Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64138
Title: | การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์บนชีวมวลที่เหลือทิ้ง |
Other Titles: | Carbon dioxide adsorption on waste-biomass |
Authors: | สุจิตรา เสนารายณ์ สุชาดา พ่อค้า |
Advisors: | ณัฐธยาน์ พงศ์สถาบดี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sangobtip.P@Chula.ac.th |
Subjects: | คาร์บอนไดออกไซด์ -- การดูดซึมและการดูดซับ Carbon dioxide -- การดูดซึมและการดูดซับ |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการเตรียมตัวดูดซับโดยใช้ไม้ไผ่ ที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งที่มีราคาถูกและสามารถหาได้ง่าย เพื่อศึกษาผลกระทบของความชื้น (ร้อยละ 0,3 และ 4 โดยมวล) และอุณหภูมิการดูดซับ (30 50 70 90 และ 110 องศาเซลเซียส) ต่อความสามารถในการดูดซับแก็สคาร์บอนไดออกไซด์บนตัวดูดซับไม้ไผ่ที่ผ่านการกระตุ้นทางกายภาพ เพื่อให้รูพรุนมีขนาดใหญ่ และผ่านการกระตุ้นทางเคมีเพื่อดัดแปลงหมู่ฟังก์ชันที่ผิวด้วยสารเตตระเอทิลีนเพนตะมีนเข้มข้นร้อยละ 40 โดยน้ำหนัก ตัวดูดซับจะถูกวิเคราะห์คุณลักษณะด้วยเทคนิคการวิเคราะห์พื้นที่ผิวจำเพาะของตัวดูดซับด้วยเทคนิค Surface Area and Porosity Analyzer (BET), การวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันของตัวดูดซับด้วยเทคนิค Fourier Transform Infrared Spectroscopy (FTIR), การวิเคราะห์ปริมาณคาร์บอน (Carbon) ไฮโดรเจน (Hydrogen) และไนโตรเจน (Nitrogen) บนตัวดูดซับด้วยเทคนิค CHN Element Analysis (CHN) จากผลการ ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์สภาวะที่ให้ค่าการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดคือความชื้นร้อยละ 3 โดยปริมาตร อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ผลของอุณหภูมิมีผลต่อการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์โดยในช่วงแรกเพิ่มอุณหภูมิ การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากผลของจลนพลศาสตร์ที่มีผลต่อปฏิกิริยารดูดซับมากกว่า อุณหพลศาสตร์ แต่เมื่ออุณหภูมิสูงถึง 110 องศาเซลเซียส อุณหพลศาสตร์มีผลมากกว่าจลนพลศาสตร์เนื่องจากปฏิกิริยาการดูดซับเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน นอกจากนี้ความชื้นยังมีผลต่อปฏิกิริยาการดูดซับ เมื่อมีน้ำเข้าทำปฏิกิริยาระหว่างเอมีนและคาร์บอนไดออกไซด์ สัดส่วนในการเข้าทำปฏิกิริยาของหมู่เอมีนต่อคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับ 1:1 จากสภาวะปราศจากความชื้นที่มีสัดส่วนเท่ากับ 1:2 แต่เมื่อความชื้นสูงถึง ร้อยละ 4 โดยปริมาตร ความสามารถในการดูดซับลดต่าลงเนื่องจากโมเลกุลน้ำเข้าปกคลุมรูพรุน |
Other Abstract: | This research was aimed to prepare adsorbent using bamboo as raw material and impregnated with 40%wt tetraethylene pentamene (TEPA). The objective of this work is to study the effect of humidity (0, 3 and 4 percent) and temperature (30 50 70 90 and 110 ˚C) on CO₂ adsorption capacity on the adsorbent. The adsorbent was characteristic analyzed by Surface Area and Porosity Analyzer (BET), Fourier Transform Infrared Spectroscopy (FTIR), CHN Element Analysis (CHN). The optimal condition is 3 percent humidity with 70 degree Celsius. The temperature affects the carbon dioxide adsorption reaction. The rising temperature at initial cause the increasing carbon dioxide adsorption. It because the dominance of kinetics instead of thermodynamics but if the temperature reach to be 110 degree Celsius, the carbon dioxide adsorption was increased because of the dominance of thermodynamics. Moreover, the moisture also affects the carbon dioxide adsorption reaction. The protonation of molecule of water to anime group cause the ratio of reaction carbon dioxide and amine group is 1:1 while the ratio of reaction carbon dioxide and amine group in dry condition is 1:2. It affect the higher adsorption capacities of 3 percent by volume. In case of increasing the moisture to 4 percent by volume the water molecule block the pore on the adsorbent the carbon dioxide adsorption decrease. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีวิศวกรรม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64138 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sujitra_S_Se_2561.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.