Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64093
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฐาสิณีย์ เจริญฐิติรัตน์-
dc.contributor.authorฐานันตร์ สูนย์สาทร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-12-18T09:36:13Z-
dc.date.available2019-12-18T09:36:13Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64093-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560en_US
dc.description.abstractธรณีวิทยาบริเวณดอยพระธาตุม่วงคำ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ประกอบด้วยหินเพียง 2 ชนิด คือ หินภูเขาไฟยุคเพอร์โม-ไทรแอสสิกในทางตอนเหนือ และหินตะกอนเนื้อปูนของหมวดหินพระธาตุ กลุ่ม หินลำปางในทางตอนใต้ จากการศึกษาธรณีวิทยาในรายละเอียด เก็บตัวอย่าง 86 จุดศึกษา รวมทั้งสิ้น 250 ตัวอย่าง เพื่อนำมาศึกษาซากดึกดาบรรพ์และศิลาวรรณนาของหินตะกอนภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ซึ่ง ผลจากการศึกษาทำให้สามารถกำหนดขอบเขตหินบริเวณพื้นที่ศึกษาได้ ซึ่งประกอบด้วย 1) หินภูเขาไฟ ยุคเพอร์โม-ไทรแอสสิก 2) หินปูนของหมวดหินห้วยทาก ในกลุ่มหินงาว อายุเพอร์เมียนตอนปลาย 3) หิน ตะกอนเนื้อปูนและ 4) หินปูนยุคไทรแอสสิกของหมวดหินพระธาตุและผาก้าน ในกลุ่มหินลำปาง ตามลำดับ การศึกษาศิลาวรรณนาของหินปูนยุคเพอร์เมียนของหมวดหินห้วยทาก พบว่าประกอบด้วย หินดินดานที่มีฟอสซิลเรดิโอลาเรีย และหินปูนจาพวกไครนอยด์-ไบรโอซัวแพคสโตน คาดว่า สภาพแวดล้อมโบราณน่าจะเป็นบริเวณพื้นทะเล (basin floor) โดยมีบล็อคของหินปูนที่มีไครนอยด์-ไบร โอซัว ถูกพัดพามาจากที่ตื้นกว่ามาสะสมตัวร่วมกัน ส่วนสภาพแวดล้อมโบราณของหมวดหินพระธาตุและ ผาก้านยุคไทรแอสสิกนั้น คาดว่าน่าจะสะสมตัวบริเวณทะเลตื้นมากและค่อยๆเปลี่ยนเป็นทะเลสาบน้ำเค็ม (lagoon) เพราะพบตะกอนพลัดถิ่นร่วมกับเศษเปลือกหอยสองฝาในหมวดหินพระธาตุ และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นออนคอยด์ ไมโครเบียล และหินปูนเนื้อละเอียดในหมวดหินผาก้านen_US
dc.description.abstractalternativeGeology around Doi Phra That Wat Moung Kham, Mueng district, Lampang province is composed of Permo-Triassic volcanic rock in the north and Early Triassic calcareous sedimentary rock, Phra That Formation, Lampang group in the south. 250 samples were collected in order to study fossils and sedimentary structures under microscope. The detail geology can be divided into 1) Permo-Triassic volacanic rock 2) Late Permian Limestone of Huai Thak Formation, Ngao group 3) calcareous sedimentary rock of Phra That Formation, Lampang group 4) Triassic Limestone of Pha Khan Formation, Lampang group. Petrography investigation of Permian Limestone, Huai Thak Formation found radiolarian in shale and crinoid-bryozoa packstone. The paleoenvironment might be a basin floor with blocks of crinoid-bryozoa packstone which were transported and accumulated together. The paleoenvironment of Triassic Phra That and Pha Khan Formation might be accumulated in very shallow marine and gradually changed to be a lagoon environment. The supported evidences are terrigenous with bivalve fragments of Phra That Formation then changing to be oncoid, microbial and fine-grained limestone in Pha Khan Formation.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectธรณีวิทยา -- ดอยพระธาตุม่วงคำ (ลำปาง)en_US
dc.subjectGeology -- Doi Phra That Moung Kham (Lampang)en_US
dc.titleธรณีวิทยาขั้นรายละเอียดบริเวณดอยพระธาตุม่วงคำ อำเภอเมือง จังหวัดลำปางen_US
dc.title.alternativeDetailed geology at Doi Phra That Moung Kham, Mueng district, Lampang provinceen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisorThasinee.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
senior_project_Thanan Soonsathorn.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.