Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64185
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัชนีกร ธรรมโชติ-
dc.contributor.advisorนครินทร์ กิตกาธร-
dc.contributor.authorธมนวรรณ มีสกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-02-17T09:43:50Z-
dc.date.available2020-02-17T09:43:50Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64185-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพันธุศาสตร์. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561en_US
dc.description.abstractมะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับที่ 4 ในสตรีไทย แต่รักษาได้ยากเนื่องจากผู้ป่วยใน ระยะแรกมักไม่แสดงอาการ สาเหตุของโรค เช่น การกลายพันธุ์ และสภาวะเหนือพันธุกรรม ดังนั้น การศึกษาพันธุกรรมในระดับโมเลกุลอาจมีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรคได้ การศึกษาก่อนหน้าโดย การวิเคราะห์ผลจากการทดลองด้วยวิธีเมทิลเลชันไมโครอาร์เรย์ใน GEO dataset ในฐานข้อมูล NCBI พบว่าเนื้อเยื่อมะเร็งรังไข่มีการเกิดไฮโปเมทิลเลชันของยีน serine/threonine kinase 38 (STK38) ซงึ่ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเติมหมู่ฟอสเฟตให้กับโปรตีน วัฏจักรของเซลล์ และอะพอพโทซิส รวมถึงมีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการแสดงออกในระดับอาร์เอ็นเอของยีนนี้กับเนือ้ เยื่อมะเร็ง รังไข่ด้วยวิธี duplex RT-PCR พบว่าเนื้อเยื่อมะเร็งรังไข่ที่มีภาวะไฮโปเมทิลเลชันมีการแสดงออกของ ยีน STK38 เพิ่มขึ้น ดังนั้น โครงงานนี้จึงได้ทำการศึกษาต่อยอดจากการศึกษาการแสดงออกของยีน STK38 ในระดับอาร์เอ็นเอ โดยเพิ่มจำนวนตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ตัวอย่างเนื้อเยื่อมะเร็งรังไข่ 29 ตัวอย่าง และตัวอย่างเนื้อเยื่อรังไข่ปกติ 22 ตัวอย่าง และใช้เทคนิค quantitative real-time PCR (RT-qPCR) ซึ่งเป็นเทคนิคที่มีความแม่นยามากกว่า ซึ่งจากผลการทดลองและการวิเคราะห์ทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าในเนื้อเยื่อมะเร็งรังไข่มีการแสดงออกของยีน STK38 มากกว่าในเนื้อเยื่อรังไข่ปกติ 4.82 เท่า โดยค่า p-value เท่ากับ 0.0509 สรุปได้ว่า การแสดงออกของยีน STK38 ในระดับอาร์เอ็น เอไม่มีความสัมพันธ์กับมะเร็งรังไข่ แต่ควรทำการทดลองเพิ่มเติมโดยการเพิ่มจำนวนตัวอย่าง เพื่อศึกษาแนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างยีน STK38 และมะเร็งรังไข่ที่มีความชัดเจนแม่นยำมากขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeOvarian cancer is the fourth most common cancer in Thai women, but it is difficult to treat as patients do not show any symptoms in the early stages. It can be caused by mutations or epigenetics. Therefore, molecular genetic analysis may be useful in the disease diagnosis. A previous study using data from methylation microarray method from GEO dataset in NCBI database indicated that ovarian cancer tissue has hypomethylation of the serine/threonine kinase 38 (STK38) gene. The STK38 gene functions in protein phosphorylation, cell cycle, and apoptosis. Another study by duplex RT-PCR for expression analysis at the RNA level reported that hypomethylation of the STK38 gene correlated with the increased expression of the gene in ovarian cancer tissue. Therefore, this study continues from the previous study by increasing samples which are ovarian cancer tissue 29 samples and normal ovarian tissue 22 samples and using quantitative real-time PCR (RT-qPCR) technique which is more accurate. The results and statistical analysis indicated that the STK38 gene was expressed in the ovarian cancer tissue at a higher level than in normal ovarian tissues at 4.82 fold (p-value = 0.0509). In conclusion, the expression at RNA level of the STK38 gene is not correlated with ovarian cancer. However, additional experiments by increasing sample numbers are needed to precisely indicate the trend of correlation between the STK38 gene and ovarian cancer.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการวิเคราะห์การแสดงออกระดับอาร์เอ็นเอของยีน STK38 ในมะเร็งรังไข่en_US
dc.title.alternativeExpression analysis at RNA level of the STK38 gene in ovarian canceren_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisorRatchaneekorn.T@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tamonwan_M_Se_2561.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.