Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64269
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต-
dc.contributor.advisorอรพร หมื่นพล-
dc.contributor.authorกัญญาจิต โล่ภิญโญสิริ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-03-02T01:43:49Z-
dc.date.available2020-03-02T01:43:49Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9743463569-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64269-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543-
dc.description.abstractความเข้มข้นของโอโซนสามารถตรวจวัดได้ในรูปโอโซนสุทธิที่ผลิตจากเครื่อง (TOO) ด้วยวิธี lodometric method (APHA, 1976) และในรูปปริมาณโอโซนที่เหลือตกค้างอยู่ในนํ้า (ROC) ด้วยวิธี Indigo Method (Merck, 1998) ผลการทดลองพบว่า TOO มีค่าเพิ่มขึ้นตามเวลาด้วยอัตราส่วนที่คงที่ แตกต่างจาก ROC ที่มีค่าไม่คงที่และไม่แปรตรงกับค่า TOO เนื่องจากโอโซนมีการสลายตัวตลอดเวลา ROC มีค่าสูงสุด และเกือบคงที่เพียงช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น เมื่อแยกศึกษาผลของโอโซนต่อสิ่งทดลอง พบว่าปริมาณ TOO ตํ่าสุด ที่สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียก่อโรค Vibrio harveyi D331 ได้มากที่สุด (3 log units นาน 6 ซม.) คือ 51.23 มก./ลิตร. นอกจากนี้ค่า TOO ความเข้มข้นตังกล่าว ยังเป็นค่าเริ่มต้นที่มีผลต่อจำนวนเชื้อแบคทีเรียโพรไบโอติก Bacillus sp.S11 ให้มีจำนวนลดลงมากกว่า 2 log units นาน 48 ซม. โอโซนค่อนข้างปลอดภัยต่อกุ้งกุลาดำ เนื่องจากความเข้มข้นโอโซนที่เริ่มทำให้ลูกกุ้งกุลาดำโพสต์ลาวาที่ 15-21 แสดงอาการผิดปกติ มีค่าสูงกว่าความเข้มข้นที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย โดยที่ TOO สะสมเป็นเวลา 16 ชม.ขึ้นไป (97.48 มก./ลิตร หรือ ROC อยู่ในช่วง 0.30-0.40 มก./ลิตร) จึงจะมีผลต่อระบบสรีรวิทยาของลูกกุ้ง การใช้โอโซนปรับปรุงคุณภาพนํ้าที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งกุลาดำต้องมีปริมาณ TOO สูงมากกว่า 424.24 มก./ลิตร (ปริมาณ ROC 0.180 มก./ลิตร) สามารถลดค่าแอมโมเนียม-ไนโตรเจน (NH₄⁺-N) ค่าการย่อยสลายสารอินทรีย์ในนํ้า (BOD) และปริมาณของแข็งแขวนลอยยั้งหมด (TSS) ได้ 17%, 4.89% และ 17.85% ตามลำดับ ในขณะที่การเป้าพ่นอากาศลามารถลดได้เฉพาะปริมาณของแข็งแขวนลอยยั้งหมดเท่านั้น (5.71%) การศึกษา in vivo study ของผลของโอโซนที่ความเข้มข้น TOO 51.23 มก./ลิตร (ROC เท่ากับ 0.337 มก./ลิตร) ต่ออัตรารอดของกุ้งกุลาดำขนาด 6-8 กรัม หลังจากให้อาหารผสมโพรไบโอติกเป็นเวลา 1 เดือน และทำการเหนี่ยวนำให้กุ้งอ่อนแอด้วย Vibrio harveyi D331 ที่ความเข้มข้นของเชื้อ 10⁷ cfu/ml พบว่า ที่ปริมาณ TOO ตังกล่าว สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียก่อโรค (Vibrio harveyi สาย พันธุ์ D331) ได้ 3 log units นาน 24 ชม. ลดค่าแอมโม เนียม-ไนโตรเจนได้ 30% โดยไม่มีผลต่อจำนวนเชื้อแบคทีเรียโพรไบโอดิก (Bacillus sp. สายพันธุ์ S11) ในลำไส้กุ้ง อีกยั้งเพิ่มอัตราการรอดกุ้งให้สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)-
dc.description.abstractalternativeTotal Ozone Output (TOO) by lodometric method (APHA, 1976) and Residual Ozone Concentration (ROC) by Indigo method (APHA, 1976) were used parallelly in this study. TOO values increased continuously with time whereas ROC was much lower than TOO because of rapid evaporation of ozone. The pattern of ROC accumulation was irregular and did not reflect the ozone concentration produced from the machine. เท studies with bacteria, it was found that the minimal effective dosage of ozone to inhibit Vibrio hap/eyi growth was 51.23 ppm (TOO). Three log units of Vibrio was inhibited after 6 hours of treatment while 2 log units Bacillus sp. S11 was suppressed after 48 hr. of treatment. Exposure to 97.48 mg/l of TOO or 0.30-0.40 mg/l of ROC initiated loss of balance of prawns, including immobility and destruction of gill lamellar epithelium. Much higher concentration of ozone (424.24 mg/l of TOO or 0.180 mg/l of ROC) was required for reducing total ammoniumnitrogen, BOD and total suspended solids in water, study on the optimal dosage of ozone treatment for Penaeus monodon culture revealed that at 51.23 mg/l total ozone output (TOO) or 0.350 mg/l residual ozone concentration (ROC) was effective in inhibiting 3 log units of vibrio harveyi D331 for 24 hours and could reduced 30% of ammonium-nitrogen concentration. At this dosage, there was no effect neither on prawn nor on intestinal probiotics (Bacillus S11). The prawn survival rate was increased statistically (p<0.05) when compared with the control and the treatment without probiotic and ozonation.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectโอโซน-
dc.subjectคุณภาพน้ำ-
dc.subjectกุ้งกุลาดำ-
dc.titleการใช้โอโซนในการควบคุมคุณภาพน้ำเลี้ยงกุ้งกุลาดำ-
dc.title.alternativeApplication of ozone for controlling water quality in black tiger shrimp culture-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanyajit_lo_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ869.95 kBAdobe PDFView/Open
Kanyajit_lo_ch1_p.pdfบทที่ 1667.29 kBAdobe PDFView/Open
Kanyajit_lo_ch2_p.pdfบทที่ 21.25 MBAdobe PDFView/Open
Kanyajit_lo_ch3_P.pdfบทที่ 3954.95 kBAdobe PDFView/Open
Kanyajit_lo_ch4_p.pdfบทที่ 41.64 MBAdobe PDFView/Open
Kanyajit_lo_ch5_p.pdfบทที่ 5752.75 kBAdobe PDFView/Open
Kanyajit_lo_ch6_p.pdfบทที่ 6674.1 kBAdobe PDFView/Open
Kanyajit_lo_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.