Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64094
Title: การประเมินคุณภาพของน้ำบาดาลในแอ่งน้ำบาดาลระยองโดยใช้ดัชนีคุณภาพน้ำ และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
Other Titles: Assessment of groundwater quality in Rayong groundwater basin using WQI and GIS
Authors: อัญญมุขย์ เตียวปิยกุล
Advisors: ศรีเลิศ โชติพันธรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Srilert.C@Chula.ac.th
Subjects: น้ำบาดาล -- คุณภาพ
คุณภาพน้ำ
ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
Groundwater -- Quality
Water quality
Geographic information systems
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในพื้นที่ที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูง อย่างจังหวัดระยองและจังหวัดชลบุรี ที่มีการขยายพื้นที่อุตสาหกรรมและชุมชนเมือง ทำให้ความต้องการใช้น้ำสะอาดมีมากเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ข้อมูลคุณภาพของน้ำบาดาลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้น้ำบาดาลในการบริโภค โดยงานศึกษานำน้ำข้อมูลผลการวิเคราะห์ธรณีเคมีของน้ำบาดาลในแอ่งน้ำบาดาลระยองทั้งหมด 69 ตัวอย่าง ที่เก็บข้อมูลจำนวน 2 ชุด ได้แก่ ข้อมูลที่ตรวจวัดในช่วงหน้าฝนและหน้าแล้ง จากนั้นนำมาหาความสัมพันธ์ระหว่างพารามิเตอร์ในน้ำบาดาลแต่ละชนิด ด้วยวิธีการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (CA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (PCA) โดยทำการแยกชั้นน้ำออกเป็น 2 ชั้นน้ำ ได้แก่ 1) ชั้นน้ำในหินแข็ง (หินแกรนิต) และ 2) ชั้นน้ำในหินร่วน แล้วนำข้อมูลมาทำการประเมินค่าดัชนีคุณภาพน้ำ (Water Quality Index) โดยใช้พารามิเตอร์ทั้งหมด 21 ชนิด ได้แก่ ค่าความนำไฟฟ้า (EC) ค่า pH แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) โซเดียม (Na) โพแทสเซียม (K) เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) คลอไรด์ (Cl) ฟลูออไรด์ (F) ไบคาร์บอเนต (HCO3) ซัลเฟต (SO4) ไนเตรต (NO3) สารหนู (As) แคดเมียม (Cd) โครเมียม (Cr) ทองแดง (Cu) ปรอท (Hg) นิกเกิล (Ni) ตะกั่ว (Pb) และสังกะสี (Zn) และนำมาสร้างแผนที่ดัชนีคุณภาพน้ำบาดาล พบว่าน้ำบาดาลในชั้นหินร่วนมีคุณภาพต่ำกว่าน้ำบาดาลในชั้นหินแข็งโดยเฉพาะในหน้าฝนที่จะมีคุณภาพน้ำบาดาลต่ำกว่าในหน้าแล้ง และจากการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (CA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (PCA) พบว่าไอออนบางชนิด อาทิ ไอออนของแคลเซียม คลอไรด์ ซัลเฟต โพแทสเซียม และแมกนีเซียม มีความสัมพันธ์ในทางส่งเสริมกันอย่างมาก และค่าดัชนีคุณภาพน้ำ(WQI) ที่มีความสัมพันธ์กับไอออนของโลหะหนัก โดยเฉพาะสารหนู ที่ส่งผลต่อค่าดัชนีคุณภาพน้ำมากในหน้าฝน
Other Abstract: In areas with high economic growth, Rayong has continuously expanded industrial and urban areas and demand of fresh water has been increasing. The groundwater quality is an essential information the groundwater installation to supply water, especially drinking water, to local resident. In this study, the hydrogeochemical data of groundwater analysis from 69 groundwater samples were collected to assess the groundwater quality in Rayong groundwater basin during the rainy and summer seasons. Then, the relationship between hydrogeochemical parameters was analyzed by using the correlation analysis (CA) and principle component analysis (PCA). Based on hydrogeological characteristics, the aquifers can be separated into 2 aquifers: 1) consolidated rocks (Granite) and 2) unconsolidated rocks. By calculating the WQI, the following 21 parameters have been considered: EC, pH, calcium (Ca), magnesium (Mg), sodium (Na), potassium (K), iron (Fe), manganese (Mn), chloride (Cl), fluorides (F), bicarbonate (HCO3), sulfate (SO4), nitrate (NO3), arsenic (As), cadmium (Cd), chromium (Cr), copper (Cu), mercury (Hg), nickel (Ni), lead (Pb) and zinc (Zn) and then the results of analyses have been used to create the map of groundwater quality. The map revealed that groundwater quality in the unconsolidated aquifer appeared to be lower index than those in the consolidated aquifer, especially in the rainy season. Moreover, the WQI in groundwater in rainy season was greater than that in summer season. According to CA and PCA, the strong positive relationship was found between several water parameters such as Ca, Cl, SO42-, K and Mg. Finally, the WQI value was correlated with heavy metals in both aquifers, especially As in rainy seasons.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64094
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Senior_project_Unyamook Tiewpiyakul.pdf4.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.