Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64277
Title: การใช้แป้งจากเมล็ดขนุนเป็นสารให้ความคงตัวในผลิตภัณฑ์ไอศกรีมกะทิลดไขมัน
Other Titles: Utilization of jackfruit seed flour as a stabilizer in reduced fat coconut milk ice cream
Authors: ธมนวรรณ ทองทวี
ธัญนันท์ วชิรปรีชาพงษ์
Advisors: วรภา คงเป็นสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Varapha.L@chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ไอศกรีมกะทิเป็นอาหารหวานชนิดหนึ่งที่นิยม แต่เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคสนใจต่อปัญหาสุขภาพมากยิ่งขึ้น จึงหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณไขมันสูง ไอศกรีมที่ลดปริมาณไขมันส่งผลให้ไอศกรีมละลายเร็ว และคุณภาพทางเนื้อสัมผัสด้อยลง ดังนั้นการผลิตไอศกรีมกะทิลดไขมันจึงจำเป็นต้องศึกษาการใช้สารให้ความคงตัวเข้ามาช่วยปรับปรุง คุณภาพของไอศกรีมให้ดีขึ้น เมล็ดขนุนมีสารจำพวกโพลิแซ็กคาไรด์ซึ่งมีคุณสมบัติในการเกิดเจลได้ จึงสนใจนำแป้ง เมล็ดขนุนมาใช้เป็นสารให้ความคงตัวในไอศกรีมกะทิลดไขมัน งานวิจัยนี้ได้ทำการทดลองเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ศึกษาการเตรียมและวิเคราะห์สมบัติของแป้งเมล็ดขนุน โดยเตรียมเมล็ดขนุนดิบที่ลอกเปลือกและเยื่อหุ้มเมล็ดออก แล้ว นำไปอบในตู้อบลมร้อน ที่อุณหภูมิ 60ºC จนมีความชื้นต่ำกว่า 5% แล้วนำไปบดและร่อนผ่านตะแกรงขนาด 60 mesh เมื่อวิเคราะห์คุณสมบัติทางด้านเคมีของแป้งเมล็ดขนุน พบว่า มีปริมาณคาร์โบไฮเดรต 72.24% และวิเคราะห์ การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติด้านกายภาพระหว่างการเก็บของแป้งเมล็ดขนุนเป็นระยะเวลา 2 เดือน พบว่า ค่าปริมาณ น้ำอิสระ(aw), ความชื้น, ความหนืดสูงสุด และpasting temperature เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) แต่ค่า ความสว่าง(L*), ค่าสีแดง(a*), ค่าสีเหลือง(b*), การละลาย และกำลังการพองตัว ไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ (p≥0.05) การวิจัยส่วนที่ 2 ศึกษาผลของปริมาณไขมันในไอศกรีมกะทิและชนิดสารให้ความคงตัวของไอศกรีมกะทิลด ไขมัน โดยแปรปริมาณไขมัน 3 ระดับ (5%, 9%, และ13%) และชนิดสารให้ความคงตัว 2 ชนิด (เจลาติน และ แป้ง เมล็ดขนุน) (กำหนดปริมาณสารให้ความคงตัว 0.7% เท่ากัน) เปรียบเทียบกับสูตรควบคุม (ไอศกรีมกะทิไขมัน13% ไม่ใส่สารให้ความคงตัว) วิเคราะห์คุณสมบัติด้านเคมีและกายภาพของผลิตภัณฑ์ไอศกรีมและไอศกรีมมิกซ์ พบว่า ปริมาณไขมันที่มากขึ้นส่งผลให้ไอศกรีมมิกซ์มีค่าปริมาณของแข็งและความหนืดมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เจลาตินส่งผลให้ไอศกรีม มีค่าความหนืด %overrun และเวลาในการละลายที่มากกว่าไอศกรีมที่ใส่แป้ง เมล็ดขนุน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่แป้งเมล็ดขนุนส่งผลให้ไอศกรีมมีค่าความหนืด ความแข็ง และการ ละลายไม่แตกต่างจากสูตรควบคุม (p≥0.05) และมีค่าความแข็งมากกว่าไอศกรีมที่ใส่เจลาติน (p<0.05) จึงเลือก ไอศกรีม 5 สูตร ซึ่งแปรปริมาณไขมัน 2 ระดับ (5% และ 9%) และชนิดสารให้ความคงตัว 2 ชนิด (เจลาติน และ แป้ง เมล็ดขนุน) เปรียบเทียบกับสูตรควบคุม เพื่อทดสอบการยอมรับของผลิตภัณฑ์ โดยผู้ทดสอบจำนวน 34 คน พบว่า ผู้บริโภคยอมรับไอศกรีมลดไขมันที่มีปริมาณไขมัน 9% การวิจัยส่วนที่ 3 ศึกษาผลของปริมาณแป้งเมล็ดขนุนเพื่อใช้ เป็นสารให้ความคงตัวในไอศกรีมกะทิลดไขมันที่มีปริมาณไขมัน 9% โดยแปรปริมาณแป้งเมล็ดขนุน 4 ระดับ (0.7%, 1.2%, 1.7%, และ2.2%) พบว่า ปริมาณแป้งที่มากขึ้นส่งผลให้ไอศกรีมมิกซ์มีค่าปริมาณของแข็งและความหนืดมาก ขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และจากการทดสอบการยอมรับของผลติ ภัณฑ์พบว่า ผู้บริโภคยอมรับการเติม แป้งเมล็ดขนุนได้ถึงปริมาณ 1.7%
