Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64181
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุคนธ์เมธ จิตรมหันตกุล | - |
dc.contributor.author | ฐาปนพงศ์ ลิ่วเกษมศานต์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | นครสวรรค์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-02-17T09:16:16Z | - |
dc.date.available | 2020-02-17T09:16:16Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64181 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 | en_US |
dc.description.abstract | จังหวัดนครสวรรค์ ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มภาคกลางตอนบนของประเทศไทย มีความสูงเฉลี่ยประมาณ 20-30 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง จากแผนที่ภูมิประเทศและแบบจำลองความสูงเชิงเลข พบแนวการวางตัวภูเขาโดด (Monadnock) ทิศทางเหนือ-ใต้ถึงตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ขณะเดียวกันบริเวณด้านตะวันออกเฉียงใต้ของพื้นที่ศึกษา เป็นลักษณะเนินขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายวงรีภายในพบแนวหินปูนของหมวดหินตากฟ้าของกลุ่มหินสระบุรีที่ต่อเนื่องมาจากลานเขาขวาง และบริเวณเขาหลวงตะวันตกของอำเภอเมืองนครสวรรค์ ที่พบธรณีวิทยาโครงสร้าง โครงสร้างเกยทับชัยนาท ซึ่งลักษณะสัณฐานที่กล่าวมาข้างต้นคาดว่าเป็นผลจากเลื่อนตัวของเขตรอยเลื่อนแม่ปิงทำให้เกิดการยกตัวสูงขึ้นของพื้นที่ศึกษาและส่งต่อลักษณะธรณีสัณฐานของพื้นที่ศึกษา จากการศึกษาแนวเส้น ผลการวิเคราะห์แนวเส้นพบทิศทางหลักของแนวเส้นสอดคล้องกับแนวภูเขาที่วางตัวอยู่ในพื้นที่ศึกษาและสัมพันธ์อยู่กับเขตรอยเลื่อนแม่ปิงที่พาดผ่านพื้นที่ศึกษาด้วยเช่นกัน นอกจากนี้การศึกษาภาคสนาม หินโผล่ในพื้นที่ศึกษาพบหลักฐานการเลื่อนตัวจากรอยเลื่อน รอยครูด ที่นำมาวิเคราะห์หาความเค้นหลักผ่านโปรแกรมวินเทนซอร์ แสดงทิศทางความเค้นหลักของพื้นที่ศึกษาภาคสนามเป็นแรงอัดในทิศเหนือ-ใต้ ซึ่งแนวแรงของเค้นหลักสัมพันธ์กับเหตุการณ์ธรณีวิทยาแปรสัณฐานของการชนกันภายในของแผ่นเปลือกโลกอินโดจีนเหนือและแผ่นเปลือกโลกอินโดจีนใต้ และการเลื่อนตัวแบบซ้ายข้าวของเขตรอยเลื่อนแม่ปิงทำให้เกิดการยกตัวของโครงสร้างแบบโครงสร้างดอกไม้บวก ที่ทำให้เกิดลักษณะปรากฏของแนวเขาในทิศเหนือ-ใต้ถึงตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ สภาพภูมิประเทศและลักษณะธรณีสัณฐานของจังหวัดนครสวรรค์ในปัจจุบัน คาดว่าส่วนที่เหลืออยู่เป็นส่วนของแกนกลางโครงสร้างหลัก อันเป็นผลจากกระบวนการเปลี่ยนสภาพเนื่องจากความเค้นและผลจากกระบวนการผุพังและพัดพา ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ยุคเพอร์เมียนจนถึงปัจจุบัน | en_US |
dc.description.abstractalternative | Nakhon Sawan Province is located on the upper central plains of Thailand that has an average height 20-30 meters above mean sea level. Topographic map and Digital Elevation Model (DEM) show North-South to Northwest-Southeast trending monadnock. Meanwhile, the Southeast region of the study area is represented by a ridge which has oval shape. Permian Tak Fa Limestone which is extended from Khao Khwang Platform is distributed in the ridge area. On Khao Luang west of Amphoe Muang Nakhon Sawan shows a feature which is called Chainat duplex. All of the evidences above are considered as indicators of the movement of Mae Ping Fault zone which controls structural geology and geomorphology of the study area. The Results of lineament analysis show correlated trend with mountains in the area and are relate to Mae Ping Fault zone. Moreover, faults and slickensides are found in field observation and principal stress are analyzed by using Win-tensor software. The principal stress is a compression stress in North-South direction which is related to intra-Indochina collision. Left-lateral movement of the Mae Ping Fault zone develops positive flower structure which evidently show as North-South to Northwest-Southeast trending ridge. The remaining topography and geomorphology of Nakhon Sawan Province is a core of the main structure which is a result of the principle stress, erosion and transportation process since Permian to the present day. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | ธรณีวิทยาโครงสร้าง จังหวัดนครสวรรค์ | en_US |
dc.title.alternative | Structural geology of Nakhon Sawan province | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.email.advisor | Sukonmeth.Ji@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thapanaphong_L_Se_2561.pdf | 9.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.