Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64358
Title: | การประเมินความต้านทานของสายพันธุ์ข้าวต่อโรคใบขีดโปร่งแสง |
Other Titles: | Evaluation of bacterial leaf streak resistance in rice lines |
Authors: | ปาริชาติ มากเจริญ |
Advisors: | ธีรดา หวังสมบูรณ์ดี พยอม โคเบลล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Teerada.W@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ข้าว (Oryza sativa L.) เป็นแหล่งอาหารหลักที่สำคัญของโลก โดยประเทศไทยมีการส่งออกข้าวเป็นอันดับต้นๆของโลก ประเทศไทยมีผลผลิตข้าวต่อไร่ที่ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย ซึ่งสาเหตุเกิดจากความอุดมสมบูรณ์ของดิน ศักยภาพของพันธุ์ข้าว และความเสียหายของผลผลิตข้าวที่เกิดโรคและแมลงศัตรูข้าว โรคข้าวที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียที่มีความสำคัญส่งผลต่อผลผลิตข้าวในประเทศไทยโรคหนึ่ง ก็คือ โรคใบขีดโปร่งแสง เกิดจากเชื้อ Xanthomonas oryzae pv. oryzicola (Xoc) วิธีการป้องกันกำจัดโรคที่มีประสิทธิภาพสูง คือการใช้พันธุ์ต้านทานโรค อย่างไรก็ตามการที่จะได้มาซึ่งพันธุ์ต้านทานจะต้องมีแหล่งพันธุ์กรรมยีนต้านทานเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ให้ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง ดังนั้นการทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแหล่งพันธุ์กรรมยีนต้านทานมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ต้านทานต่อโรคใบขีดโปร่งแสง จึงได้ทำการประเมินความต้านทานโรคใบขีดโปร่งแสงในสายพันธุ์ข้าวจำนวน 4 สายพันธุ์ คือ IRBB5 IRBB7 IRBB13 และ IRBB21 ซึ่งมียีน xa5 Xa7 xa13 และ Xa21 ตามลำดับ และใช้พันธุ์ กข71 เป็นพันธุ์อ่อนแอมาตรฐานเปรียบเทียบในการทดลอง โดยใช้เชื้อ Xoc จานวน 5 ไอโซเลท ที่แยกเชื้อมาจากตัวอย่างข้าวที่เป็นโรค มาทดสอบความต้านทานของพันธุ์ข้าว และศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของเชื้อ Xoc บนอาหาร Nutrient agar และ Wakimoto’s พบว่าโคโลนีของเชื้อ Xoc มีลักษณะกลม สีเหลือง มันวาว นูน ผิวเรียบ เมื่อทาการพิสูจน์เชื้อสาเหตุโรคตามวิธี Koch’s postulation ลงบนใบข้าวของพันธุ์ กข71 พบว่ามีการแสดงอาการของโรคใบขีดโปร่งแสงชัดเจน และยืนยันเชื้อสาเหตุโรค Xoc โดยเทคนิค PCR ด้วยไพร์เมอร์ที่จาเพาะต่อเชื้อ ได้ขนาดผลิตภัณฑ์ 945 bp จากนั้นจึงปลูกเชื้อลงบนใบข้าวเพื่อทดสอบความต้านทานโรค และให้คะแนนการเกิดโรคในวันที่ 7 14 และ 21 วัน หลังการปลูกเชื้อ พบว่าข้าวสายพันธุ์ IRBB5 อยู่ในระดับที่มีความต้านทานต่อโรคสูง ซึ่ง IRBB5 น่าจะเป็นสายพันธุ์ข้าวที่สามารถนามาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ต้านทานต่อโรคใบขีดแสงต่อไป |
Other Abstract: | Rice (Oryza sativa L.) is an important staple food in the world and Thailand is one of the top rice exporters in the world. However recently, rice production in Thailand has been reduced. One of many reasons of low rice productivity in Thailand is outbreaks of diseases and insects. An important bacterial disease of rice is bacterial leaf streak disease caused by Xanthomonas oryzae pv. oryzicola (Xoc). One of the most effective method to control this disease is the use of disease resistance varieties. Therefore, assessment of bacterial leaf streak resistance in 4 rice lines, IRBB5 IRBB7 IRBB13 and IRBB21 containing xa5, Xa7, xa13 and Xa21 genes, respectively, was performed and the RD71 was used as a susceptible check. Five isolates of Xoc isolated from disease leaf samples were tested. Xoc’s colony characteristics were smooth, mucoid, convex and yellow on Nutrient agar and Wakimoto’s media. Koch’s postulation was conducted to prove the causing agent of the disease and inoculated rice leaves positively demonstrated leaf streak symptoms. Xoc was confirmed by PCR technique with specific primer presenting 945 bp PCR products. All isolates of Xoc were inoculated on rice leave for disease resistance test and disease scoring was examined on day 7, 14 and 21 after inoculation. The result showed that IRBB5 was the most resistant line to the disease followed by RD71, IRBB7 and IRBB21 respectively. IRBB13 was the least resistance to the disease. Therefore, IRBB5 should be a rice line that can be used in breeding program for leaf steak disease resistance. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64358 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Parichat_M_Se_2561.pdf | 867.93 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.