Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64356
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรีรัตน์ เดี่ยววาณิชย์-
dc.contributor.authorภัทราพร ตันติวัชราชัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-03-16T07:38:58Z-
dc.date.available2020-03-16T07:38:58Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64356-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561en_US
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารสกัดหยาบในเอทานอลของพรอพอลิสจากผึ้งพันธุ์และชันโรงที่มีต่อการเจริญของราก่อโรคกับผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว จากการทดลองได้ทำการแยกเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคภายหลังการเก็บเกี่ยว คือ Alternaria sp. จากองุ่น Fusarium oxysporum จากกล้วย และ Collectotrichum gloesporioides จากพริก เมื่อทดสอบผลการยับยั้งการเจริญของราที่ก่อโรคด้วยสารสกัดหยาบของพรอพอลิสจากผึ้งพันธุ์และชันโรงโดยมีเอทานอลเป็นตัวทำละลาย ที่ความเข้มข้น 1000 2500 5000 7500 และ 10000 ppm เปรียบเทียบกับสารเคมีกำจัดเชื้อรา prochloraz ที่ความเข้มข้น 1000 ppm และเอทานอลที่เป็นชุดควบคุม พบว่าประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของสารสกัดทั้งสองชนิดในเชื้อ Alternaria sp. และ Fusarium oxysporum ไม่แตกต่างจากชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อทดสอบเชื้อรา Collectotrichum gloesporioides พบว่า พรอพอลิสของผึ้งพันธุ์ที่ความเข้มข้น 5000 และ 7500 ppm และพรอพอลิสของชันโรงที่ความเข้มข้น 2500 5000 และ 7500 ppm สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราได้ดีกว่าเอทานอล แต่ต่ำกว่าสารกำจัดเชื้อรา prochloraz อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการทดลองที่ได้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดหยาบของพรอพอลิสในเอทานอลจากผึ้งพันธุ์และชันโรงที่นำมาใช้ในการทดสอบนี้ ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคในผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวที่นำมาทดสอบในครั้งนี้en_US
dc.description.abstractalternativeThe aim of this study was to evaluate the antifungal activity of ethanol crude extract of propolis from honey bee and stingless bee against postharvest fungi which obtained from infected grapes, bananas and chilies. The isolated fungi, Alternaria sp. from grapes, Fusarium oxysporum from bananas and Collectotrichum gloeosporioides from chilies were selected to test the growth inhibition activity of ethanol crude extracts of propolis. Various concentrations of both propolis extracts at 1000, 2500, 5000, 7500, and 10000 ppm had been compared with synthetic fungicide (prochloraz) at 1000 ppm and control (ethanol). The results showed that growth inhibition activity of ethanol crude extracts of propolis from both bees groups to Alternaria sp. and Fusarium oxysporum were not significantly different from that of control groups (p>0.05). In contrast, it was found that propolis crude extracts from honey bee at 5000 and 7500 ppm and propolis crude extracts from stingless bee at 2500, 5000 and 7500 ppm can inhibit growth of Collectotrichum gloeosporioides (p<0.05). This inhibition was more efficient than ethanol but less than prochloraz. These results indicated that activity of ethanol crude extracts of propolis from honey bee and stingless bee in this study are not sufficient to inhibit growth of selected postharvest fungi.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleผลของสารสกัดพรอพอลิสจากผึ้งพันธุ์และชันโรงต่อเชื้อราในผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวen_US
dc.title.alternativeEffects of propolis extract from honey bees and stingless bees on postharvest fungien_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisorSureerat.D@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pattraporn_T_Se_2561.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.