Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64281
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นิพาดา เรือนแก้ว ดิษยทัต | - |
dc.contributor.author | สุจิตรา เพชรชนะ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-03-02T07:59:55Z | - |
dc.date.available | 2020-03-02T07:59:55Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64281 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 | en_US |
dc.description.abstract | เอคโตไมคอร์ไรซา (ectomycorrhiza) เป็นความสัมพันธ์แบบภาวะพึ่งพากันของรากับรากของพืชอาศัย เช่น ไม้วงศ์ยาง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของราเอคโตไมคอร์ไรซาในแปลงฟื้นฟูระบบนิเวศในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี โดยแปลงที่ทำการศึกษาเป็นแปลงที่มีไม้วงศ์ยางหลายชนิดซึ่งเป็นพืชอาศัยของราเอคโตไมคอร์ไรซา ได้แก่ พะยอม ยางนา รัง เต็ง และตะเคียนทอง โดยเก็บตัวอย่างดิน 2 ครั้ง คือ เดือนสิงหาคมและเดือนตุลาคม 2561 เพื่อแยกและศึกษาลักษณะสัณฐานของรากที่มีราเอคโตไมคอร์ไรซา หรือ morphotype จากการศึกษาสามารถแยกรากที่มีราเอคโตไมคอร์ไรซาได้ทั้งหมด 14 morphotypes ซึ่งพบ 11 morphotypes ในเดือนสิงหาคมและ 13 morphotypes ในเดือนตุลาคมตามลำดับ มี 10 morphotypes ที่พบทั้งในเดือนสิงหาคมและเดือนตุลาคม นอกจากนี้พบว่า morphotype ที่พบมากที่สุดในเดือนสิงหาคมและเดือนตุลาคม คือ Morphotype 1 และ 6 ตามลำดับ พืชอาศัยที่มีการติดเชื้อไมคอร์ไรซามากที่สุด คือ เต็ง โดยส่วนใหญ่แล้วบริเวณพื้นที่ระหว่างพืชอาศัยจะมีการติดเชื้อที่สูงกว่าโคนต้นของพืชอาศัยแต่ละต้น ส่วนใหญ่พบ morphotype ในพืชอาศัยหลายชนิด เช่น Morphotype 10 ซึ่งพบในพืชอาศัยทั้ง 5 ชนิด morphotype ที่พบบริเวณพื้นที่ระหว่างพืชอาศัยก็เป็นชนิดที่พบในพืชอาศัยแต่ละต้นที่อยู่ล้อมรอบบริเวณนั้น ๆ แต่จะมีความชุกชุมที่น้อยกว่า ในทางกลับกันพืชอาศัยแต่ละชนิดก็พบ morphotype หลายชนิดซึ่งอาจมาจากราเอคโตไมคอร์ไรซาต่างชนิดกัน อย่างไรก็ตามการระบุชนิดของรานั้นต้องอาศัยเทคนิคทางชีววิทยาโมเลกุล ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณต่อไปได้ | en_US |
dc.description.abstractalternative | Ectomycorrhiza (ECM) is a mutualistic association between fungi and roots of host plants such as trees in the Dipterocarpaceae. This study aimed to investigate the diversity of ECM fungi in the ecosystem restoration area in Chulalongkorn University-Saraburi Area. The study plot contained several dipterocarp trees which are the ECM host plants, such as Shorea roxburghii, Dipterocarpus alatus, Shorea siamensis, Shorea obtusa and Hopea odorata. Soil samples were collected twice in August and October 2018. ECM roots or morphotypes were separated and morphological characteristics of morphotypes were studied. The results showed that 14 morphotypes were found, 11 morphotypes in August and 13 morphotypes in October, respectively. Ten morphotypes were found in both months. In addition, the most common morphotypes in August and October were Morphotypes 1 and 6, respectively. The highest mycorrhizal infection was found in S.Obtusa. In general, ECM infection was higher in the shared area between host trees than the closer area surrounding each host tree. Overall a morphotype was found in several host species, such as Morphotype 10 which was found in all 5 host tree species. Morphotypes in the shared area were those that were found in surrounding host trees but with a lower abundance. In contrast, many morphotypes were observed in each host species, implying different ECM fungal species infecting the roots of the host tree. However, identification of ECM fungi relies on molecular biology techniques. This result can be applied to the restoration of the deciduous dipterocarp forest and mixed deciduous forest ecosystems. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | ความหลากหลายของราเอคโตไมคอร์ไรซาในแปลงฟื้นฟูระบบนิเวศในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี | en_US |
dc.title.alternative | Diversity of ectomycorrhizal fungi in the ecosystem restoration area in Chulalongkorn University-Saraburi Area | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.email.advisor | Nipada.R@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sujitra_P_Se_2561.pdf | 1.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.