Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64157
Title: ความหลากชนิดของเทอริโดไฟต์ในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงสำนักใหญ่ จังหวัดระยอง
Other Titles: Diversity of Pteridophytes in Bueng Sam Nak Yai Wetland, Rayong Province
Authors: ฑิติรัตน์ พิมลกิตติกุล
Advisors: พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา
รสริน พลวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Pongchai.D@Chula.ac.th
Rossarin.P@Chula.ac.th
Subjects: เทอริโดไฟตา -- ไทย -- ระยอง
Pteridophyta -- Thailand -- Rayong
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เทอริโดไฟต์เป็นพืชที่มีความสำคัญในระบบนิเวศ สามารถเป็นดัชนีบอกความสมบูรณ์ของป่าธรรมชาติ ช่วยดูดซับความชื้นในอากาศ และช่วยยึดดิน ป้องกันการพังทลายของหน้าดินได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามพบว่าการศึกษาเทอริโดไฟต์ในพื้นที่ชุ่มน้ำทางภาคตะวันออกยังมีอยู่จำกัด ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากชนิดและจัดทำแผนที่การกระจายพันธุ์ของเทอริโดไฟต์ภายในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงสำนักใหญ่ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ระยอง จังหวัดระยอง โดยทำการเก็บตัวอย่างในเดือนกันยายน 2561 และมกราคม 2562 ในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ 7 เส้นทาง ตัวอย่างที่ได้นำมาจัดจำแนกชนิดและจัดทำแผนที่การกระจายพันธุ์ โดยใช้โปรแกรม Google Maps เวอร์ชัน 5.13.11 ผลการศึกษาเก็บตัวอย่างได้จำนวน 31 หมายเลข จัดจำแนกได้ 10 วงศ์ 12 สกุล 15 ชนิด จัดเป็นพืชใกล้เคียงเฟิร์น 1 ชนิด คือ Lycopodiella cernua (L.) Pic. Serm. วงศ์ Lycopodiaceae และเฟิร์น 9 วงศ์ 11 สกุล 14 ชนิด วงศ์ที่พบมากสุดคือ Lygodiaceae จำนวน 3 ชนิด สามารถจำแนกเทอริโดไฟต์ตามลักษณะถิ่นอาศัยได้ 3 แบบ คือ เทอริโดไฟต์ที่ขึ้นบนดิน 7 ชนิด เทอริโดไฟต์อิงอาศัย 2 ชนิด และเทอริโดไฟต์ที่มีส่วนรากยึดติดกับดินหรือโคลนใต้น้ำ 6 ชนิด พบ เทอริโดไฟต์หายากและมีปริมาณน้อย 2 ชนิด คือ Ophioglossum lusitanicum subsp. coriaceum (A. Cunn.) R.T. Clausen และ Schizaea digitata (L.) Sw. มีเทอริโดไฟต์เพียงชนิดเดียวที่พบได้ทุกเส้นทางศึกษาและขึ้นอย่างหนาแน่น คือ Lygodium microphyllum (Cav.) R. Br. ทั้งนี้ความหลากชนิดที่แตกต่างกันในแต่ละเส้นทางอาจเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมเฉพาะของแต่ละพื้นที่ สภาพป่าแต่ละบริเวณ รวมถึงการรบกวนจากมนุษย์ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าต้องมีการอนุรักษ์เทอริโดไฟต์หายากในพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงของการสูญพันธุ์ เช่น ไม่ทำลายถิ่นอาศัย หาแนวทางขยายพันธุ์เทอริโดไฟต์หายาก และควบคุมจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมพื้นที่ชุ่มน้ำบึงสำนักใหญ่ เพื่อลดผลกระทบต่อถิ่นอาศัย ผลการศึกษาทั้งหมดจะส่งไปยังสวนพฤกษศาสตร์ระยองเพื่อนำไปจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ต่อไป และตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้งได้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์พืชศาสตราจารย์กสิน สุวตะพันธุ์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Abstract: Pteridophytes are important for ecosystem. They absorb air moisture and prevent soil erosion. They can be used as an indicator species to indicate the integrity of natural forest. However, the study of Pteridophytes in the eastern wetlands of Thailand is still limited. Therefore, the purpose of this research was to explore the diversity and distribution of Pteridophytes at Bueng Sam Nak Yai Wetland, Rayong Botanical Garden, Rayong Province. Specimens were collected in September 2018 and January 2019 along 7 trails in the wetland, and then identified using morphological traits. The distribution map was carried out by using Google Maps version 5.13.11. A total of 31 specimens were identified to 15 species, 12 genera, 10 families. Among these numbers, 1 species was fern allies, Lycopodiella cernua (L.) Pic. Serm. in Lycopodiaceae, while 9 families, 11 genera and 14 species were ferns. Lygodiaceae was the common family containing 3 species. The Pteridophytes were classified into 3 groups based on their habitats, including 7 terrestrials, 2 epiphytes and 6 immersed species. Ophioglossum lusitanicum subsp. coriaceum (A. Cunn.) R.T. Clausen and Schizaea digitata (L.) Sw. were rare species with small numbers of individuals in this area. Lygodium microphyllum (Cav.) R. Br. was only one species that can be found in all trails and was densely grown. The diversity and distribution of the Pteridophytes varied between trails might be related to microhabitats, forest type, and human disturbance. The results of this study showed that conservation of Pteridophytes in wetlands, especially the rare species, is needed to avoid an extinction. Many techniques could be implemented such as habitat preservation for Pteridophytes, increase numbers of rare Pteridophytes, and control the number of visitors to the wetland area to reduce negative impact on their habitats. Finally, all the results will be used to create a learning media by the Rayong Botanical Garden. All specimens were kept at the Professor Kasin Suvatabhandhu Herbarium, Department of Botany, Faculty of Science, Chulalongkorn University.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64157
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thitirat_P_Se_2561.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.