Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64130
Title: การสกัดน้ำมันจากเมล็ดยางพาราด้วยเครื่องอัดสกรูเดี่ยวและคาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤต
Other Titles: Extraction of Para rubber seed oil by single screw press and supercritical carbon dioxide
Authors: กาญจนา อั๋งสกุล
จุฑามาศ วะสมบัติ
Advisors: สมเกียรติ งามประเสริฐสิทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Somkiat.N@Chula.ac.th
Subjects: น้ำมันเมล็ดยางพารา
แกสโครมาโตกราฟี
Para rubber seed oil
Gas chromatography
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เมล็ดยางพารามีน้ำมันเป็นองค์ประกอบอยู่ร้อยละ 40 ถึง 50 โดยน้ำหนัก มีกรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวอยู่ร้อยละ 83.70 และ 15.61 ตามลำดับ ในปัจจุบันน้ำมันจากเมล็ดยางพาราถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมยาง อุตสาหกรรมเคลือบผิว และผลิตเป็นไบโอดีเซล เป็นต้น การสกัดน้ำมันจากเมล็ดยางพาราใช้วิธีบีบอัดด้วยเครื่องอัดสกรูเกลียว เนื่องจากเป็นวิธีที่ใช้ง่ายและเวลาในการสกัดน้อย แต่ในระหว่างการสกัดอาจเกิดอุณหภูมิสูงทำให้ไปทำลายองค์ประกอบของน้ำมันและมีน้ำมันเหลืออยู่ในกากมาก การสกัดด้วยตัวทำละลายด้วยวิธีซอกห์เลตเป็นอีกหนึ่งวิธีที่นำมาใช้สกัดน้ำมันจากเมล็ดยางพาราเพราะให้ร้อยละผลได้สูง อย่างไรก็ตามตัวทำละลายอาจเกิดการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ได้เพื่อปรับปรุงการสกัดงานวิจัยนี้ จึงใช้คาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤตมาช่วยในการสกัดน้ำมันจากกากเมล็ดยาพาราที่ผ่านบีบอัดด้วยเครื่องอัดสกรูเดี่ยว โดยศึกษาผลของความดันและอุณหภูมิต่อร้อยละผลได้ของน้ำมันที่ความดัน 200 250 และ 300 บาร์ และที่อุณหภูมิ 40 50 และ 60 องศาเซลเซียส ตามลำดับ จากผลการทดลองพบว่าที่ภาวะความดัน 300 บาร์ และอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสให้ร้อยละผลได้สูงที่สุดคือ 15.96 ± 0.38 โดยน้ำหนัก เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันที่สกัดด้วยวิธีซอกห์เลต (22.08%) พบว่าการสกัดคาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤตมีประสิทธิ์ในการสกัดน้ำมัน 72.28% ผลการศึกษาองค์ประกอบของน้ำมันจากการสกัดด้วยเครื่องอัดสกรูเดี่ยวและคาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤตด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟี พบว่าน้ำมันจากการสกัดทั ง 3 วิธี มีองค์ประกอบของน้ำมันใกล้เคียงกันโดยมีกรดไลโนเลอิกเป็นองค์ประกอบมากที่สุดร้อยละ 43.52 - 48.71
Other Abstract: Para rubber seeds are the by-product from rubber tree. Rubber seeds consist of 40-50 wt % of oil, which is 83.70% of saturated and 15.6% of unsaturated fatty acid, respectively. Para rubber seed oil has recently used in many industries such as rubber industry, protective coating industry or be the reactant of biodiesel oil. Screw pressing is the most popular method that uses to extract oil from Para rubber seed because it takes a short time. However, the high temperature, which was generated during the process, can reduce the quality of oil. In addition, numerous of oil also remained in press cake. The solvent extraction is one of process for oil extraction, it produced a high yield. However, the contamination of solvent in the product is the disadvantage of this method. In order to resolve above problem, the Supercritical carbon dioxide was employed to extract the remained oil in press cake after screw pressing. The pressure parameters were set at 200, 250 and 300 and the temperature at 40, 50 and 60 °C, respectively. The result shows that the best condition for supercritical carbon dioxide extraction was 300 bar and 60 °C and provided the highest yield of 15.96 ± 0.38 wt %. In comparison, the oil from solvent extraction about 22.08 % and supercritical carbon dioxide method has efficiency 72.28%. The component of fatty acid in oil from solvent, screw pressing, and supercritical carbon dioxide extraction was analyzed by Gas Chromatograph-Mass Spectrometer. The result shows that the soxhlet extraction, screw pressing, and supercritical carbon dioxide give a similar result. The most component is Linoleic acid, which is approximately 43.52 - 48.71%
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีวิศวกรรม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64130
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanchana_A_Se_2561.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.