Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64415
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชมพูนิกข์ กาญจนพังคะ | - |
dc.contributor.author | น้ำเพ็ชร เจียรนัยปยุกต์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-03-24T05:15:34Z | - |
dc.date.available | 2020-03-24T05:15:34Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64415 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 | en_US |
dc.description.abstract | นับตั้งแต่มีการค้นพบยาปฏิชีวนะชนิดแรก คือ เพนิซิลลินเมื่อปี พ.ศ.2471 ยาปฏิชีวนะได้ถูกนำมาใช้ใน การรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อจุลินทรีย์อย่างแพร่หลาย ทำให้มีจุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ถือกำเนิดขึ้น ยาที่มีอยู่จึงไม่สามารถใช้รักษาโรคได้ ซึ่งส่งผลต่อปัญหาทางสาธารณะสุขเป็นอย่างมาก การหา สารปฏิชีวนะเพื่อมายับยั้งเชื้อดื้อยาเหล่านี้จึงมีความสำคัญ โดยหนึ่งในผู้ผลิตสารปฏิชีวนะที่ใหญ่ที่สุดคือ แบคทีเรียในกลุ่มแอคติโนมัยซีทีส (actinomycetes) โดยเฉพาะสกุล Streptomyces ดังนั้น การแยกเชื้อ Streptomyces จากแหล่งที่ยังไม่มีการค้นหา เช่น แมลง ซึ่งมีการอาศัยอยู่ร่วมกับจุลินทรีย์ในลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน (symbiosis) อาจนำไปสู่การค้นพบสารออกฤทธิ์ชีวภาพชนิดใหม่ได้ ในงานวิจัยนี้ได้นำ actinomycetes จำนวน 41 ไอโซเลทซึ่งคัดแยกจากแมลง 2 ชนิดได้แก่ ชันโรง (Tetragonula laeviceps) และผึ้งโพรง (Apis cerana) มาทำการเพาะเลี้ยงบนอาหาร ISP-2 เพื่อสังเกตลักษณะทางสัณฐานวิทยา และนำ actinomycetes จำนวน 39 ไอโซเลทมาเลี้ยงบนอาหาร MR5 เพื่อทดสอบการผลิตสารที่มีฤทธิ์การต้านจุลินทรีย์ทดสอบ โดยผลการทดสอบพบว่า actinomycetes กว่า 80 % ที่เพาะเลี้ยงได้สามารถยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ทดสอบได้ซึ่งได้แก่ Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus, Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa และ Candida albicans จากนั้นจึงนำยีน 16S rRNA จำนวน 18 ไอโซเลทมาเพิ่มจำนวน วิเคราะห์ลำดับเบส และทำการระบุสายพันธุ์ที่มีความใกล้เคียงกัน พบว่า actinomycetes ที่นำมาวิเคราะห์เป็นสกุล Streptomyces ทั้งหมด ซึ่งได้แก่ Streptomyces drozdowiczii, Streptomyces fumigatiscleroticus, Streptomyces seoulensis, Streptomyces bikiniensis, Streptomyces anandii และ Streptomyces andamanensis และพบว่ามีลักษณะทางสัณฐานวิทยารวมถึงฤทธิการต้านจุลินทรีย์ ทดสอบที่ใกล้เคียงกันกับที่เคยมีรายงานไว้แล้ว ต่อมาได้ทำการวิเคราะห์ความใกล้ชิดของแต่ละไอโซเลทด้วย การสร้าง phylogenetic tree โดยใช้ยีน 16S rRNA ของ actinomycetes สายพันธุ์ที่เคยมีรายงานว่ามีความสัมพันธ์กับแมลงในการวิเคราะห์ และพบว่าไอโซเลทที่แยกได้จากชันโรงและผึ้งโพรงถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันที่ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ผลของการศึกษาในครั้งนี้อาจนำไปสู่การค้นพบactinomycetes สายพันธุ์ใหม่ และอาจนำไปสู่การพัฒนายาชนิดใหม่เพื่อนำไปใช้ในอนาคตได้ | en_US |
dc.description.abstractalternative | Since the first antibiotic, penicillin, was discovered in 2471, antibiotics are commonly used worldwide. Consequently, antibiotic resistance microorganisms have emerged and antibiotic drugs become ineffective leading to serious public health problems. Therefore, searching for new drugs is necessary. One of the greatest antibiotic producers are actinomycetes, especially Streptomyces genus, so actinomycetes isolated from novel source, i.e. symbionts of insects, could potentially lead to the discovery of novel bioactive compound. In this study, 41 isolates of actinomycetes obtained from eastern honey bees (Apis cerana) and stingless bees (Tetragonela laeviceps) were investigated as source to isolate actinomycetes. We examined colony morphology on ISP-2 agar, and 39 isolates tested for antimicrobial compound production on MR5 agar. We found that more than 80 % of these isolates exhibited antimicrobial activity against tested species Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus, Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa and Candida albicans, 16S rRNA gene of 18 isolates were amplified and sequenced for the molecular identification of the isolates. The result showed all sequenced isolates are Streptomyces. The closely related strains were identified as Streptomyces drozdowiczii, Streptomyces fumigatiscleroticus, Streptomyces seoulensis, Streptomyces bikiniensis, Streptomyces anandii and Streptomyces andamanensis and found that morphology and antimicrobial activity are similar with those closely related strains. Additionally, phylogenetic trees were constructed using 16s rRNA gene of previously reported insect symbiont Streptomyces strains. The result showed there is no different cluster between stingless bee isolated and honey bee isolated. However, this study suggest the potential of novel drugs discovery from Streptomyces related to A. cerana and T. laeviceps in the future. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | การระบุสายพันธุ์และลักษณะของ actinomycetes ที่คัดแยกจากชันโรง (Tetragonula laeviceps) และผึ้งโพรง (Apis cerana) | en_US |
dc.title.alternative | Identification and characterization of actinomycetes isolated from stingless bee (Tetragonula laeviceps) and honey bee (Apis cerana) | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.email.advisor | Chompoonik.K@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nampetch Ch_Se_2561.pdf | 9.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.