Other Abstract: Coconut milk ice cream is one of the most favorable Thai dessert. Nowadays, consumers are aware of their health problems, they tend to avoid foods with high-fat content. Fat reduced ice cream could melt too fast and has poor texture. Therefore, a stabilizer is used to improve the quality of fat reduced ice cream. Jackfruit seeds contain high polysaccharides which have gel formation property. This study aims to use jackfruit seed flour as a stabilizer in reduced fat coconut milk ice cream. This research was divided into 3 parts. First part, the jackfruit seed flour was prepared and its chemical properties were analyzed. Raw jackfruit seeds were peeled and dehydrated in a hot air oven at 60 oC until the moisture content was less than 5%. Then, the seeds were ground and sifted through 60-mesh sieve. The analysis showed that it contains 72.24% of carbohydrate. After 2 months storage, the water activity, moisture content, peak viscosity and pasting temperature significantly changed (p<0.05). However, the brightness (L*), red (a *), yellow (b *), solubility, and swelling power did not significantly change (p≥0.05). The second part, the effects of fat content in coconut milk ice cream and types of stabilizers in reduced fat coconut milk ice cream were studied. Ice cream formulas with varying fat contents (5%, 9%, and 13%) and 2 types of stabilizers (gelatin and jackfruit seed flour, 0.7 %) were compared to the control formula (13% fat coconut milk ice cream without stabilizer). The results showed that increasing the amount of fat significantly increased the total soluble solid and viscosity in ice cream mix (p<0.05). The ice cream with gelatin provided a higher %overrun, viscosity, and longer melting time than the ice cream containing jackfruit seed flour (p<0.05). However, the ice cream with jackfruit seed flour did not give significant different in viscosity, hardness, and melting time when comparing to the control formula (p≥0.05). Therefore, 5 formulas were selected with varying fat content into 2 levels (5% and 9%) and 2 types of stabilizers (gelatin and jackfruit seed flour), compared with the control formula. The acceptance test of 34 respondents reported that the 9% fat coconut milk ice cream was accepted. The last part, the amount of jackfruit seed flour as a stabilizer in the 9% fat content coconut milk ice cream was investigated by being varied in 4 levels (0.7%, 1.2%, 1.7%, and 2.2%). The results showed that increasing the amount of jackfruit seed flour caused the ice cream mix to have higher amount of total soluble solid and viscosity (p<0.05). The acceptance test also reported that the consumers accepted the addition of jackfruit seed flour up to 1.7%.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64277
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tamonwan_T_Se_2561.pdf4.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.