Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64480
Title: ยาแพนโตพราโซลในขนาด 4 มก. ต่อ ชม. เทียบกับแรนิทิดีนในการลดการเกิดเลือดออกซ้ำในแผลเป็ปติค
Other Titles: Four MG/hour of pantoprazole versus ranitidine in prevent recurrent bleeding peptic ulcers
Authors: วาทกวี วิมลเฉลา
Advisors: พินิจ กุลละวณิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: แพนโตพราโซล
แรนิทิดีน
แผลเปื่อยเพปติก
ภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้
การส่องตรวจทางเดินอาหาร
Pantoprazole
Ranitidine
Peptic ulcer
Gastrointestinal hemorrhage
Gastroscopy
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาว่ายา Pantoprazole ในขนาดตํ่า (40 มก. ฉีดเข้าเส้นและหยดต่อในขนาด 4 มก./ ชั่วโมง) ให้หลังจากทำการส่องกล้องเพื่อการหยุดเลือดจากแผลเป็ปติคนั้นจะสามารถลด การเกิดเลือดออกซํ้าในแผลเป็ปติคได้หรือไม่ เมื่อเทียบกับยา ranitidine (50 มก. ฉีดเข้าเส้นต่อด้วย 50 มก. ฉีดเข้าเส้นทุก 8 ชั่วโมง) วิธีการศึกษา คนไข้ทั้งหมด 52 คน ซึ่งได้รับการส่องกล้องรักษาแผลเลือดออกสำเร็จเข้าร่วมงานวิจัยนี้ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มแบบสุ่ม กลุ่มแรก 24 คน ได้รับ Pantoprazole ในขนาด 40 มก. ฉีดเข้าเส้นและหยดต่อในขนาด 4 มก./ชั่วโมงกลุ่มที่ลอง 28 คนได้รับ Ranitidine ในขนาด 50 มก. ฉีดเข้าเส้นต่อด้วย 50 มก. ฉีดเข้าเส้นทุก 8 ชั่วโมง เป็นการศึกษาเชิงทดลอง ดูผลการศึกษาคือเลือดออกซํ้าที่เวลา 72 ชั่วโมง ผลการศึกษา พบลักษณะของแผลที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดเลือดออกซํ้า ในกลุ่ม pantoprazole และกลุ่ม ranitidine ดังนี้ spurting hemorrhage 6 และ 4, oozing hemorrhage 3 และ 7 และ non bleeding visible vessel 15 และ 17 ตามลำดับ ที่เวลา 72 ชั่วโมง พบว่าไม่มีแผลเลือดออกซํ้าเลยในกลุ่ม pantoprazole เมื่อเทียบกับในกลุ่ม ranitidine มีแผลเลือดออกซํ้า 4 รายคิดเป็นร้อยละ 14.29 แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.075) สรุป ในการศึกษานี้ ยา pantoprazole ในขนาดตํ่าดูเหมือนจะลดการเกิดเลือดออกซํ้าในแผลเลือดออกเป็ปติค เมื่อเทียบกับ ranitidine อย่างไรก็ดีเนื่องจากจำนวนคนไข้ยังค่อนข้างน้อยจึง สมควรที่จะเก็บจำนวนคนไข้เพิ่มเติม ก่อนที่จะสรุปถึงประสิทธิภาพของยาตัวนี้
Other Abstract: This research proposes fuzzy genetic algorithms (GAs) for sequencing in mixed-model assembly line with fuzzy processing time. The objective is to minimize the makespan, represented by fitness value of GAs. This study uses three problems to compare the performance of fuzzy genetic algorithms with the CDS heuristic. The performance of fuzzy genetic algorithms depend on several parameters, so the pilot run and the experimental designs are set up to test the parameters include population size, probability of crossover, probability of mutation, selection type, crossover type, mutation type and maximum generation. Through the performance comparatives for the study problems, fuzzy GAs perform equally or significantly better than the CDS heuristic. From the research, it is found that fuzzy genetic algorithms are a powerful and efficient method that can search for a good solution with an acceptable time limit.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64480
ISBN: 9741705158
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vatkavee_vi_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ744.39 kBAdobe PDFView/Open
Vatkavee_vi_ch1_p.pdfบทที่ 1645.4 kBAdobe PDFView/Open
Vatkavee_vi_ch2_p.pdfบทที่ 21 MBAdobe PDFView/Open
Vatkavee_vi_ch3_p.pdfบทที่ 3667.73 kBAdobe PDFView/Open
Vatkavee_vi_ch4_p.pdfบทที่ 4892.64 kBAdobe PDFView/Open
Vatkavee_vi_ch5_p.pdfบทที่ 5655.6 kBAdobe PDFView/Open
Vatkavee_vi_ch6_p.pdfบทที่ 6605.91 kBAdobe PDFView/Open
Vatkavee_vi_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก916.13 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.