Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64165
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิชัย จูฑะโกสิทธิ์กานนท์ | - |
dc.contributor.advisor | ปิยพงษ์ เชนร้าย | - |
dc.contributor.author | ณัฐนิธิ สุธีรพงศ์พันธ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-02-12T10:08:50Z | - |
dc.date.available | 2020-02-12T10:08:50Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64165 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 | en_US |
dc.description.abstract | ที่ราบสูงโคราชตั้งอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 200,000 ตารางกิโลเมตร เริ่มมีการสำรวจปิโตรเลียมในปี พ.ศ. 2505 จนถึงปัจจุบัน ชั้นหินที่มีศักยภาพในการเป็นชั้นหินต้นกำเนิดปิโตรเลียมในพื้นที่คือ ชั้นหินดินดานของหมวดหินห้วยหินลาด และชั้นหินดินดานของกลุ่มหินสระบุรี โครงงานนี้จะทำการศึกษาหินทรายบางส่วนจากหมวดหินน้ำพองซึ่งเป็นหมวดหินที่ปิดทับอยู่บนหมวดหินห้วยหินลาด จุดประสงค์ของโครงงานนี้คือ วิเคราะห์ศิลาวรรณนาและประเมินความพรุนสำหรับศักยภาพการเป็นชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียมของหินทรายบางส่วนจากหมวดหินน้ำพอง ตามทางหลวงหมายเลข12 อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยเก็บตัวอย่างหิน 7 ตัวอย่างจากบริเวณจุดศึกษา 3 จุดศึกษา แล้วจึงนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีทางศิลาวรรณนาและวิธีการวิเคราะห์ภาพอิเล็กตรอนกระเจิงกลับด้วยโปรแกรม Imagel จากการศึกษาทางศิลาวรรณนาพบว่าหินทรายหมวดหินน้ำพองเกือบทั้งหมดที่นำมาศึกษาเป็นหินทรายชนิด Lithic arkose ตามการจำแนกของ Folk (1980) มีขนาดของเม็ดตะกอนตั้งแต่ทรายละเอียดมากจนถึงทรายละเอียดปานกลาง มีการคัดขนาดดี มีภาวะทรงกลมต่ำ ประกอบด้วยควอตซ์ร้อยละ 49 ถึง 69 เฟลด์สปาร์ร้อยละ 12 ถึง 22 เศษหินร้อยละ 10 ถึง 15 และแร่ทึบแสงและแร่อื่น ๆ ร้อยละ 5 ถึง 18 หินต้นกำเนิดของตะกอนมีสภาพธรณีแปรสัณฐานอยู่ในช่วงระหว่าง continental block provenance กับ recycled orogeny provenance จากผลการวิเคราะห์ภาพอิเล็กตรอนกระเจิงกลับพบว่าค่าความพรุนเฉลี่ยของตัวอย่างหินทั้งหมดมีค่าเท่ากับ 2.01 เปอร์เซ็นต์ รูพรุนส่วนใหญ่ที่พบในหินมีขนาดของรูพรุนเล็กกว่า 3 ไมครอนเมตร ผลจากการนำค่าความพรุนเฉลี่ยของตัวอย่างหินแต่ละตัวอย่าง ไปเทียบกับตารางแสดงค่าความพรุนกับชนิดหินกักเก็บปิโตรเลียมของ Koesoemadinata (1980) พบว่าตัวอย่างหินที่นำมาศึกษาทั้งหมดจัดอยู่ในหินกักเก็บปิโตรเลียมประเภท Negligible | en_US |
dc.description.abstractalternative | Khorat Plateau is located in the northeastern of Thailand. It covers an area of approximately 200,000 square kilometers. Petroleum exploration has begun since 1962. The potential source rock in the area are shale of Huai Hin Lat Formation and shale of Saraburi group. Some sandstones from Nam Phong Formation which is the formation overlies the Hua Hin Lat Formation are chosen to study in this project. The purpose of this project is to analyze the petrography and to assess of porosity for petroleum potentiality of some sandstones from Nam Phong Formation along the Highway No.12 Lom Sak District, Petchabun Province. Seven samples were collected from 3 locations and analyzed by using petrographic method and backscattered electron image analysis method with imagej program. The result form petrographic study indicates that almost of the rock samples are Lithic arkose (Folk, 1980). Grain size is in the range of very fine sand to medium sand. Sorthing is well. Grain shapes are sub-angular. The rocks consist of quartz 49-69 percent, feldspar 12-22 percent, lithic fragments 10-15 percent and opaque minerals and others 5-18 percent. The provenance is interpreted that it is in the range between continental block provenance and recycled orogeny provenance. From the result of the backscattered electron image analysis shows that average porosity of all rock samples is 2.01 percent. Most pores are less than 3 micrometer. And the result from the average porosity of each rock sample compared with the table of porosity and classification of reservoir rock (Koesoemadinata, 1980) indicates that all the rock samples are Negligible reservoir rock. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | หินทราย -- ไทย -- เพชรบูรณ์ | en_US |
dc.subject | แหล่งกักเก็บก๊าซ | en_US |
dc.subject | Sandstone -- Thailand -- Phetchabun | en_US |
dc.subject | Gas reservoirs | en_US |
dc.title | ศิลาวรรณนาของหินทรายบางส่วนจากหมวดหินน้ำพอง ตามทางหลวงหมายเลข 12 อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ : การประเมินความพรุน สำหรับศักยภาพการเป็นชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียม | en_US |
dc.title.alternative | Petrography of some sandstones from Nam Phong formation along the highway No.12, Lom Sak district, Petchabun province : assessment of porosity for petroleum reservior potentiality | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.email.advisor | Vichai.C@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Piyaphong.C@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nutniti_S_Se_2561.pdf | 4.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.