Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64481
Title: | การศึกษาสภาพและปัญหาการพัฒนากีฬามวยไทยเพื่อการอาชีพ |
Other Titles: | Study of state and problems of developing Muay Thai for profession |
Authors: | วิสุทธิ์ ทิพย์พงษ์ |
Advisors: | ประพัฒน์ ลักษณพิสุทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Prapat.L@Chula.ac.th |
Subjects: | มวยไทย การพัฒนาอาชีพ Muay Thai Career development |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการพัฒนากีฬามวยไทยเพื่อการอาชีพ ตามการรับรู้ของบุคลากรในวงการมวย ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นายสนามมวย ผู้จัดรายการแข่งขันมวย ผู้จัดการนักมวย หัวหน้าค่ายมวย นักมวย ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน และผู้สื่อข่าวกีฬา ในเขตกรุงเทพมหานคร และ เขตปริมณฑล รวม 150 คน ดำเนินการวิจัยโดย การศึกษาข้อมูลจากเอกสารสัมภาษณ์ และ การส่งแบบสอบถามจำนวน 150 ชุด ให้กลุ่มตัวอย่างตอบ ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาจำนวน 145 ชุด คิดเป็นร้อยละ 96.67 หลักจากนั้นนำข้อมูลที่ได้รับทั้งหมดมาทำการวิเคราะห์ ด้วยวิธีการทางสถิติ โดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอผลการวิเคราะห์ในรูปตาราง และความเรียง ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. สภาพปัจจุบันของการพัฒนากีฬามวยไทยเพื่อการอาชีพ มีนักมวยไทยเป็นแชมป์เปี้ยนโลกหลายคนนักมวยที่เป็นผู้เยาว์ได้รับความนิยมจากคนดูมากกว่านักมวยผู้ใหญ่ มีจำนวนองค์กรกีฬาที่จะพัฒนาและสนับสนุนมวยไทยน้อย ค่ายมวยส่วนใหญ่ยังไม่ขึ้นทะเบียน นักมวยมีรายได้ไม่เพียงพอ ยังมีสนามมวยไม่ครบ ทุกจังหวัด ปัจจุบันมีพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 บุคคลในวงการมวยขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 ในกรุงเทพมหานครมีการจัดแข่งขันกีฬามวยไทยทุกวัน การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กีฬามวยไทยยังมีน้อย และสวัสดิการส่วนใหญ่ของนักมวยได้มาจากหน่วยงานเอกชน 2. ปัญหาการพัฒนากีฬามวยไทยเพื่อการอาชีพ พบว่า มีปัญหาอยู่ในระดับมากทุกด้าน และเมื่อพิจารณาปัญหาของทุก้านเป็นรายข้อ สามารถเรียงลำดับปัญหาข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และรองลงมาตามลำดับรวม 4 ลำดับ ได้แก่ นักมวยที่ไม่อยู่ในเครือผู้จัดรายการแข่งขันมวย แม้จะมีอันดับความสามารถสูงก็ไม่มีโอกาสได้ชิงแชมป์เปี้ยน (ค่าเฉลี่ย เท่ากั 3.75) ไม่มีการให้แชมป์เปี้ยน 2 สนามมวยมาตรฐานพิสูจน์ความสามารถ (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.60) นักมวยทีทุพพลภาพยังขาดการให้การสงเคราะห์ (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.53) และยังไม่มีการให้ความรู้ความเข้าใจที่ดีแก่บุคคลในวงการมวยเกี่ยวกับกองทุนกีฬามวย (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.52) |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study the state and problems of developing Muay Thai for profession as perceived by 150 boxing personnel who were samples in this investigation: boxing stadiums owners, promoters, boxer managers, boxing camp heads, boxers, coaches, referees, and pressmen in the Bangkok Metropolis and vicinty. The data were collected by documentary finding, interview and questionnaire. The 150 questionnaires were sent, and 145 questionnaires, 96.67% were returned. The data were, then, analyzed in terms of frequencies, percentages, means and standard deviations. The analyzed data were presented by means of tables and essays. It was found that: 1.The state of developing Muay Thai for profession in details were: Many Muay Thai boxers were world champion, youth boxers were popularized by spectators more than adult boxers, there were little organizations to promote and to support Muay Thai, most boxing camps did not registered, boxers had inadequate incomes, venues for boxing contest were uncovered in all provinces, there were Boxing Sport Act B.E. 2542, now, boxing personnel lacked of knowledge and understanding in the Boxing Sport Act B.E. 2542, had boxing contest everyday in Bangkok Metropolis, promotions and public relations were less, and most boxers welfares came from non government organizations. 2.Problems of developing Muay Thai for profession in all aspects were high. When considering these problems in items, be arranged from the highest means respectively, these were: Boxers outside of promoter control, though had in high ranking, had no chance to compete for being a champion (X̄=3.75), no contest between two champions of standard stadiums (X̄=3.60), lacking of welfare for the disabled boxers (X̄=3.53), and boxing personnel had not been received knowledge and understanding in Boxing Sport Fund (X̄=3.52). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64481 |
ISBN: | 9740308449 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Visuth_th_front_p.pdf | 772.12 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Visuth_th_ch1_p.pdf | 740.39 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Visuth_th_ch2_p.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Visuth_th_ch3_p.pdf | 688.1 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Visuth_th_ch4_p.pdf | 1.91 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Visuth_th_ch5_p.pdf | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Visuth_th_back_p.pdf | 2.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.