Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64578
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชีวานันท์ เดชอุปการ ศิริสมบูรณ์ | - |
dc.contributor.author | จิตโสภิณ สมัครกาล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-04-01T05:15:05Z | - |
dc.date.available | 2020-04-01T05:15:05Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64578 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 | en_US |
dc.description.abstract | การปนเปื้อนของราและสารพิษจากราโดยเฉพาะโอคราทอกซินเอระหว่างกระบวนการแปรรูปกาแฟเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค จึงมีความจำเป็นในการหาแนวทางเพื่อลดการปนเปื้อนของราที่ผลิตโอคราทอกซินเอในกาแฟ การใช้ยีสต์ปฏิปักษ์เป็นตัวควบคุมทางชีวภาพเป็นหนึ่งในแนวทางที่ได้รับความสนใจ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแยกและคัดเลือกยีสต์จากตัวอย่างผลกาแฟสุก เมล็ดกาแฟหมัก น้ำหมักกาแฟ และเมล็ดกาแฟกะลา จากมูลนิธิโครงการหลวง 3 แห่ง ในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย และเพื่อประเมินความเป็นปฏิปักษ์ของยีสต์ที่คัดแยกได้ต่อราที่ผลิตโอคราทอกซินเอ พบว่า ตัวอย่างเมล็ดกาแฟหมักมีจำนวนยีสต์มากที่สุดโดยเฉพาะตัวอย่างจากศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก (1.32x10⁸ โคโลนีต่อกรัม) คัดแยกยีสต์ทั้งหมดได้ 121 ไอโซเลต จากตัวอย่างกาแฟทั้งหมดยกเว้นเมล็ดกาแฟกะลา จัดกลุ่มยีสต์ตามลักษณะการเจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อแข็งได้ 19 กลุ่ม ศึกษาลักษณะการเจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อ ลักษณะภายใต้กล้องจุลทรรศน์และคุณสมบัติทางชีวเคมี และคัดเลือกยีสต์ 15 ไอโซเลต ไปทดสอบประสิทธิภาพต่อการต้านการเจริญของราที่ผลิตโอคราทอกซินเอ พบว่ายีสต์มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของราที่ผลิตโอคราทอกซินเอ โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งระหว่าง 2.5±3.54 ถึง 30.0 ± 3.54 เปอร์เซ็นต์ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The contamination of fungi and mycotoxins especially ochratoxin A (OTA) during the coffee processing is a serious problem and dangerous to all consumers. It is necessary to find a way to decrease the contamination of ochratoxigenic fungi in coffee. One of the most popular prevalent is to use antagonistic yeasts as a biological control. The objectives of this study were to isolate and select yeasts from cherry coffee, fermented coffee, fermented water and parchment coffee and to evaluate the antagonistic activity of isolated yeasts against ochratoxigenic fungi. The results show that the highest average yeast count is from yeast from fermented coffee (1.32x10⁸ CFU/g). 121 Isolates were selected and can be classified into 19 groups based their morphology on agar medium. Then, they were tested for growth characteristics in media, cell morphology and biochemical characteristics. 15 selected isolates were tested for their antagonistic activity against ochratoxigenic fungi. The selected yeasts had the ability to reduce the growth of ochratoxigenic fungi with the inhibition percentage between 2.5 ± 3.54 to 30.0 ± 3.54. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | การคัดแยก คัดเลือก และประเมินความเป็นปฏิปักษ์ของยีสต์ต่อราที่ผลิตโอคราทอกซินเอในตัวอย่างกาแฟช่วงต้นของกระบวนการผลิตหลังการเก็บเกี่ยว | en_US |
dc.title.alternative | Isolation, selection and evaluation of antagonistic activity of post-harvest yeasts against ochratoxigenic fungi | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.email.advisor | Cheewanun.D@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chitsophin S_Se_2561.pdf | 2.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.