Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64236
Title: การวิเคราะห์ลักษณะภูมิประเทศในลุ่มน้ำน่าน : การประยุกต์ใช้สำหรับภัยพิบัติดินถล่ม
Other Titles: Terrain analysis in Nan watershed : application for landslide hazard
Authors: พัชริดา อุดมเวช
Advisors: สันติ ภัยหลบลี้
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Santi.Pa@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บริเวณลุ่มน้ำน่านเป็นบริเวณที่มีลักษณะภูมิประเทศแบบเทือกเขา และมีที่ราบระหว่างหุบเขา ทำให้บริเวณนี้มีโอกาสเกิดดินถล่มได้บ่อยครั้ง ซึ่งการเกิดดินถล่มแต่ละครั้งได้สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้นงานศึกษานี้ จึงมีจุดมุ่งหมายในการจัดทำแผนที่แสดงความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มบริเวณลุ่มน้ำน่าน โดยใช้วิธีการทางสถิติ 2 ตัวแปร ซึ่งเป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างร่องรอยดินถล่มที่เคยเกิดในอดีตกับช่วงของปัจจัย ที่มีผลต่อการเกิดดินถล่ม โดยปัจจัยที่ได้เลือกน้ำมาวิเคราะห์มีทั้งหมด 6 ปัจจัย ได้แก่ ความลาดชัน ด้านรับน้ำฝน ความโค้งตามความลาด ความโค้งของลาดเขาตามแนวขวาง ดัชนีความชุ่มชื้นภูมิประเทศ ดัชนีพลังงงานการไหล โดยจากการศึกษาพบว่าบริเวณที่มีความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มสูงจะเป็นบริเวณที่มีค่าความลาดชันสูง (40-90 องศา) มีด้านรับน้ำฝนทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะการโค้งแบบโค้งเว้า มีค่าดัชนีความชื้นของภูมิ ประเทศต่ำ และมีค่าดัชนีพลังงานการไหลที่สูง ซึ่งเมื่อน้ำค่าความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มของทุกปัจจัยมารวมกันพบว่า ค่าความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มมีค่า -4.39 – 4.42 ซึ่งหลังจากทำการแบ่งระดับความอ่อนไหว ต่อการเกิดดินถล่มออกเป็น 5 ช่วงแล้ว พบว่าบริเวณที่มีความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มสูงอยู่ทางตอนเหนือของลุ่มน้ำ ซึ่งครอบคลุมบริเวณ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอบ่อเกลือ และอำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ส่วนบริเวณทางตอนใต้ของลุ่มน้ำน่าน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดพิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ และพิษณุโลก มี่ค่าความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มที่ต่ำกว่ามาก
Other Abstract: Nan Watershed has terrain with range mountain that has a chance to make landslides. As you know landslide make a lot of damage to people who live in the area. So the purpose of this project is create landslide susceptibility map in Nan Watershed by using statistical method that select six factor in order to analysis including slope, aspect, profile curvature, plan curvature, topographic wetness index and stream power index. From this project we can conclude that high susceptibility relates to high slope (4 0 - 9 0 ) . Aspect is Northeast. Curvature is convex. Low topographic wetness index and high stream power index. After that we combine all of factor value and receives statistical index is -4.39-4.42. After we divided the area into five ranges, we found that high susceptibility is the north of nan watershed covering Chalerm Prakiat, Song Khwae, and Mae Charim Districts moreover the south of nan watershed covering Phichit Phitsanulok Kampangphet Nakhorn Sawan has less susceptibility than the north of nan watershed.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64236
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharida_U_Se_2561.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.