Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64460
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิทยา ยงเจริญ-
dc.contributor.authorฤทธิกิติ์ ประไพพิชิต-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-03-26T14:07:25Z-
dc.date.available2020-03-26T14:07:25Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9740313906-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64460-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบจำลองการสั่นของรถยนต์ด้วยวิธีเชิงการทดลอง อันเป็นผลเนื่องจากระบบแขวน โดยคำนึงอินพุทคือสภาพพื้นถนน และเอาท์พุทคือการสั่นตามตำแหน่งต่างๆ ของตัวรถและล้อรถที่คำนึงการเคลื่อนที่ 7 ระดับขั้นเสรี ข้อสมมติสำคัญคือแบบจำลองเป็นแบบจำลองวัตถุแข็งเกร็งที่เป็นเชิงเส้น การศึกษาทำได้โดยให้การเคลื่อนที่เริ่มต้นกับรถยนต์และปล่อยให้เกิดการสั่นอย่างอิสระ จากนั้นเก็บข้อมูลผลตอบสนองการสั่นเพื่อนำมาวิเคราะห์หาพารามิเตอร์ของ แบบจำลองคณิตศาสตร์ด้วยหลักการถดถอยแบบกำลังลองน้อยสุดแบบไม่เชิงเส้นโดยใช้ระเบียบวิธีทำซ้ำของเกาส์-นิวตัน ซึ่งมีหลักการคือปรับเปลี่ยนค่าพารามิเตอร์ภายในโครงสร้างของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์จนได้รับแบบจำลองที่ฟิตผลการทดลองได้ดีที่สุด โดยวิเคราะห์แบบจำลองในสองสภาวะคือขณะที่รถยนต์ไม่มีภาระบรรทุกและมีภาระบรรทุก เพื่อเปรียบเทียบผล ผลการทดลองพบว่า แบบจำลองที่ประเมินได้สามารถทำนายผลการเคลื่อนที่ตามตำแหน่งต่างๆของตัวรถได้ดีในระดับที่น่าพอใจ สำหรับภาระการบรรทุกที่เพิ่มขึ้น มีผลทำให้พารามิเตอร์ของแบบจำลองคณิตศาสตร์เปลี่ยนไปเนื่องจากมีการเปลี่ยนสภาวะการทำงาน อย่างไรก็ตาม ลักษณะเฉพาะของการสั่นเช่นค่าความถี่ธรรมชาติที่เกิดขึ้นมีค่าไม่เปลี่ยนไปมากนัก แบบจำลองที่ประเมินได้นี้มาจากการทดสอบที่มีการสั่นของตัวรถมากพอสมควร จึงเหมาะที่จะใช้ทำนายการสั่นที่เกิดขึ้นกับตัวรถในสภาพการขับขี่ที่เกิดการสั่นสูงเช่นการเคลื่อนที่ผ่านหลุมหรือเนิน-
dc.description.abstractalternativeThis research is a study of car vibration model by experimental analysis method. Regarding of suspension system effect, the model’s input is road condition while the model’s outputs are main motions on the car body and wheels, considered 7 degree of freedoms. The crucial assumption is that the model is a linear rigid body model. By applying initial motion to the car body and wheels, free response datas are collected. The mathematical model is estimated by nonlinear least-squares regression using Guass-Newton iterative method, which is trying to adjust the parameters within mathematical model structure until the outputs from the model coincide with the measured ones. To compare the effect of load carrying, two conditions are tested , unloaded car and loaded car. As a result, the estimated models can predict the response at a satisfied level. The result also reveals that the parameters of the loaded car vibration model differs from unloaded one due to change in operating condition, however, the vibration characteristic such as natural frequencies in various modes doesn’t change much. Due to testing condition with high vibration at car body, the estimated model is suitable to predict response in driving condition with high vibration.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการสั่นสะเทือน-
dc.subjectรถยนต์ -- การสั่นสะเทือน-
dc.subjectรถยนต์ -- การสั่นสะเทือน -- แบบจำลอง-
dc.subjectVibration-
dc.subjectAutomobiles -- Vibration-
dc.subjectAutomobiles -- Vibration -- Models and modelmaking-
dc.titleการศึกษาแบบจำลองการสั่นสะเทือนของรถยนต์ ด้วยวิธีการวิเคราะห์โมดัลเชิงการทดลองen_US
dc.title.alternativeStudy of car vibration model by the experimental model analysis methoden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมเครื่องกลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWithaya.Y@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ritthikit_pr_front_p.pdfหน้าปก และ บทคัดย่อ993.25 kBAdobe PDFView/Open
Ritthikit_pr_ch1_p.pdfบทที่ 1937.68 kBAdobe PDFView/Open
Ritthikit_pr_ch2_p.pdfบทที่ 21.12 MBAdobe PDFView/Open
Ritthikit_pr_ch3_p.pdfบทที่ 31.13 MBAdobe PDFView/Open
Ritthikit_pr_ch4_p.pdfบทที่ 41.4 MBAdobe PDFView/Open
Ritthikit_pr_ch5_p.pdfบทที่ 52.13 MBAdobe PDFView/Open
Ritthikit_pr_ch6_p.pdfบทที่ 6615.5 kBAdobe PDFView/Open
Ritthikit_pr_back_p.pdfบรรณานุกรม และ ภาคผนวก2.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.