษณะต่างๆ ของคลื่นไหวสะเทือนแบบสะท้อนของชุดลำดับ ชั้นหินราโคปิ บ่งบอกถึงการสะสมตัวในสภาพแวดล้อมแบบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้าที่มีการผัน ผวนของระดับน้ำทะเล ซึ่งมีศักยภาพในการให้ชั้นหินต้นกำเนิดปิโตรเลียมที่มีต้นกำเนิดมาจากบนบก ในปริมาณมาก ส่วนคุณลักษณะของชุดลำดับชั้นหินที่ตกสะสมตัวไปพร้อมกับการเปิดแอ่งนั้นบ่งบอก ถึงการสะสมตัวอย่างรวดเร็วโดยกระแสความขุ่น (Turbidity current) ที่อาจจะส่งผลให้เกิดการเก็บ รักษาของชั้นหินต้นกำเนิดได้เช่นกัน
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64083
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Senior_project_Natcharphol Charnsiri.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.