Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64190
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศรีเลิศ โชติพันธรัตน์-
dc.contributor.authorมัลลิกา มังคลาด-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.coverage.spatialระยอง-
dc.date.accessioned2020-02-18T04:58:05Z-
dc.date.available2020-02-18T04:58:05Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64190-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561en_US
dc.description.abstractการขยายตัวอย่างรวดเร็วของพื้นที่อุตสาหกรรมบริเวณฝั่งตะวันออกของประเทศไทย ทำให้มีการจัดตั้งเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ (The eastern Economic Corridor, EEC) ซึ่งจังหวัดระยองเป็นหนึ่งในพื้นที่ดังกล่าว ดังนั้นการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อเอื้อต่อความต้องการใช้น้ำสูงขึ้นในอนาคต การศึกษาครั้งนี้ได้มีการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์หรือแบบจำลอง SWAT เพื่อประเมินปริมาณการเติมน้ำบาดาลในแอ่งน้ำบาดาลระยอง เนื่องจากผลของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยใช้การปรับเทียบและสอบทานปริมาณน้ำท่าในพื้นที่ศึกษา โดยพิจารณาปรับค่าพารามิเตอร์ที่ส่งผลต่อพื้นที่ศึกษา ได้แก่ CN SOIL_AWC GWQMN และ GW_DELAY และสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่างกันของแอ่งน้ำบาดาลระยอง โดยใช้ข้อมูลสภาพทางอุตุนิยมวิทยา ความสูงต่ำของพื้นที่เหมือนกัน และเทียบกับข้อมูลปริมาณน้ำท่าจากสถานี Z.38 ตั้งอยู่บริเวณ อ.เมือง จ.ระยอง ในปี พ.ศ. 2560 โดยความสัมพันธ์ของปริมาณน้ำท่าที่ตรวจวัดได้จริงกับแบบจำลองเมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์ตัวกำหนด (R2) มีค่า 0.61 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) มีค่า 0.78 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ จากการศึกษาพบว่าปริมาณการเติมน้ำบาดาลในแอ่งน้ำบาดาลระยอง มีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ศึกษา เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการเติมน้ำกับรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินในปี พ.ศ. 2552 และ พ.ศ. 2560 พบว่าหน่วยตอบสนองทางอุทกวิทยา (HRUs) ที่ 1, 14, 16 และ 24 มีแนวโน้มของพื้นที่ป่าไม้ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 2.43 ของพื้นที่ โดย HRUs ที่ 1 และ 24 มีแนวโน้มของพื้นที่เมืองเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 16 ของพื้นที่สำหรับ HRU ที่ 1 อยู่บริเวณนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด ต.ตาสิทธิ์ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง และ HRU ที่ 24 บริเวณนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ต.หนองขัว อ.บ้านค่าย จ.ระยอง จากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าวส่งผลให้การเติมน้ำในแอ่งน้ำบาดาลระยองลดลงโดยเฉลี่ยทั้งพื้นที่มีปริมาณเท่ากับ 3.81 มม. หรือลดลงร้อยละ 0.23 ของปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปี พ.ศ. 2560en_US
dc.description.abstractalternativeThe rapid expansion of industrial areas on the Eastern side of Thailand causes the establishment of The Eastern Economic Corridor (EEC). Rayong province is one of a part of EEC; thus, water resource management is very important to supply a higher water demand in the future. In this study, a mathematical rainfall-runoff model, called SWAT, was applied to assess groundwater recharge in Rayong groundwater basin. The calibration and verification processes with adjusting the following parameters: CN, SOIL_AWC, GWQMN, and GW_DELAY, were carried out with runoff data at station Z.38, located in Muang Rayong. Then, with changing land use map from 2009 to 2017, the affect land use change on groundwater recharge were evaluated by using the same meteorological data, soil types and DEM in 2017. The relationship between the measured runoff and the model simulation found that the coefficient of determination (R2) was 0.61 and the correlation coefficient (R) was 0.78, which is acceptable. The model revealed that groundwater recharge in Rayong groundwater basin has affected by the land use changes. As comparing between two periods, the results revealed that the 1st, 14th, 16th, and 24th HRUs tend to decrease the forest area about 2.43% of areas. The 1st and 24th HRUs tend to increase the urban area about 16% of areas. The 1st HRU is located in the Eastern Seaboard Industrial Estate, Tambon Tasit, Amphor Pluakdang, Rayong and the 24th HRU is located in Rojana Industrial Estate, Tambon Nhongbua, Amphor Ban Khai, Rayong. The decreasing in the forest and increasing in urban cause to reduce in groundwater recharge in Rayong groundwater basin about 3.81 mm. (0.23% of the average rainfall in 2017).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการประเมินการเติมน้ำบาดาลในแอ่งน้ำบาดาลระยองโดยใช้แบบจำลอง SWATen_US
dc.title.alternativeGroundwater recharge assessment in Rayong groundwater basin using SWAT modelen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisorSrilert.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mullika_M_Se_2561.pdf4.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.