Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64517
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมศักดิ์ ปัญหา-
dc.contributor.authorธนาคม บัณฑิตวงศ์รัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-03-29T14:44:04Z-
dc.date.available2020-03-29T14:44:04Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9741702922-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64517-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544-
dc.description.abstractการเก็บตัวอย่างปูเสฉวนจากบริเวณชายฝังทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามันระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2545 และการตรวจสอบตัวอย่างปูเสฉวนที่เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในประเทศไทย สามารถจำแนกชนิดปูเสฉวนได้จำนวน 3 วงศ์ 8 สกุล 35 ชนิดและ 1 ชนิดย่อย และได้จัดทำ Key ที่ใช้ในการจำแนกปูเสฉวนที่พบในประเทศไทยโดยอาศัย ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของกระดอง รยางค์ส่วนหน้า ก้าม ขาเดินคู่ที่ 2 และ 3 และรยางค์ว่ายนํ้าเป็นหลัก ประกอบกับสีและลวดลายของปูเสฉวนบางสกุลที่สามารถใช้ร่วมในการจำแนกชนิดได้ พบว่าปูเสฉวน 7 ชนิดและ 1 ชนิดย่อยมีการกระจายเฉพาะในบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ปูเสฉวน 11 ชนิดพบมีการกระจายเฉพาะในบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน และปูเสฉวน 17 ชนิด พบมีการกระจายทั้งในบริเวณชายฝั่งอ่าวไทยและชายฝังอันดามัน และพบว่าจำนวนชนิดของปูเสฉวนที่พบในถิ่นที่อยู่อาศัย 10 ประเภทใน 3 บริเวณ คือ ถิ่นอาศัยบนบก ซึ่งประกอบด้วยป่าชายหาด พบ 3 ชนิด และหาดทรายบนบก พบ 3 ชนิด ถิ่นอาศัยในเขตนํ้าขึ้นนํ้าลง ประกอบด้วย ป่าชายเลน พบ 7 ชนิด หาดโคลน พบ 6 ชนิด หาดโคลนปนทราย พบ 8 ชนิด หาดทรายปนโคลน พบ 13 ชนิด หาดทราย พบ 12 ชนิด หาดหิน พบ 16 ชนิด แนวปะการัง พบ 9 ชนิด และถิ่นอาศัยในบริเวณใต้ระดับนํ้าลงตํ่าสุด พบ 14 ชนิดและ 1 ชนิดย่อย นอกจากนี้พบว่ามีปูเสฉวน 7 ชนิดที่คาดว่าเป็นชนิดที่พบน้อยหรือน้อยมาก เนื่องจากการมีถิ่นที่อยู่อาศัยที่จำเพาะ รวมทั้งการกระจายที่จำกัด และปูเสฉวนชนิด Clibanarius longitarsus และ Diogenes avarus เป็นชนิดที่พบได้ทั่วไป และพบอาศัยอยู่ได้หลายถิ่นที่อยู่อาศัย รวมทั้งมีการกระจายกว้าง และยังพบว่า ปูเสฉวนส่วนใหญ่ใช้เปลือกหอยฝาเดียวที่ตายแล้วอยู่อาศัย โดยเฉพาะหอยทะเล แต่มีปูเสฉวนบางชนิดสามารถใช้เปลือกหอยนํ้าจืดและหอยทากบกด้วย จากการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับชนิดของเปลือกหอยที่ปูเสฉวนใช้พบว่าปูเสฉวนแต่ละชนิดสามารถใช้เปลือกหอยได้หลายชนิด-
dc.description.abstractalternativeThe hermit crabs were collected along the coasts and the shallow seas in the Gulf of Thailand and the Andaman Sea from June 1999 to January 2002. The reference collections of hermit crabs from various museums in Thailand were also investigated. Thirty-five species and one subspecies of 8 genera and 3 families were identified. Identification key were constructed using various morphological characteristics i.e. carapace morphology, anterior appendages, chelipeds, second and third pereiopods and pleopods. Color patterns of some colorful genera were recorded for description. Seven species and one subspecies occupy only in the gulf areas, 11 species live only in the Andaman Sea areas but there are 17 species occupy in both areas. Number of species in ten different habitats are clarified as follows; 3 species in beach forest, 3 species in sandy beach (supralittoral zone); 7 species in mangrove forest, 6 species in mud flat, 8 species in sandy mud areas, 13 species in muddy sand areas, 12 species in sandy beach, 16 species in rocky beach and 9 species in coral reef (intertidal zone); 14 species and 1 subspecies in subtidal zone. Seven species are predicted to be rare or very rare species with some specific characteristics such as specific habitat type requirement and limited distribution. Clibanarius longitarsus and Diogenes avarus are most abundant which found in almost all habitats and had wide distribution. Most species of hermit crabs utilize dead marine gastropod shells as their shelters, however many of them were found using freshwater and land gastropod shells. The preliminary analysis showed that each hermit species utilize various shell species.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectปู -- ไทย -- การกระจายทางภูมิศาสตร์-
dc.subjectปูเสฉวน-
dc.subjectCrabs -- Thailand -- Geographical distribution-
dc.subjectHermit crabs-
dc.titleชนิดและการกระจายทางภูมิศาสตร์ของปูเสฉวนในประเทศไทย-
dc.title.alternativeSpecies and geographical distribution of hermit crabs in Thailand-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineสัตววิทยา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanakhom_bu_front_p.pdfหน้าปก สารบัญและบทคัดย่อ813.68 kBAdobe PDFView/Open
Thanakhom_bu_ch1_p.pdfบทที่ 1673.3 kBAdobe PDFView/Open
Thanakhom_bu_ch2_p.pdfบทที่ 2835.86 kBAdobe PDFView/Open
Thanakhom_bu_ch3_p.pdfบทที่ 31.34 MBAdobe PDFView/Open
Thanakhom_bu_ch4_p.pdfบทที่ 45.95 MBAdobe PDFView/Open
Thanakhom_bu_ch5_p.pdfบทที่ 51.32 MBAdobe PDFView/Open
Thanakhom_bu_ch6_p.pdfบทที่ 6708.67 kBAdobe PDFView/Open
Thanakhom_bu_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก863.88 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.