Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64256
Title: การกระจายตัวของความเค้นทางธรณีแปรสัณฐานบริเวณภาคเหนือ ประเทศไทยและพื้นที่ข้างเคียง
Other Titles: Tectonic stress distribution of the Northern Thailand and the adjacent area
Authors: เบญญา เลิศจันทึก
Advisors: สันติ ภัยหลบลี้
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Santi.Pa@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องด้วยในปัจจุบันในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยและพื้นที่ข้างเคียงยังคงมีแนวรอย เลื่อนมีพลังอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น แนวรอยเลื่อนแม่ทา แนวรอยเลื่อนพะเยา โดยแนวรอยเลื่อน เหล่านี้ยังพาดผ่านไปยังเมืองสำคัญและแหล่งชุมชนอีกด้วย ซึ่งมีโอกาสเลื่อนตัวทำให้เกิดแผ่นดินไหว และสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นได้ โดยจากการศึกษาของกูเตนเบิร์กและริกเตอร์ทำให้ทราบว่า พฤติกรรมแผ่นดินไหวในอดีตจะสามารถทำนายพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวในอนาคตได้ ซึ่ง สามารถที่จะเตรียมการเฝ้าระวัง ป้องกัน และลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ โดยแผ่นดินไหวที่มี สาเหตุจากธรรมชาติ จะเกิดจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อลดความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลก ออกมาเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ โดยถ้าพื้นที่ใดที่มีความเค้นสะสมตัวสูง จะมีโอกาสเกิด แผ่นดินไหวในเวลาต่อมา จึงเป็นที่มาของงานวิจัยนี้ โดยทำการศึกษาค่าคงที่ b ในสมการกูเตนเบิร์ก และริกเตอร์ ซึ่งค่าคงที่ b มีความสัมพันธ์เชิงแปรผกผันกับความเค้น หมายความว่า พื้นที่ใดมีค่า b ต่ำ พื้นที่นั้นมีความเค้นสูง ซึ่งมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวได้ในอนาคต หากมีการปล่อยพลังงานจากความเค้น จากข้อมูลแผ่นดินไหวที่คัดกรอกแล้วนามาศึกษาค่า b แต่ละพื้นที่จะมีตัวแปรของจำนวนเหตุการณ์ แผ่นดินไหวที่นำมาใช้การวิเคราะห์ที่เหมาะสมแตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องมีการทดสอบย้อนกลับ โดย จากการศึกษาย้อนกลับพบว่า หากกวาดรัศมีใด ๆ ออกไปจากพื้นที่ตามจำนวนแผ่นดินไหว 35 เหตุการณ์ จะทำให้ค่าที่เหมาะสมที่สุดในการณ์วิเคราะห์ค่า b ของบริเวณภาคเหนือ ประเทศไทย และ พื้นที่ข้างเคียง เมื่อนำค่าดังกล่าวมาศึกษาต่อจะได้แผนที่การกระจายตัวค่า b ในปัจจุบัน พบว่ามี 3 พื้นที่ที่มีค่า b ต่ำลงอย่างต่อเนื่อง บ่งชี้ว่าพื้นที่เหล่านี้มีการสะสมความเค้นเพิ่มมากขึ้น จึงมีโอกาสเสี่ยง ที่จะเกิดแผ่นดินไหวในอนาคตได้
Other Abstract: As the northern of Thailand and the adjacent area has many well-known active Faults, for example, Mae Tha Fault, Mae Chun Fault which cross the important area and community area. So it can move to make earthquakes and damage to the area. From the study of Gutenberg-Richter showing activity of earthquake in the past can predict activity of earthquake in the future including the earthquake hazardous area by analyst b values of frequency-magnitude earthquake distribution because there have been several observations that indicate that changing in b value is inversely related to changes in the stress level For example low b-value area represent the highstress area that can become the earthquake hazardous area. Hence, this study was conducted to evaluate the spatial distribution of the b value of northern Thailand and the adjacent area. By the retrospective test, the appropriate parameter to calculate the b value was 35 fixed earthquake events. After we got the suitable condition for bvalue calculation, we analyzed the most recent earthquake data (A.D. 1912–2018) and mapped the spatial distribution of the b value of northern Thailand and the adjacent area. The result revealed that there are 3 local areas showing the anomalous low bvalue such as 1) the boundary between Thailand and Laos 2) along the Sagaing Fault 3) Kanchanaburi Thailand
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64256
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Benya_L_Se_2561.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.