Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6441
Title: การสกัดเคราตินจากขนไก่เพื่อใช้ตกแต่งหน่วงไฟสำหรับผ้าฝ้าย
Other Titles: Extraction of keratin from poultry feather for flame retardant finishing on cotton fabrics
Authors: ธนาวัฒน์ ชัยวุฒินันท์
Advisors: สิรีรัตน์ จารุจินดา
กาวี ศรีกูลกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: sireerat@sc.chula.ac.th
kawee@sc.chula.ac.th
Subjects: ผ้าฝ้าย -- สมบัติทางความร้อน
เคราติน
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การสกัดเคราตินจากขนไก่สามารถทำได้โดยการใช้ 2-เมอร์แคปโตเอทานอลในสารละลายยูเรีย สารละลายเคราตินที่สกัดได้จะถูกนำไปตกแต่งหน่วงไฟบนผ้าฝ้าย จากนั้นนำผ้าฝ้ายที่ตกแต่งหน่วงไฟด้วยเคราตินไปศึกษาพฤติกรรมและอัตราการลุกลามของเปลวไฟในแนวตั้งและแนว 45 องศา หาค่า LOI และศึกษาสมบัติทางความร้อนด้วยเทคนิค TGA ในบรรยากาศของแก๊สไนโตรเจน การสกัดเคราตินจากขนไก่ด้วย 2-เมอร์แคปโตเอทานอลความเข้มข้น 125 มิลลิโมลาร์และสารละลายยูเรียความเข้มข้น 8 โมลาร์ ที่ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 ชั่วโมง เป็นภาวะที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากสามารถสกัดเคราตินได้สูงถึง 69.30 เปอร์เซ็นต์ จากการทดสอบความสามารถในการหน่วงไฟพบว่า เมื่อความเข้มข้นของสารละลายเคราตินที่ใช้ในการตกแต่งหน่วงไฟเพิ่มขึ้นจะทำให้ผ้าฝ้ายที่ผ่านการตกแต่งด้วยสารละลายเคราตินมีประสิทธิภาพในการหน่วงไฟเพิ่มขึ้น กล่าวคือจะมีค่า LOI เพิ่มขึ้นเท่ากับ 27.5-30.0 พื้นที่ที่เกิดการเผาไหม้น้อยลง เปลวไฟดับได้เอง และมีอัตราการลุกลามของเปลวไฟลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับผ้าฝ้ายที่ไม่ได้ผ่านการตกแต่งหน่วงไฟ จากการศึกษาสมบัติทางความร้อนด้วยเทคนิค TGA พบว่าผ้าฝ้ายที่ตกแต่งหน่วงไฟด้วยสารละลายเคราตินที่สกัดจากขนไก่เกิดการสลายตัวที่อุณหภูมิต่ำลงเมื่อเปรียบเทียบกับผ้าฝ้ายที่ไม่ได้ตกแต่งหน่วงไฟ และจะมีปริมาณถ่านคาร์บอนเหลืออยู่ที่อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียสมากขึ้นเมื่อความเข้มข้นของสารละลายเคราตินเพิ่มขึ้น จากผลการทดลองสรุปได้ว่าสารละลายเคราตินที่มีความเข้มข้นตั้งแต่ 12.80 กรัมต่อลิตรขึ้นไปเหมาะสมต่อการนำมาตกแต่งหน่วงไฟผ้าฝ้ายให้มีประสิทธิภาพในการหน่วงไฟที่ดี
Other Abstract: Extraction of keratin from poultry feather was conducted using 2-mercaptoethanol in aqueous urea solution. The extracted keratin solution was applied onto cotton fabric to impart the flame retardancy. Flame ratardancy performance of treated fabric was evaluated using burning test of 90 degree (vertically upward flame spreading), 45 degree and LOI. Thermal analysis using TGA in nitrogen was also studied. For extraction part, it was found that extraction with 125 mM 2-mercaptoethanol and 8 M urea carried out at 60 ํC for 6 hours produced optimal result with 69.30 %. The efficiency of flame retardancy of cotton fabrics treated with the extracted keratin increased with an increase in the concentration of keratin solution. LOI values increased to 27.5-30.0 whereas burning area and flame spread rate decreased with an increase in the concentration of keratin solution. Thermal behavior of the flame retardant cotton fabrics using TGA technique showed that the main decomposition temperature of flame retardant cottonfabrics and weight loss after pyrolysis gradually decreased whereas residue left at 400 ํC increased with an increase in the concentration of keratin solution. The results indicated that the optimal concentration of feather keratin for flame retardant finishing on cotton fabrics was at least 12.80 g/l.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6441
ISBN: 9741732325
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thanawat.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.